ทำอย่างไรดี เมื่อลูกห่วงสวยห่วงหล่อ ห่วงรูปร่างหน้าตาของตัวเองมากจนน่าเป็นห่วง?
เมื่อ 6 วันที่แล้ว
ทำอย่างไรดี เมื่อลูกห่วงสวยห่วงหล่อ ห่วงรูปร่างหน้าตาของตัวเองมากจนน่าเป็นห่วง? บทความโดย #คุณนายข้าวกล่อง
.
“เด็ก Gen Z หน้าแก่เร็ว” – ข้อความนี้ได้กลายเป็นที่ฮอตฮิตในกระแสอย่างมากจากข่าวเมื่อไม่นานมานี้ของดาราสาววัย 21 สุดสวยมากความสามารถอย่าง ‘Millie Bobby Brown (มิลลี่ บ๊อบบี้ บราวน์)’ (นางเอกซีรีส์ Stranger Things) ที่ล่าสุดได้ออกมาแถลงความรู้สึกไม่โอเคอย่างมากที่สื่อในหลายสำนักได้วิจารณ์ว่าเธอดูแก่ลงแบบไม่สมวัยอย่างมากหลังจากที่เธอได้เปลี่ยนลุคใหม่ของตัวเอง พร้อมกับมีบทความต่าง ๆ ที่พาดหัวและเขียนในประเด็นนี้ของเธออย่างสนุกปาก อย่าง บทความ ‘แมตต์ ลูคัส จาก Little Britain แซวแรงลุคใหม่สไตล์คุณแม่ของมิลลี่ บ็อบบี้ บราวน์’ หรือ ‘เพราะอะไรเหล่า Gen Z อย่างมิลลี่ บ๊อบบี้ บราวน์ ถึงดูแก่ไว’ โดยเธอได้กล่าวอย่างชัดเจนว่าการกระทำของสื่อเช่นนี้ไม่ใช่แค่การวิจารณ์ แต่เป็นการบูลลี่ถึงรูปร่างหน้าตาของเธอ ที่อาจสร้างผลกระทบไม่ใช่กับแค่ตัวเธอ แต่กับเหล่าเด็ก ๆ Gen Z ทั้งหลายที่อยู่ใน social media ด้วยเช่นกัน
.
และความน่าตกใจยิ่งไปกว่านั้นก็คือ ดูเหมือนไม่ใช่แค่มิลลี่ที่จะตกเป็นเหยื่อของสังคมในเรื่องนี้จากการวิจารณ์อย่างรุนแรงจากสื่อ แต่ทุกวันนี้หากลองค้นตามสื่อ social media ต่าง ๆ ก็จะมีกลุ่มคนไม่น่ารักจำพวกหนึ่ง ที่คอยสร้างคอนเทนต์ประเภทที่ตั้งใจจะบูลลี่เหล่าเด็ก Gen Z ทุกคนอย่างน่าไม่อาย ซึ่งนอกจากการบูลลี่นี้จะเป็นการส่งเสริมค่านิยมของ beauty standard ที่ไม่สมเหตุสมผลและดูกดขี่กับผู้หญิงอย่างมากแล้ว (ที่พอสังคมบอกว่าอ้วนไป พอไปลดให้ผอมลง ก็โดนด่าอยู่ดีว่าผอมไปและไม่ได้รับการยอมรับอยู่ดี) สำหรับเด็ก Gen Z ซึ่งอาจรวมไปถึงลูก ๆ ของชาวผู้ปกครองของเราบางคน สิ่งนี้ก็อาจทำให้พวกเขายิ่ง sensitive กับประเด็นนี้ทางสังคมมากยิ่งขึ้นก็ได้ จากพัฒนาการของพวกเขาที่ช่วงนี้ก็ให้ความสำคัญกับการยอมรับจากสังคมมากอยู่แล้ว
.
