การเลี้ยงลูกที่ดี = ไม่ดุหรือลงโทษลูกเลย จริงไหม?
เมื่อ 2 สัปดาห์ที่แล้ว
การเลี้ยงลูกที่ดี = ไม่ดุหรือลงโทษลูกเลย จริงไหม? บทความโดย #คุณนายข้าวกล่อง
.
เชื่อว่าชาวผู้ปกครองหลาย ๆ ท่านของเราคงเคยได้ยินกันมาบ้างว่าการเลี้ยงลูกที่ดีที่ถูกต้อง หรือเหมาะกับเด็ก ๆ สมัยนี้ คือไม่ควรที่จะทำโทษแรง ๆ หรือใช้วิธีการดุ ด่า ว่ากล่าว หรือตำหนิลูก เพราะการเลี้ยงดูแบบนี้สามารถสร้างผลเสียต่อเด็ก ๆ ในระยะยาวได้ อาจทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเรากับเด็กห่างเหินขึ้น หรืออาจส่งผลทำให้เด็กมีปมด้อย รู้สึกไม่มั่นใจในตัวเองได้เช่นกัน อีกทั้งหากลองมองในมุมของผู้ปกครอง เวลาเราตำหนิหรือทำโทษลูก ๆ ของเราสักครั้งนึง มันก็คงสร้างตราบาปหรือความรู้สึกผิดที่ต้องทำกับพวกเรามาก ๆ เหมือนกัน เพราะก็คิดว่าไม่มีพ่อแม่คนไหน ที่อยากจะทำโทษลูกเหมือนกันหากไม่จำเป็น
.
ซึ่งใช่ค่ะ! ส่วนตัวแล้ว #คุณนายข้าวกล่อง เห็นด้วยอย่างมากเลยที่การลงโทษ ที่หมายถึงการตี หรือการใช้คำพูดหรือการกระทำที่รุนแรงในการสั่งสอนให้เด็กรู้จักผิดชอบชั่วดี เพราะการสั่งสอนด้วยวิธีนี้นอกจากจะดูจะไม่สมเหตุสมผลแล้ว การลงโทษด้วยการใช้ความรุนแรงยังทำให้เด็กไม่ได้เรียนรู้ถึงการกระทำของตัวเองอีกเช่นกันว่ามันไม่ดีอย่างไร เพื่อจะทำให้เขาได้คิดและตระหนักรู้ว่าไม่ควรทำอีก ซึ่งเป็นหัวใจหลักสำคัญเลยที่เราให้ลูกเข้าใจหลังจากที่ทำโทษแล้ว
.
แต่ถ้าสมมติลูกดันทำพฤติกรรมที่ไม่โอเคขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นการร้องไห้เสียงดัง ๆ เพื่อจะเอาของเล่นที่อยากได้ หรือดันมีพฤติกรรมที่ไม่น่ารัก ที่ส่งผลกระทบต่อการอยู่ร่วมกันกับเพื่อน ๆ หรือคนในสังคมอย่างการโกหก หรือการทะเลาะกับเพื่อนเพราะไม่สามารถแชร์ของเล่นร่วมกันได้ เราในฐานะคุณพ่อคุณแม่ ไม่ควรจะดุหรือลงโทษลูกเลยจริง ๆ เหรอ? – เชื่อว่าผู้ปกครองหลายท่านคงมีคำถามนี้อยู่ในใจ เพราะพวกเราก็ต่างรู้ว่าสิ่งนี้เป็นพฤติกรรมที่เราก็ไม่อยากให้เกิดขึ้นกับลูกของเราเลย เหมือนยิ่งสนับสนุนให้ลูกกลายเป็นเด็กเอาแต่ใจเสียด้วยซ้ำ แต่หากไม่สามารทำโทษหรือดุลูกได้เพราะมันคือการเลี้ยงลูกที่ไม่ดี การปล่อยให้ลูกทำพฤติกรรมแบบนี้ไปเรื่อย ๆ มันจะส่งผลดีต่อตัวเขา หรือแม้กระทั่งเราในระยะยาวจริง ๆ เหรอ? เพราะนอกจากมันเหมือนจะทำให้ลูกอาศัยอยู่ในสังคมอย่างยากลำบากแล้ว มันก็ดูเหมือนจะทำให้เรารู้สึกแย่กับตัวเองไปในอีกทิศทางหนึ่งเหมือนกัน เพราะก็คงไม่มีพ่อแม่คนไหนรู้สึกดีที่เห็นลูกเข้ากับคนอื่นไม่ได้เหมือนกัน
.
