การเลี้ยงลูกให้ลูกมีความสุข = การเลี้ยงลูกที่ไม่ให้ลูกรู้สึกทุกข์?
เมื่อ 3 วันที่แล้ว
การเลี้ยงลูกให้ลูกมีความสุข = การเลี้ยงลูกที่ไม่ให้ลูกรู้สึกทุกข์? บทความโดย #คุณนายข้าวกล่อง
.
เชื่อว่าหากมีใครสักคนถามชาวผู้ปกครองอย่างเรา ๆ ว่า เป้าหมายการเลี้ยงลูกของเราคืออะไร?
.
“อยากเลี้ยงให้เขามีความสุข” คงเป็นหนึ่งในคำตอบของพ่อแม่หลาย ๆ คน เพราะเชื่อว่าเหนือสิ่งอื่นใด สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับลูกของเรา คงไม่ใช่สินทรัพย์ เงินทอง มรดก หรือฐานะทางสังคมเพียงอย่างเดียว แต่สิ่งสำคัญที่เราคงอยากให้ลูกได้เจอจริง ๆ คือการให้เขาได้มีชีวิตที่ห้อมล้อมไปด้วยสิ่งดี ๆ เต็มไปด้วยรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ หรือมีชีวิตที่ตลบอบอวลไปด้วยความรู้สึกเชิงบวกอย่าง “ความสุข”
.
ซึ่งการที่จะทำให้เราไปถึงเป้าหมายนี้ หลายคนคงเชื่อว่ามันก็คงต้องเริ่มต้นมาจากการทำอย่างไรก็ได้ให้ลูกได้รับความรัก รอยยิ้ม เสียงหัวเราะ หรือการเตรียมพร้อมให้ลูกได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่พร้อมและเต็มไปด้วยความสุขตลอดเวลา
.
ซึ่งส่วนตัว #คุณนายข้าวกล่อง ก็ไม่ปฏิเสธค่ะ เพราะการได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยสิ่งที่ทำให้มีความสุข ไม่ว่าจะเป็นของเล่น ห้องที่มีสีสันสวยงาม ไปจนถึงบรรยากาศของครอบครัวที่อบอุ่นและปลอดภัย ล้วนเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ส่งผลดีต่อตัวเด็กทั้งสิ้นที่จะทำให้เขาได้รับความสุข ยิ่งไปกว่านั้น บางทีในเวลาที่เด็กดันอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่ไม่พร้อมที่ไม่ว่าจะมาจากเราหรือไม่มาจากเราก็ตาม เด็กก็มีการแสดง reaction ออกมาว่าไม่โอเคอย่างมากที่ชัดเจนเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการร้องเสียงดัง หรือไปจนถึงขั้นร้องแบบ tantrum คืออาจมีอารมณ์โกรธฉุนเฉียวร่วมด้วยกับความรู้สึกเศร้าเสียใจ และมีพฤติกรรมแสดงถึงความไม่พอใจให้เห็นอย่างชัดเจน เช่นการกระทืบเท้า หรือการนอนดิ้นอยู่บนพื้นร่วมด้วย สิ่งนี้เลยยิ่งอาจสนับสนุนให้เห็นมากยิ่งขึ้นว่า การ make sure ว่าสภาพแวดล้อมที่เด็กอยู่นั้นมันสมบูรณ์แบบ ทำให้เด็กได้รับการตอบสนองอย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพตลอดเวลา เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากที่จะทำให้ลูกมีความสุขและปราศจากความทุกข์ และก็คงเป็นแรงขับเคลื่อนที่ทำให้เราพยายามทำหน้าที่นี้อย่างเต็มที่มากขึ้นเพื่อลดการเกิดเหตุการณ์เหล่านี้ลงเพื่อเติมเต็มเป้าหมายที่อยากเลี้ยงให้ลูกมีความสุขที่สุด
.