จนมาถึงตรงนี้ ชาวผู้ปกครองหลายท่านคงอาจสงสัย ว่าหากลูกเราดันมีความรู้สึก sensitive หรือเริ่มมีความหมกมุ่นกับรูปร่างหน้าตา ความสวยหล่อของตัวเองมากจากการถูกบูลลี่จากอิทธิพลทางสังคมที่น่ากลัวแบบนี้ จนเริ่มมีอาการน่าเป็นห่วง เราในฐานะพ่อแม่สามารถช่วยยังไงได้บ้าง?
.
#ทำความเข้าใจ ‘เหยื่อ’ ของการถูกบูลลี่รูปร่างหน้าตา
เราอาจพอเดาได้ประมาณหนึ่งว่า ส่วนใหญ่เหยื่อที่มักจะถูกสังคมบูลลี่นั้น มักจะเป็นบุคคลที่มีลักษณะที่ค่อนข้างแตกต่างจากสังคมส่วนใหญ่ที่เป็นอยู่ หรือที่เราสามารถเรียกในภาษาหนึ่งได้ว่าเป็น ‘กลุ่มคนชายขอบ (marginalized people)’ ไม่ว่าจะเป็นคนที่ผอมเกินไป อ้วนเกินไป ผิวสีคล้ำ หรือในบางประเทศก็เป็นผิวสีขาว ขึ้นอยู่กับค่านิยมทางสังคมนั้น ๆ ว่าตั้งหลักเกณฑ์ของ ‘มาตรวัดเพื่อตัดสินความสวย (beauty standard)’ ไว้ว่าอย่างไร ซึ่งส่วนใหญ่แล้วกลุ่มคนชายขอบเหล่านี้มักจะไม่ได้โดนการบูลลี่แค่เพียงรอบเดียว แต่มักจะโดนแบบนี้ซ้ำ ๆ เนื่องจากมันเป็นลักษณะที่ติดตัวอยู่กับเขาตลอดเวลา ทำให้คนจากหลากหลายกลุ่ม หรือคนจากกลุ่มเดิม สามารถพูดถึงเรื่องนี้ได้ซ้ำ ๆ
.
โดยหากอ้างอิงจากการสำรวจทางจิตวิทยา พบว่าเด็ก ๆ ที่ถูกบูลลี่ส่วนใหญ่นั้นได้รับผลกระทบทั้งในส่วนของร่างกายและจิตใจ โดยในส่วนของร่างกายนั้นดูจะส่งผลทำให้เด็ก sensitive ต่ออาการเจ็บปวดทางกายมากขึ้น เช่นมีอาการปวดหัว มึนหัว ปวดท้อง บ่อย รวมไปถึงส่งผลต่อการมีปัญหาการนอนด้วย และยิ่งหากสำรวจถึงการทำงานของสมอง พบว่าเด็ก ๆ เหล่านี้มีการทำงานของสมองในส่วนของการหลั่งฮอร์โมนความเครียดอย่าง cortisol เยอะขึ้น รวมไปมีการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติที่ช่วยให้ตื่นตัวเพื่อได้รับมือกับความเครียดมากขึ้น ซึ่งหากได้รับการกระตุ้นให้ทำงานนาน ๆ จากการถูกบูลลี่ซ้ำ ๆ การหลั่งฮอร์โมนความเครียดที่เพิ่มขึ้นนี้สามารถไปทำลายระบบการสร้างสมดุลฮอร์โมนในร่างกายที่ปกติช่วยพยายามหยุดร่างกายให้หลั่งฮอร์โมนตัวนี้ลง กลายเป็นยิ่งหยุดเยอะเกินจนทำให้ระดับฮอร์โมนความเครียดลดลงมากเกินไป ทำให้บุคคลยิ่งรับมือกับสถานการณ์นี้ได้ยากขึ้นไปอีก (เพราะไม่มีฮอร์โมนช่วยบิ้วกระตุ้นให้หาทางออกจากปัญหา)
.