แล้วถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นมา เราในฐานะผู้ปกครอง สามารถลงโทษลูกของเราได้ไหม? หรือเราควรจะ handle กับลูกอย่างไรดีหากเจอสถานการณ์แบบนี้?
.
สามารถสั่งสอนหรือลงโทษได้ แต่ต้องหาวิธีที่ทำให้ลูกได้เรียนรู้จากผลของการกระทำจริง ๆ และไม่ควรใช้คำพูดหรือการกระทำที่รุนแรงที่ไม่ทำให้เกิดการเรียนรู้ – นี่คงเป็นคำตอบที่จะสามารถตอบคำถามข้างต้นได้ เพราะหากเรามองดี ๆ หัวใจหลักของการลงโทษคือการ “ลดการทำพฤติกรรมบางอย่างที่เราไม่อยากให้ลูกทำ” ซึ่งวิธีการที่ทำให้ได้มาซึ่งการลดพฤติกรรม อาจไม่จำเป็นที่จะต้องใช้การว่า การตี การใช้ความรุนแรงเพียงอย่างเดียว แต่เราสามารถ create วิธีการอื่น ๆ เพื่อทำให้ลูกลดการทำพฤติกรรมที่ไม่ควรทำลง
.
เช่น
#เพิกเฉย ไม่ตอบสนองกับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
การใช้วิธีนี้ จะทำให้เด็กได้เรียนรู้ว่า การทำพฤติกรรมแบบนี้ ไม่ได้ช่วยทำให้เขาได้หรือไม่ได้ในสิ่งที่เขาต้องการเพราะพ่อแม่ไม่ให้ความสนใจ และสุดท้ายทำให้เขาลดการทำพฤติกรรมนี้ลง
Example: พ่อแม่เพิกเฉยกับการที่ลูกร้องเสียงดังเพราะอยากให้พ่อแม่ซื้อของเล่นที่ตนอยากได้ (แทนการพยายามโอ๋และซื้อของที่เขาต้องการไปในที่สุด) ซึ่งในจุดนี้หากลูกเริ่มหยุดร้องแล้ว สามารถทำการชื่นชมหรือให้รางวัลกับลูกได้เช่นกัน เพื่อสนับสนุนให้ลูกทำพฤติกรรมที่ควรทำ (การไม่ร้องเสียงดัง) ต่อไป
.
Time-out #ให้เข้ามุมสงบเพื่อจัดการตัวเอง
การใช้วิธีจะนี้ทำให้เด็กรู้ว่าพ่อกับแม่ไม่โอเคกับการทำพฤติกรรมนี้ของตัวเอง และถือเป็นการลงโทษจากการงดให้เด็กทำพฤติกรรมที่ตนเองทำอยู่ เปลี่ยนเป็นไม่ให้ทำอะไรเลย และให้กลับมาสงบสติอารมณ์ กลับมาทาบทวนกับสิ่งที่ตนเองได้ทำลงไป เพื่อทำให้ใจเย็นลง โดยการ time-out ควรทำควบคู่กับการสื่อสารที่ดีเพื่อให้ลูกรู้ว่าเพราะอะไรถึงถูก time-out และสถานที่ในการสงบสติอารมณ์ควรเป็นสถานที่ที่เงียบ ปลอดภัย และไม่มีสิ่งที่รบกวนต่อการสงบสติอารมณ์ของเด็ก เช่น ของเล่น
Example: พ่อแม่ตัดสินใจบอกลูกให้เข้ามุมสงบ เนื่องจากลูกร้องเสียงอยากให้ซื้อของเล่นให้ และยังร้องต่อไม่หยุดแม้คุณพ่อคุณแม่จะพยายามพูดให้เข้าใจ พ่อแม่เลยบอกลูกให้ Time-out เพราะตอนนี้ลูกยังไม่พร้อมที่จะคุยกับพ่อแม่ เลยอยากให้ไปสงบสติอารมณ์ก่อน หากใจเย็นลงแล้วค่อยมาพูดคุยกัน
.