แต่คำถามที่น่าสนใจก็คือ การเลี้ยงลูกให้ลูกมีความสุข จากการจัดสรรให้ลูกอยู่ในพื้นที่ที่เต็มไปด้วยความพร้อมเพื่อไม่ให้เขาต้องเจอกับความรู้สึกทุกข์ใจ มันคือวิธีการเลี้ยงลูกให้ลูกมีความสุขได้จริง ๆ ไหม?
.
ถึงแม้ว่าปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมรอบตัวจะมีผลต่ออารมณ์เชิงบวกของลูกเราได้จริง แต่การจัดให้เด็กได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เพียบพร้อมตลอดเวลา ในอีกมุมหนึ่ง ก็คงอาจไม่ต่างอะไรกับ “การเลี้ยงให้เด็กมีความสุข จากการหลีกเลี่ยงไม่ให้เจอกับความทุกข์” ซึ่งการเลี้ยงดูในรูปแบบนี้ก็คงไม่ต่างอะไรกับการ ‘Overprotection (เลี้ยงดูแบบปกป้องมากเกินไป)’ ซึ่งก็สามารถสร้างผลเสียต่อตัวเด็กได้ไม่น้อยเลยเช่นกัน เพราะถ้าลองจินตนาการว่าหากเด็ก ๆ ของเราไม่เคยเจอเหตุการณ์ที่ทำให้รู้สึก ‘หงุดหงิด’ ‘ขัดใจ’ หรือ ‘โกรธเพราะตอบสนองไม่ทันใจ’ เลยจากการมีชีวิตห้อมล้อมไปด้วยความเพียบพร้อมที่ได้ทุกอย่างทันใจมาโดยตลอด เด็ก ๆ ก็ดูจะเติบโตใช้ชีวิตอยู่ในสังคมยากเหมือนกันในอนาคต เพราะนอกจากเหตุการณ์แบบนี้จะสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาเมื่อเราโตขึ้นในชีวิตจริงแล้ว ตัวเด็ก ๆ เองก็คงจะ suffer ไม่น้อยเลยเหมือนกันเพราะไม่รู้ว่าจะต้องจัดการตัวเองอย่างไรเนื่องจากไม่เคยเจอกับสถานการณ์แบบนี้มาก่อน เด็ก ๆ ก็คงอาจรู้สึกเครียด กังวล ไม่มั่นใจ หรือทำให้เขาอาจรู้สึกถอดใจได้ง่ายเวลาเจอปัญหาหรืออุปสรรค เพราะไม่มี back up ทางจิตใจที่ดีที่จะดีดตัวเองให้กลับไปเผชิญหน้าเพื่อแก้ไขปัญหานั้น หรือภาษาจิตวิทยาที่เราอาจคุ้นหูกันดีที่เรียกว่า “Resilience (ความสามารถในการรับมือกับปัญหา)” นั่นเอง
.
“การให้ลูกได้อยู่ในสภาวะแวดล้อมที่ไม่พร้อมเพื่อให้เขาได้รู้สึกถึงอารมณ์เชิงลบต่าง ๆ บ้าง” จึงอาจไม่ใช่สิ่งที่แย่เสมอไป เพราะหากพูดในมุมจิตวิทยา อารมณ์เชิงลบต่าง ๆ ก็มีหน้าที่ช่วยทำให้มนุษย์อย่างเราได้เรียนรู้และเติบโตไปได้อย่างงอกงามเหมือนกัน ถึงแม้ว่าสภาพของเราหรือลูกที่อยู่กับความรู้สึกนั้นอาจดูไม่สวยงามเท่าไหร่นัก แต่เวลาเราได้อยู่กับอารมณ์เศร้า กลัว หงุดหงิด หรือไม่พอใจ นอกจากมันจะทำให้เราได้ทบทวนตัวเองหรือทำให้เราได้ระบายความอัดอั้นตันใจนั้นออกมาแล้ว การเผชิญหน้ากับอารมณ์เหล่านี้ก็ถือเป็นโอกาสที่ทำให้เราได้สอนลูกของเราในการจัดการอารมณ์เหล่านั้นให้ลูกมี resilience รวมถึงอาจเป็นโอกาสที่ทำให้สัมพันธภาพระหว่างกับลูกนั้นแน่นแฟ้นมากขึ้นอีกด้วย เพราะมันอาจทำให้ลูกได้เรียนรู้ว่าพ่อแม่จะพร้อมช่วยเหลือและอยู่ข้างเราเสมอแม้ในวันที่เราทุกข์ เหมือนเวลาที่เราทุกข์ในแล้วมีเพื่อนที่สนิทที่ไม่ตัดสินเราคอยรับฟังและช่วยเหลือเรา ซึ่งก็เป็นหนึ่งใน deeper connection ที่จะช่วยสร้างความไว้ใจต่อตัวเด็กมากขึ้น ซึ่งท้ายที่สุดก็สามารถนำมาซึ่งความสุขให้กับลูกของเราได้เช่นเดียวกัน
.