ส่วนสำหรับผลกระทบทางจิตใจ เด็ก ๆ เหล่านี้มักจะมีความรู้สึกโดดเดี่ยว เศร้า กังวล ไม่ปลอดภัย (insecure) รวมไปถึงไม่มีความเชื่อมั่นในตัวเอง (low self-esteem) ซึ่งความรู้สึกเหล่านี้ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เขาเจอกับการบูลลี่แบบนี้วนเวียนไปเรื่อย ๆ (เช่น พอไม่มั่นใจในตัวเอง ก็ยิ่งปลีกตัวเองออกมา ไม่พูดคุยกับใคร ก็ยิ่งรู้สึกเหงา โดดเดี่ยว เศร้า รู้สึกไร้ค่า และไม่มั่นใจในตัวเองวนไป) และอาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตในอนาคตที่อาจมีพฤติกรรมรุนแรง หรือมีแนวโน้มใช้สารเสพติด บุหรี่ แอลกอฮอลล์ได้ด้วยเช่นกัน
.
ซึ่งหากเราพูดในบริบทของ ‘การถูกบูลลี่เรื่องรูปร่างหน้าตา’ ผลกระทบที่เกิดขึ้นนอกจากจะส่งผลต่อ self-esteem ทำให้ไม่มั่นใจในรูปร่างหน้าตาของตัวเอง หรือทำให้มีอารมณ์เศร้า รู้สึกโดดเดี่ยวแล้วนั้น สิ่งนี้อาจส่งผลต่อการทำให้พวกเขาหมกมุ่นกับเรื่องรูปร่างหน้าตาความสวยงามมาก ๆ หรือมักคิดเรื่องนี้วน ๆ ซ้ำ ๆ จนควบคุมได้ยากและส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันและทำให้มีพฤติกรรมบางอย่างที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นส่องกระจกบ่อย ๆ ไม่อยากออกไปเจอเพื่อน ไม่อยากไปโรงเรียน หรือจนกระทั่งหยุดเรียน ไปจนถึงบางคนอาจหมกมุ่นจนมีมุมมองเกี่ยวกับรูปร่างหน้าตาของตัวเองที่แย่เกินความเป็นจริงไปเลย ทำให้อยากเปลี่ยนตัวเอง เช่น อยากเปลี่ยนรูปร่างจากอ้วนกลายเป็นผอมมาก ๆ จนกลายเป็นเริ่มมีปัญหาทางด้านพฤติกรรมการกินไปด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นอดอาหารมากจนขาดสารอาหาร หรือมีพฤติกรรมล้วงคอหรือ binge (การกินแบบยัดอาหารลงไปแบบไม่ยั้งที่คุมตัวเองไม่ได้)
.
#พ่อแม่มีส่วนช่วยได้อย่างไรบ้าง
เชื่อว่าจากข้อมูลข้างต้นที่กล่าวมาคงทำให้ชาวผู้ปกครองหลายคนตกใจและกังวลใจไม่น้อยเลยนะคะ แต่เหตุผลที่ส่วนตัว #คุณนายข้าวกล่อง อยากนำมาเล่า ก็เพราะอยากให้พวกเราเข้าใจถึงความรู้สึก ความคิด และพฤติกรรมของเด็ก ๆ ที่ถูกบูลลี่เรื่องหน้าตา ที่สำหรับพวกเขาแล้ว #สามารถเป็นเรื่องใหญ่และยากมากจริง ๆ ที่จะรับมือ และมันอาจสามารถส่งผลต่อเขาได้มากกว่าที่เราคิด
.