การสอนให้ลูกใช้ empathy #คิดในมุมของคนอื่นให้เขารู้ว่าการกระทำนี้ส่งผลเสียอย่างไร
อันนี้อาจเหมาะสำหรับเด็กที่โตขึ้นมาหน่อย เพราะการสอนแบบนี้ทำให้เด็กเข้าใจถึงผลเสียของการกระทำของตัวเอง และทำให้มีแรงจูงใจในการลดการกระทำนี้ด้วยตัวเองเช่นกัน
Example: ให้เด็กลองให้ความเห็นว่ารู้สึกอย่างไรถ้ามีน้อง แล้วน้องอยากให้ตนซื้อของเล่นให้ แต่พยายามเรียกร้องด้วยการร้องเสียงดัง ๆ หรือให้เด็กลองสะท้อนความรู้สึกว่า รู้สึกอย่างไรที่เห็นน้องร้องไห้เสียงดัง และอยากให้น้องทำอย่างไรกับตนเอง เพื่อทำให้เด็กเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นและลดพฤติกรรมนั้นลง
.
และนี่ก็คือตัวอย่างการลงโทษที่มีประสิทธิภาพในการสั่งสอนลูกของเรานะคะ ซึ่งหากผู้ปกครองท่านใดอยากลองศึกษาการลงโทษที่เหมาะสม ไม่สร้างรอยแผลทางใจให้ลูกหรือตัวเราเพิ่มเติม สามารถมาศึกษาเพิ่มเติมได้ฟรีเลยที่ www.netpama.com
.
เชื่อว่าชาวผู้ปกครองหลาย ๆ ท่านของเราคงเคยได้ยินกันมาบ้างว่าการเลี้ยงลูกที่ดีที่ถูกต้อง หรือเหมาะกับเด็ก ๆ สมัยนี้ คือไม่ควรที่จะทำโทษแรง ๆ หรือใช้วิธีการดุ ด่า ว่ากล่าว หรือตำหนิลูก เพราะการเลี้ยงดูแบบนี้สามารถสร้างผลเสียต่อเด็ก ๆ ในระยะยาวได้ อาจทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างเรากับเด็กห่างเหินขึ้น หรืออาจส่งผลทำให้เด็กมีปมด้อย รู้สึกไม่มั่นใจในตัวเองได้เช่นกัน อีกทั้งหากลองมองในมุมของผู้ปกครอง เวลาเราตำหนิหรือทำโทษลูก ๆ ของเราสักครั้งนึง มันก็คงสร้างตราบาปหรือความรู้สึกผิดที่ต้องทำกับพวกเรามาก ๆ เหมือนกัน เพราะก็คิดว่าไม่มีพ่อแม่คนไหน ที่อยากจะทำโทษลูกเหมือนกันหากไม่จำเป็น
.
ซึ่งใช่ค่ะ! ส่วนตัวแล้ว #คุณนายข้าวกล่อง เห็นด้วยอย่างมากเลยที่การลงโทษ ที่หมายถึงการตี หรือการใช้คำพูดหรือการกระทำที่รุนแรงในการสั่งสอนให้เด็กรู้จักผิดชอบชั่วดี เพราะการสั่งสอนด้วยวิธีนี้นอกจากจะดูจะไม่สมเหตุสมผลแล้ว การลงโทษด้วยการใช้ความรุนแรงยังทำให้เด็กไม่ได้เรียนรู้ถึงการกระทำของตัวเองอีกเช่นกันว่ามันไม่ดีอย่างไร เพื่อจะทำให้เขาได้คิดและตระหนักรู้ว่าไม่ควรทำอีก ซึ่งเป็นหัวใจหลักสำคัญเลยที่เราให้ลูกเข้าใจหลังจากที่ทำโทษแล้ว
.