และหากผู้ปกครองท่านใดต้องการแนวทางการเลี้ยงดูเพิ่มเติมเพื่อช่วยทำให้ลูกของเรามีความสุขกับชีวิตมากขึ้น สามารถเข้ามาศึกษาเพิ่มเติมได้ฟรีที่ www.netpama.com
Positive Parenting Anywhere Anytime มาเลี้ยงลูกเชิงบวกกับ 'เน็ตป๊าม้า' หลักสูตรออนไลน์สอนเทคนิคการปรับพฤติกรรมเด็กเชิงบวก
Empower Families, Enrich Societies
เสริมพลังครอบครัว, สร้างพลังสังคม
#Netpama #เน็ตป๊าม้า #คัมภีร์เลี้ยงลูกเชิงบวก #เลี้ยงลูกเชิงบวก
.
เชื่อว่าหากมีใครสักคนถามชาวผู้ปกครองอย่างเรา ๆ ว่า เป้าหมายการเลี้ยงลูกของเราคืออะไร?
.
“อยากเลี้ยงให้เขามีความสุข” คงเป็นหนึ่งในคำตอบของพ่อแม่หลาย ๆ คน เพราะเชื่อว่าเหนือสิ่งอื่นใด สิ่งที่ดีที่สุดสำหรับลูกของเรา คงไม่ใช่สินทรัพย์ เงินทอง มรดก หรือฐานะทางสังคมเพียงอย่างเดียว แต่สิ่งสำคัญที่เราคงอยากให้ลูกได้เจอจริง ๆ คือการให้เขาได้มีชีวิตที่ห้อมล้อมไปด้วยสิ่งดี ๆ เต็มไปด้วยรอยยิ้ม เสียงหัวเราะ หรือมีชีวิตที่ตลบอบอวลไปด้วยความรู้สึกเชิงบวกอย่าง “ความสุข”
.
ซึ่งการที่จะทำให้เราไปถึงเป้าหมายนี้ หลายคนคงเชื่อว่ามันก็คงต้องเริ่มต้นมาจากการทำอย่างไรก็ได้ให้ลูกได้รับความรัก รอยยิ้ม เสียงหัวเราะ หรือการเตรียมพร้อมให้ลูกได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่พร้อมและเต็มไปด้วยความสุขตลอดเวลา
.