อย่างไรก็ดี มีงานวิจัยที่ได้อ้างอิงไว้เลยว่า ‘ครอบครัว’ สามารถมีส่วนช่วยทำให้ช่วยรับมือกับเรื่องนี้ได้มากขึ้นจริง โดยงานวิจัยบอกว่าหากเด็ก ๆ ได้อยู่ในครอบครัวที่ปลูกฝังในเรื่อง ‘สกิลการควบคุมอารมณ์ (Emotion Regulation)’ มาดี มันช่วยอย่างมากเลยที่จะทำให้เด็กรับมือกับการถูกบูลลี่ได้มากขึ้น เพราะมันมีผลต่อการลดระดับฮอร์โมนความเครียดจริง ๆ ซึ่งการปลูกฝังสกิลการควบคุมอารมณ์นี้สามารถทำได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นจากการเป็นต้นแบบการควบคุมอารมณ์ที่ดีที่เด็กสามารถเรียนรู้ก็อปปี้ตามได้ หรือการพูดอธิบาย ตักเตือนหรือสอนวิธีการรับมือเลยเวลามีอารมณ์เชิงลบเกิดขึ้น แต่สิ่งที่สำคัญคือต้องอยู่บนรากฐานของสัมพันธภาพที่ดีก่อนเช่นกันถึงจะมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถเรียนรู้วิธีการต่อได้ฟรีเลยที่ www.netpama.com
.
นอกจากนี้ ส่วนตัวมองว่านอกจากการควบคุมอารมณ์จะเป็นสิ่งสำคัญแล้ว การปลูกฝังแนวคิดที่ช่วยให้เด็กสามารถภูมิใจกับรูปร่างหน้าตาของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการให้เห็นตัวอย่างของคนที่ได้รับการยอมรับในสังคมที่อาจมีผิวดำ / อ้วน / เตี้ย / หน้าใหญ่ เพื่อให้เขาได้เข้าใจถึงความหลากหลายของบุคคลที่เป็นเรื่องปกติในสังคมที่ทุกคนก็ยอมรับได้ หาโอกาสชมความเป็นตัวเองของเด็กบ่อยเพื่อทำให้เขารู้สึกดีกับตัวเอง รวมไปถึงการหาวิธีรับมือกับการบูลลี่ เช่น พยายามออกห่างจากคนที่ชอบบูลลี่เหล่านั้น ไม่แสดงการตอบสนองอะไรเมื่อโดนบูลลี่ (เพื่อให้คนบูลลี่รู้ว่าจะว่าหรือไม่ว่าก็ไม่ได้สนใจ เพื่อลดพฤติกรรมลง) หรือเข้าหาเพื่อน ๆ หรือคุณครูให้ช่วยเหลือเมื่อเริ่มไม่ปลอดภัย ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นและสามารถทำได้เช่นกัน
.
และท้ายที่สุด การเน้นย้ำในประเด็นว่า ‘ลูกไม่ผิดเลยที่เกิดมาเป็นแบบนี้’ ก็ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญมากเช่นกัน เพื่อที่เด็กจะได้ไม่โทษตัวเองและรู้สึกแย่กับตัวเอง เพราะถ้าให้พูดกันตามตรง ในทุกสถานการณ์ของการถูกบูลลี่ ..........
‘มันก็ไม่เคยเป็นความผิดของผู้ถูกกระทำเลยจริง ๆ เหมือนกัน’
.
อ้างอิง
https://www.instagram.com/reel/DGwZgLXSJuH/?utm_source=ig_web_copy_link&igsh=MzRlODBiNWFlZA==
https://youtu.be/H8jYsmzWeCk?si=1oIqKg1YIJuWLKF4
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK390414/
https://positivepsychology.com/bullying/#types
https://www.unicef.org/parenting/child-care/bullying...
https://theembracehub.com/what-to-do-if-your-child-is.../
https://mhanational.org/.../body-dysmorphic-disorder-bdd.../
Positive Parenting Anywhere Anytime มาเลี้ยงลูกเชิงบวกกับ 'เน็ตป๊าม้า' หลักสูตรออนไลน์สอนเทคนิคการปรับพฤติกรรมเด็กเชิงบวก
Empower Families, Enrich Societies
เสริมพลังครอบครัว, สร้างพลังสังคม
#Netpama #เน็ตป๊าม้า #คัมภีร์เลี้ยงลูกเชิงบวก #เลี้ยงลูกเชิงบวก
.