แต่ถ้าสมมติลูกดันทำพฤติกรรมที่ไม่โอเคขึ้นมา ไม่ว่าจะเป็นการร้องไห้เสียงดัง ๆ เพื่อจะเอาของเล่นที่อยากได้ หรือดันมีพฤติกรรมที่ไม่น่ารัก ที่ส่งผลกระทบต่อการอยู่ร่วมกันกับเพื่อน ๆ หรือคนในสังคมอย่างการโกหก หรือการทะเลาะกับเพื่อนเพราะไม่สามารถแชร์ของเล่นร่วมกันได้ เราในฐานะคุณพ่อคุณแม่ ไม่ควรจะดุหรือลงโทษลูกเลยจริง ๆ เหรอ? – เชื่อว่าผู้ปกครองหลายท่านคงมีคำถามนี้อยู่ในใจ เพราะพวกเราก็ต่างรู้ว่าสิ่งนี้เป็นพฤติกรรมที่เราก็ไม่อยากให้เกิดขึ้นกับลูกของเราเลย เหมือนยิ่งสนับสนุนให้ลูกกลายเป็นเด็กเอาแต่ใจเสียด้วยซ้ำ แต่หากไม่สามารทำโทษหรือดุลูกได้เพราะมันคือการเลี้ยงลูกที่ไม่ดี การปล่อยให้ลูกทำพฤติกรรมแบบนี้ไปเรื่อย ๆ มันจะส่งผลดีต่อตัวเขา หรือแม้กระทั่งเราในระยะยาวจริง ๆ เหรอ? เพราะนอกจากมันเหมือนจะทำให้ลูกอาศัยอยู่ในสังคมอย่างยากลำบากแล้ว มันก็ดูเหมือนจะทำให้เรารู้สึกแย่กับตัวเองไปในอีกทิศทางหนึ่งเหมือนกัน เพราะก็คงไม่มีพ่อแม่คนไหนรู้สึกดีที่เห็นลูกเข้ากับคนอื่นไม่ได้เหมือนกัน
.
แล้วถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นมา เราในฐานะผู้ปกครอง สามารถลงโทษลูกของเราได้ไหม? หรือเราควรจะ handle กับลูกอย่างไรดีหากเจอสถานการณ์แบบนี้?
.
สามารถสั่งสอนหรือลงโทษได้ แต่ต้องหาวิธีที่ทำให้ลูกได้เรียนรู้จากผลของการกระทำจริง ๆ และไม่ควรใช้คำพูดหรือการกระทำที่รุนแรงที่ไม่ทำให้เกิดการเรียนรู้ – นี่คงเป็นคำตอบที่จะสามารถตอบคำถามข้างต้นได้ เพราะหากเรามองดี ๆ หัวใจหลักของการลงโทษคือการ “ลดการทำพฤติกรรมบางอย่างที่เราไม่อยากให้ลูกทำ” ซึ่งวิธีการที่ทำให้ได้มาซึ่งการลดพฤติกรรม อาจไม่จำเป็นที่จะต้องใช้การว่า การตี การใช้ความรุนแรงเพียงอย่างเดียว แต่เราสามารถ create วิธีการอื่น ๆ เพื่อทำให้ลูกลดการทำพฤติกรรมที่ไม่ควรทำลง
.
เช่น
#เพิกเฉย ไม่ตอบสนองกับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม
การใช้วิธีนี้ จะทำให้เด็กได้เรียนรู้ว่า การทำพฤติกรรมแบบนี้ ไม่ได้ช่วยทำให้เขาได้หรือไม่ได้ในสิ่งที่เขาต้องการเพราะพ่อแม่ไม่ให้ความสนใจ และสุดท้ายทำให้เขาลดการทำพฤติกรรมนี้ลง
Example: พ่อแม่เพิกเฉยกับการที่ลูกร้องเสียงดังเพราะอยากให้พ่อแม่ซื้อของเล่นที่ตนอยากได้ (แทนการพยายามโอ๋และซื้อของที่เขาต้องการไปในที่สุด) ซึ่งในจุดนี้หากลูกเริ่มหยุดร้องแล้ว สามารถทำการชื่นชมหรือให้รางวัลกับลูกได้เช่นกัน เพื่อสนับสนุนให้ลูกทำพฤติกรรมที่ควรทำ (การไม่ร้องเสียงดัง) ต่อไป
.