ซึ่งส่วนตัว #คุณนายข้าวกล่อง ก็ไม่ปฏิเสธค่ะ เพราะการได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยสิ่งที่ทำให้มีความสุข ไม่ว่าจะเป็นของเล่น ห้องที่มีสีสันสวยงาม ไปจนถึงบรรยากาศของครอบครัวที่อบอุ่นและปลอดภัย ล้วนเป็นปัจจัยที่สำคัญที่ส่งผลดีต่อตัวเด็กทั้งสิ้นที่จะทำให้เขาได้รับความสุข ยิ่งไปกว่านั้น บางทีในเวลาที่เด็กดันอยู่ในสภาวะแวดล้อมที่ไม่พร้อมที่ไม่ว่าจะมาจากเราหรือไม่มาจากเราก็ตาม เด็กก็มีการแสดง reaction ออกมาว่าไม่โอเคอย่างมากที่ชัดเจนเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการร้องเสียงดัง หรือไปจนถึงขั้นร้องแบบ tantrum คืออาจมีอารมณ์โกรธฉุนเฉียวร่วมด้วยกับความรู้สึกเศร้าเสียใจ และมีพฤติกรรมแสดงถึงความไม่พอใจให้เห็นอย่างชัดเจน เช่นการกระทืบเท้า หรือการนอนดิ้นอยู่บนพื้นร่วมด้วย สิ่งนี้เลยยิ่งอาจสนับสนุนให้เห็นมากยิ่งขึ้นว่า การ make sure ว่าสภาพแวดล้อมที่เด็กอยู่นั้นมันสมบูรณ์แบบ ทำให้เด็กได้รับการตอบสนองอย่างทันท่วงทีและมีประสิทธิภาพตลอดเวลา เป็นสิ่งจำเป็นอย่างมากที่จะทำให้ลูกมีความสุขและปราศจากความทุกข์ และก็คงเป็นแรงขับเคลื่อนที่ทำให้เราพยายามทำหน้าที่นี้อย่างเต็มที่มากขึ้นเพื่อลดการเกิดเหตุการณ์เหล่านี้ลงเพื่อเติมเต็มเป้าหมายที่อยากเลี้ยงให้ลูกมีความสุขที่สุด
.
แต่คำถามที่น่าสนใจก็คือ การเลี้ยงลูกให้ลูกมีความสุข จากการจัดสรรให้ลูกอยู่ในพื้นที่ที่เต็มไปด้วยความพร้อมเพื่อไม่ให้เขาต้องเจอกับความรู้สึกทุกข์ใจ มันคือวิธีการเลี้ยงลูกให้ลูกมีความสุขได้จริง ๆ ไหม?
.
ถึงแม้ว่าปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมรอบตัวจะมีผลต่ออารมณ์เชิงบวกของลูกเราได้จริง แต่การจัดให้เด็กได้อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เพียบพร้อมตลอดเวลา ในอีกมุมหนึ่ง ก็คงอาจไม่ต่างอะไรกับ “การเลี้ยงให้เด็กมีความสุข จากการหลีกเลี่ยงไม่ให้เจอกับความทุกข์” ซึ่งการเลี้ยงดูในรูปแบบนี้ก็คงไม่ต่างอะไรกับการ ‘Overprotection (เลี้ยงดูแบบปกป้องมากเกินไป)’ ซึ่งก็สามารถสร้างผลเสียต่อตัวเด็กได้ไม่น้อยเลยเช่นกัน เพราะถ้าลองจินตนาการว่าหากเด็ก ๆ ของเราไม่เคยเจอเหตุการณ์ที่ทำให้รู้สึก ‘หงุดหงิด’ ‘ขัดใจ’ หรือ ‘โกรธเพราะตอบสนองไม่ทันใจ’ เลยจากการมีชีวิตห้อมล้อมไปด้วยความเพียบพร้อมที่ได้ทุกอย่างทันใจมาโดยตลอด เด็ก ๆ ก็ดูจะเติบโตใช้ชีวิตอยู่ในสังคมยากเหมือนกันในอนาคต เพราะนอกจากเหตุการณ์แบบนี้จะสามารถเกิดขึ้นได้ตลอดเวลาเมื่อเราโตขึ้นในชีวิตจริงแล้ว ตัวเด็ก ๆ เองก็คงจะ suffer ไม่น้อยเลยเหมือนกันเพราะไม่รู้ว่าจะต้องจัดการตัวเองอย่างไรเนื่องจากไม่เคยเจอกับสถานการณ์แบบนี้มาก่อน เด็ก ๆ ก็คงอาจรู้สึกเครียด กังวล ไม่มั่นใจ หรือทำให้เขาอาจรู้สึกถอดใจได้ง่ายเวลาเจอปัญหาหรืออุปสรรค เพราะไม่มี back up ทางจิตใจที่ดีที่จะดีดตัวเองให้กลับไปเผชิญหน้าเพื่อแก้ไขปัญหานั้น หรือภาษาจิตวิทยาที่เราอาจคุ้นหูกันดีที่เรียกว่า “Resilience (ความสามารถในการรับมือกับปัญหา)” นั่นเอง
.