“เด็ก Gen Z หน้าแก่เร็ว” – ข้อความนี้ได้กลายเป็นที่ฮอตฮิตในกระแสอย่างมากจากข่าวเมื่อไม่นานมานี้ของดาราสาววัย 21 สุดสวยมากความสามารถอย่าง ‘Millie Bobby Brown (มิลลี่ บ๊อบบี้ บราวน์)’ (นางเอกซีรีส์ Stranger Things) ที่ล่าสุดได้ออกมาแถลงความรู้สึกไม่โอเคอย่างมากที่สื่อในหลายสำนักได้วิจารณ์ว่าเธอดูแก่ลงแบบไม่สมวัยอย่างมากหลังจากที่เธอได้เปลี่ยนลุคใหม่ของตัวเอง พร้อมกับมีบทความต่าง ๆ ที่พาดหัวและเขียนในประเด็นนี้ของเธออย่างสนุกปาก อย่าง บทความ ‘แมตต์ ลูคัส จาก Little Britain แซวแรงลุคใหม่สไตล์คุณแม่ของมิลลี่ บ็อบบี้ บราวน์’ หรือ ‘เพราะอะไรเหล่า Gen Z อย่างมิลลี่ บ๊อบบี้ บราวน์ ถึงดูแก่ไว’ โดยเธอได้กล่าวอย่างชัดเจนว่าการกระทำของสื่อเช่นนี้ไม่ใช่แค่การวิจารณ์ แต่เป็นการบูลลี่ถึงรูปร่างหน้าตาของเธอ ที่อาจสร้างผลกระทบไม่ใช่กับแค่ตัวเธอ แต่กับเหล่าเด็ก ๆ Gen Z ทั้งหลายที่อยู่ใน social media ด้วยเช่นกัน
.
และความน่าตกใจยิ่งไปกว่านั้นก็คือ ดูเหมือนไม่ใช่แค่มิลลี่ที่จะตกเป็นเหยื่อของสังคมในเรื่องนี้จากการวิจารณ์อย่างรุนแรงจากสื่อ แต่ทุกวันนี้หากลองค้นตามสื่อ social media ต่าง ๆ ก็จะมีกลุ่มคนไม่น่ารักจำพวกหนึ่ง ที่คอยสร้างคอนเทนต์ประเภทที่ตั้งใจจะบูลลี่เหล่าเด็ก Gen Z ทุกคนอย่างน่าไม่อาย ซึ่งนอกจากการบูลลี่นี้จะเป็นการส่งเสริมค่านิยมของ beauty standard ที่ไม่สมเหตุสมผลและดูกดขี่กับผู้หญิงอย่างมากแล้ว (ที่พอสังคมบอกว่าอ้วนไป พอไปลดให้ผอมลง ก็โดนด่าอยู่ดีว่าผอมไปและไม่ได้รับการยอมรับอยู่ดี) สำหรับเด็ก Gen Z ซึ่งอาจรวมไปถึงลูก ๆ ของชาวผู้ปกครองของเราบางคน สิ่งนี้ก็อาจทำให้พวกเขายิ่ง sensitive กับประเด็นนี้ทางสังคมมากยิ่งขึ้นก็ได้ จากพัฒนาการของพวกเขาที่ช่วงนี้ก็ให้ความสำคัญกับการยอมรับจากสังคมมากอยู่แล้ว
.
จนมาถึงตรงนี้ ชาวผู้ปกครองหลายท่านคงอาจสงสัย ว่าหากลูกเราดันมีความรู้สึก sensitive หรือเริ่มมีความหมกมุ่นกับรูปร่างหน้าตา ความสวยหล่อของตัวเองมากจากการถูกบูลลี่จากอิทธิพลทางสังคมที่น่ากลัวแบบนี้ จนเริ่มมีอาการน่าเป็นห่วง เราในฐานะพ่อแม่สามารถช่วยยังไงได้บ้าง?
.