Time-out #ให้เข้ามุมสงบเพื่อจัดการตัวเอง
การใช้วิธีจะนี้ทำให้เด็กรู้ว่าพ่อกับแม่ไม่โอเคกับการทำพฤติกรรมนี้ของตัวเอง และถือเป็นการลงโทษจากการงดให้เด็กทำพฤติกรรมที่ตนเองทำอยู่ เปลี่ยนเป็นไม่ให้ทำอะไรเลย และให้กลับมาสงบสติอารมณ์ กลับมาทาบทวนกับสิ่งที่ตนเองได้ทำลงไป เพื่อทำให้ใจเย็นลง โดยการ time-out ควรทำควบคู่กับการสื่อสารที่ดีเพื่อให้ลูกรู้ว่าเพราะอะไรถึงถูก time-out และสถานที่ในการสงบสติอารมณ์ควรเป็นสถานที่ที่เงียบ ปลอดภัย และไม่มีสิ่งที่รบกวนต่อการสงบสติอารมณ์ของเด็ก เช่น ของเล่น
Example: พ่อแม่ตัดสินใจบอกลูกให้เข้ามุมสงบ เนื่องจากลูกร้องเสียงอยากให้ซื้อของเล่นให้ และยังร้องต่อไม่หยุดแม้คุณพ่อคุณแม่จะพยายามพูดให้เข้าใจ พ่อแม่เลยบอกลูกให้ Time-out เพราะตอนนี้ลูกยังไม่พร้อมที่จะคุยกับพ่อแม่ เลยอยากให้ไปสงบสติอารมณ์ก่อน หากใจเย็นลงแล้วค่อยมาพูดคุยกัน
.
การสอนให้ลูกใช้ empathy #คิดในมุมของคนอื่นให้เขารู้ว่าการกระทำนี้ส่งผลเสียอย่างไร
อันนี้อาจเหมาะสำหรับเด็กที่โตขึ้นมาหน่อย เพราะการสอนแบบนี้ทำให้เด็กเข้าใจถึงผลเสียของการกระทำของตัวเอง และทำให้มีแรงจูงใจในการลดการกระทำนี้ด้วยตัวเองเช่นกัน
Example: ให้เด็กลองให้ความเห็นว่ารู้สึกอย่างไรถ้ามีน้อง แล้วน้องอยากให้ตนซื้อของเล่นให้ แต่พยายามเรียกร้องด้วยการร้องเสียงดัง ๆ หรือให้เด็กลองสะท้อนความรู้สึกว่า รู้สึกอย่างไรที่เห็นน้องร้องไห้เสียงดัง และอยากให้น้องทำอย่างไรกับตนเอง เพื่อทำให้เด็กเข้าใจความรู้สึกของผู้อื่นและลดพฤติกรรมนั้นลง
.
และนี่ก็คือตัวอย่างการลงโทษที่มีประสิทธิภาพในการสั่งสอนลูกของเรานะคะ ซึ่งหากผู้ปกครองท่านใดอยากลองศึกษาการลงโทษที่เหมาะสม ไม่สร้างรอยแผลทางใจให้ลูกหรือตัวเราเพิ่มเติม สามารถมาศึกษาเพิ่มเติมได้ฟรีเลยที่ www.netpama.com

เน็ตป๊าม้า ขอแนะนำหลักสูตรออนไลน์ สอนเทคนิคเชิงบวกในการปรับพฤติกรรมเด็ก
คอร์สเร่งรัด
เหมาะสำหรับผู้ปกครองที่มีพื้นฐานการปรับพฤติกรรมเด็กเชิงบวกอยู่แล้ว
แต่ต้องการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมเด็กที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น
คอร์สจัดเต็ม
เหมาะสำหรับผู้ปกครองที่ต้องการเรียนรู้และฝึกใช้เทคนิคการปรับพฤติกรรมเด็ก
อย่างเป็นขั้นบันได เพื่อเตรียมพร้อมที่จะนำไปรับมือกับปัญหาพฤติกรรมเด็ก
อย่างมั่นใจ