“การให้ลูกได้อยู่ในสภาวะแวดล้อมที่ไม่พร้อมเพื่อให้เขาได้รู้สึกถึงอารมณ์เชิงลบต่าง ๆ บ้าง” จึงอาจไม่ใช่สิ่งที่แย่เสมอไป เพราะหากพูดในมุมจิตวิทยา อารมณ์เชิงลบต่าง ๆ ก็มีหน้าที่ช่วยทำให้มนุษย์อย่างเราได้เรียนรู้และเติบโตไปได้อย่างงอกงามเหมือนกัน ถึงแม้ว่าสภาพของเราหรือลูกที่อยู่กับความรู้สึกนั้นอาจดูไม่สวยงามเท่าไหร่นัก แต่เวลาเราได้อยู่กับอารมณ์เศร้า กลัว หงุดหงิด หรือไม่พอใจ นอกจากมันจะทำให้เราได้ทบทวนตัวเองหรือทำให้เราได้ระบายความอัดอั้นตันใจนั้นออกมาแล้ว การเผชิญหน้ากับอารมณ์เหล่านี้ก็ถือเป็นโอกาสที่ทำให้เราได้สอนลูกของเราในการจัดการอารมณ์เหล่านั้นให้ลูกมี resilience รวมถึงอาจเป็นโอกาสที่ทำให้สัมพันธภาพระหว่างกับลูกนั้นแน่นแฟ้นมากขึ้นอีกด้วย เพราะมันอาจทำให้ลูกได้เรียนรู้ว่าพ่อแม่จะพร้อมช่วยเหลือและอยู่ข้างเราเสมอแม้ในวันที่เราทุกข์ เหมือนเวลาที่เราทุกข์ในแล้วมีเพื่อนที่สนิทที่ไม่ตัดสินเราคอยรับฟังและช่วยเหลือเรา ซึ่งก็เป็นหนึ่งใน deeper connection ที่จะช่วยสร้างความไว้ใจต่อตัวเด็กมากขึ้น ซึ่งท้ายที่สุดก็สามารถนำมาซึ่งความสุขให้กับลูกของเราได้เช่นเดียวกัน
.
และหากผู้ปกครองท่านใดต้องการแนวทางการเลี้ยงดูเพิ่มเติมเพื่อช่วยทำให้ลูกของเรามีความสุขกับชีวิตมากขึ้น สามารถเข้ามาศึกษาเพิ่มเติมได้ฟรีที่ www.netpama.com
Positive Parenting Anywhere Anytime มาเลี้ยงลูกเชิงบวกกับ 'เน็ตป๊าม้า' หลักสูตรออนไลน์สอนเทคนิคการปรับพฤติกรรมเด็กเชิงบวก
Empower Families, Enrich Societies
เสริมพลังครอบครัว, สร้างพลังสังคม
#Netpama #เน็ตป๊าม้า #คัมภีร์เลี้ยงลูกเชิงบวก #เลี้ยงลูกเชิงบวก

เน็ตป๊าม้า ขอแนะนำหลักสูตรออนไลน์ สอนเทคนิคเชิงบวกในการปรับพฤติกรรมเด็ก
คอร์สเร่งรัด
เหมาะสำหรับผู้ปกครองที่มีพื้นฐานการปรับพฤติกรรมเด็กเชิงบวกอยู่แล้ว
แต่ต้องการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมเด็กที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น
คอร์สจัดเต็ม
เหมาะสำหรับผู้ปกครองที่ต้องการเรียนรู้และฝึกใช้เทคนิคการปรับพฤติกรรมเด็ก
อย่างเป็นขั้นบันได เพื่อเตรียมพร้อมที่จะนำไปรับมือกับปัญหาพฤติกรรมเด็ก
อย่างมั่นใจ