#ทำความเข้าใจ ‘เหยื่อ’ ของการถูกบูลลี่รูปร่างหน้าตา
เราอาจพอเดาได้ประมาณหนึ่งว่า ส่วนใหญ่เหยื่อที่มักจะถูกสังคมบูลลี่นั้น มักจะเป็นบุคคลที่มีลักษณะที่ค่อนข้างแตกต่างจากสังคมส่วนใหญ่ที่เป็นอยู่ หรือที่เราสามารถเรียกในภาษาหนึ่งได้ว่าเป็น ‘กลุ่มคนชายขอบ (marginalized people)’ ไม่ว่าจะเป็นคนที่ผอมเกินไป อ้วนเกินไป ผิวสีคล้ำ หรือในบางประเทศก็เป็นผิวสีขาว ขึ้นอยู่กับค่านิยมทางสังคมนั้น ๆ ว่าตั้งหลักเกณฑ์ของ ‘มาตรวัดเพื่อตัดสินความสวย (beauty standard)’ ไว้ว่าอย่างไร ซึ่งส่วนใหญ่แล้วกลุ่มคนชายขอบเหล่านี้มักจะไม่ได้โดนการบูลลี่แค่เพียงรอบเดียว แต่มักจะโดนแบบนี้ซ้ำ ๆ เนื่องจากมันเป็นลักษณะที่ติดตัวอยู่กับเขาตลอดเวลา ทำให้คนจากหลากหลายกลุ่ม หรือคนจากกลุ่มเดิม สามารถพูดถึงเรื่องนี้ได้ซ้ำ ๆ
.
โดยหากอ้างอิงจากการสำรวจทางจิตวิทยา พบว่าเด็ก ๆ ที่ถูกบูลลี่ส่วนใหญ่นั้นได้รับผลกระทบทั้งในส่วนของร่างกายและจิตใจ โดยในส่วนของร่างกายนั้นดูจะส่งผลทำให้เด็ก sensitive ต่ออาการเจ็บปวดทางกายมากขึ้น เช่นมีอาการปวดหัว มึนหัว ปวดท้อง บ่อย รวมไปถึงส่งผลต่อการมีปัญหาการนอนด้วย และยิ่งหากสำรวจถึงการทำงานของสมอง พบว่าเด็ก ๆ เหล่านี้มีการทำงานของสมองในส่วนของการหลั่งฮอร์โมนความเครียดอย่าง cortisol เยอะขึ้น รวมไปมีการทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติที่ช่วยให้ตื่นตัวเพื่อได้รับมือกับความเครียดมากขึ้น ซึ่งหากได้รับการกระตุ้นให้ทำงานนาน ๆ จากการถูกบูลลี่ซ้ำ ๆ การหลั่งฮอร์โมนความเครียดที่เพิ่มขึ้นนี้สามารถไปทำลายระบบการสร้างสมดุลฮอร์โมนในร่างกายที่ปกติช่วยพยายามหยุดร่างกายให้หลั่งฮอร์โมนตัวนี้ลง กลายเป็นยิ่งหยุดเยอะเกินจนทำให้ระดับฮอร์โมนความเครียดลดลงมากเกินไป ทำให้บุคคลยิ่งรับมือกับสถานการณ์นี้ได้ยากขึ้นไปอีก (เพราะไม่มีฮอร์โมนช่วยบิ้วกระตุ้นให้หาทางออกจากปัญหา)
.
ส่วนสำหรับผลกระทบทางจิตใจ เด็ก ๆ เหล่านี้มักจะมีความรู้สึกโดดเดี่ยว เศร้า กังวล ไม่ปลอดภัย (insecure) รวมไปถึงไม่มีความเชื่อมั่นในตัวเอง (low self-esteem) ซึ่งความรู้สึกเหล่านี้ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้เขาเจอกับการบูลลี่แบบนี้วนเวียนไปเรื่อย ๆ (เช่น พอไม่มั่นใจในตัวเอง ก็ยิ่งปลีกตัวเองออกมา ไม่พูดคุยกับใคร ก็ยิ่งรู้สึกเหงา โดดเดี่ยว เศร้า รู้สึกไร้ค่า และไม่มั่นใจในตัวเองวนไป) และอาจส่งผลต่อการใช้ชีวิตในอนาคตที่อาจมีพฤติกรรมรุนแรง หรือมีแนวโน้มใช้สารเสพติด บุหรี่ แอลกอฮอลล์ได้ด้วยเช่นกัน
.
ซึ่งหากเราพูดในบริบทของ ‘การถูกบูลลี่เรื่องรูปร่างหน้าตา’ ผลกระทบที่เกิดขึ้นนอกจากจะส่งผลต่อ self-esteem ทำให้ไม่มั่นใจในรูปร่างหน้าตาของตัวเอง หรือทำให้มีอารมณ์เศร้า รู้สึกโดดเดี่ยวแล้วนั้น สิ่งนี้อาจส่งผลต่อการทำให้พวกเขาหมกมุ่นกับเรื่องรูปร่างหน้าตาความสวยงามมาก ๆ หรือมักคิดเรื่องนี้วน ๆ ซ้ำ ๆ จนควบคุมได้ยากและส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันและทำให้มีพฤติกรรมบางอย่างที่เปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเป็นส่องกระจกบ่อย ๆ ไม่อยากออกไปเจอเพื่อน ไม่อยากไปโรงเรียน หรือจนกระทั่งหยุดเรียน ไปจนถึงบางคนอาจหมกมุ่นจนมีมุมมองเกี่ยวกับรูปร่างหน้าตาของตัวเองที่แย่เกินความเป็นจริงไปเลย ทำให้อยากเปลี่ยนตัวเอง เช่น อยากเปลี่ยนรูปร่างจากอ้วนกลายเป็นผอมมาก ๆ จนกลายเป็นเริ่มมีปัญหาทางด้านพฤติกรรมการกินไปด้วยเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นอดอาหารมากจนขาดสารอาหาร หรือมีพฤติกรรมล้วงคอหรือ binge (การกินแบบยัดอาหารลงไปแบบไม่ยั้งที่คุมตัวเองไม่ได้)
.
#พ่อแม่มีส่วนช่วยได้อย่างไรบ้าง
เชื่อว่าจากข้อมูลข้างต้นที่กล่าวมาคงทำให้ชาวผู้ปกครองหลายคนตกใจและกังวลใจไม่น้อยเลยนะคะ แต่เหตุผลที่ส่วนตัว #คุณนายข้าวกล่อง อยากนำมาเล่า ก็เพราะอยากให้พวกเราเข้าใจถึงความรู้สึก ความคิด และพฤติกรรมของเด็ก ๆ ที่ถูกบูลลี่เรื่องหน้าตา ที่สำหรับพวกเขาแล้ว #สามารถเป็นเรื่องใหญ่และยากมากจริง ๆ ที่จะรับมือ และมันอาจสามารถส่งผลต่อเขาได้มากกว่าที่เราคิด
.
อย่างไรก็ดี มีงานวิจัยที่ได้อ้างอิงไว้เลยว่า ‘ครอบครัว’ สามารถมีส่วนช่วยทำให้ช่วยรับมือกับเรื่องนี้ได้มากขึ้นจริง โดยงานวิจัยบอกว่าหากเด็ก ๆ ได้อยู่ในครอบครัวที่ปลูกฝังในเรื่อง ‘สกิลการควบคุมอารมณ์ (Emotion Regulation)’ มาดี มันช่วยอย่างมากเลยที่จะทำให้เด็กรับมือกับการถูกบูลลี่ได้มากขึ้น เพราะมันมีผลต่อการลดระดับฮอร์โมนความเครียดจริง ๆ ซึ่งการปลูกฝังสกิลการควบคุมอารมณ์นี้สามารถทำได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นจากการเป็นต้นแบบการควบคุมอารมณ์ที่ดีที่เด็กสามารถเรียนรู้ก็อปปี้ตามได้ หรือการพูดอธิบาย ตักเตือนหรือสอนวิธีการรับมือเลยเวลามีอารมณ์เชิงลบเกิดขึ้น แต่สิ่งที่สำคัญคือต้องอยู่บนรากฐานของสัมพันธภาพที่ดีก่อนเช่นกันถึงจะมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถเรียนรู้วิธีการต่อได้ฟรีเลยที่ www.netpama.com
.
นอกจากนี้ ส่วนตัวมองว่านอกจากการควบคุมอารมณ์จะเป็นสิ่งสำคัญแล้ว การปลูกฝังแนวคิดที่ช่วยให้เด็กสามารถภูมิใจกับรูปร่างหน้าตาของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการให้เห็นตัวอย่างของคนที่ได้รับการยอมรับในสังคมที่อาจมีผิวดำ / อ้วน / เตี้ย / หน้าใหญ่ เพื่อให้เขาได้เข้าใจถึงความหลากหลายของบุคคลที่เป็นเรื่องปกติในสังคมที่ทุกคนก็ยอมรับได้ หาโอกาสชมความเป็นตัวเองของเด็กบ่อยเพื่อทำให้เขารู้สึกดีกับตัวเอง รวมไปถึงการหาวิธีรับมือกับการบูลลี่ เช่น พยายามออกห่างจากคนที่ชอบบูลลี่เหล่านั้น ไม่แสดงการตอบสนองอะไรเมื่อโดนบูลลี่ (เพื่อให้คนบูลลี่รู้ว่าจะว่าหรือไม่ว่าก็ไม่ได้สนใจ เพื่อลดพฤติกรรมลง) หรือเข้าหาเพื่อน ๆ หรือคุณครูให้ช่วยเหลือเมื่อเริ่มไม่ปลอดภัย ก็เป็นสิ่งที่จำเป็นและสามารถทำได้เช่นกัน
.
และท้ายที่สุด การเน้นย้ำในประเด็นว่า ‘ลูกไม่ผิดเลยที่เกิดมาเป็นแบบนี้’ ก็ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญมากเช่นกัน เพื่อที่เด็กจะได้ไม่โทษตัวเองและรู้สึกแย่กับตัวเอง เพราะถ้าให้พูดกันตามตรง ในทุกสถานการณ์ของการถูกบูลลี่ ..........
‘มันก็ไม่เคยเป็นความผิดของผู้ถูกกระทำเลยจริง ๆ เหมือนกัน’
.
อ้างอิง
https://www.instagram.com/reel/DGwZgLXSJuH/?utm_source=ig_web_copy_link&igsh=MzRlODBiNWFlZA==
https://youtu.be/H8jYsmzWeCk?si=1oIqKg1YIJuWLKF4
https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK390414/
https://positivepsychology.com/bullying/#types
https://www.unicef.org/parenting/child-care/bullying...
https://theembracehub.com/what-to-do-if-your-child-is.../
https://mhanational.org/.../body-dysmorphic-disorder-bdd.../
Positive Parenting Anywhere Anytime มาเลี้ยงลูกเชิงบวกกับ 'เน็ตป๊าม้า' หลักสูตรออนไลน์สอนเทคนิคการปรับพฤติกรรมเด็กเชิงบวก
Empower Families, Enrich Societies
เสริมพลังครอบครัว, สร้างพลังสังคม
#Netpama #เน็ตป๊าม้า #คัมภีร์เลี้ยงลูกเชิงบวก #เลี้ยงลูกเชิงบวก

เน็ตป๊าม้า ขอแนะนำหลักสูตรออนไลน์ สอนเทคนิคเชิงบวกในการปรับพฤติกรรมเด็ก
คอร์สเร่งรัด
เหมาะสำหรับผู้ปกครองที่มีพื้นฐานการปรับพฤติกรรมเด็กเชิงบวกอยู่แล้ว
แต่ต้องการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมเด็กที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น
คอร์สจัดเต็ม
เหมาะสำหรับผู้ปกครองที่ต้องการเรียนรู้และฝึกใช้เทคนิคการปรับพฤติกรรมเด็ก
อย่างเป็นขั้นบันได เพื่อเตรียมพร้อมที่จะนำไปรับมือกับปัญหาพฤติกรรมเด็ก
อย่างมั่นใจ