window.dataLayer = window.dataLayer || []; function gtag(){dataLayer.push(arguments);} gtag('js', new Date()); gtag('config', 'G-HT69D45H8X');

เมื่อลูกขี้งอนโวยวายเอาแต่ใจ และการแก้ไขพฤติกรรมด้วยวิธีเชิงบวก

เมื่อ 1 สัปดาห์ที่แล้ว
#เมื่อลูกขี้งอนโวยวายเอาแต่ใจ และการแก้ไขพฤติกรรมด้วยวิธีเชิงบวก บทความโดย #มัมมี่Bชวนเมาท์
.
“ถ้าไม่หยุดโวยวาย แม่จะตีให้ตายเลย”
“งอนเก่งเอาแต่ใจตัวเองแบบนี้ พ่อไม่รักแล้ว”
”ถ้าตื๊อจะซื้อของเล่นอีก แม่จะทิ้งหนูไว้ตรงนี้”
.
ใครเคยใช้ประโยคเหล่านี้เวลาลูกดื้อ งอนเอาแต่ใจจนพ่อแม่ปวดหัวบ้าง เชื่อว่าหลายคนพูดไปเพราะไม่รู้ว่าต้องทำอย่างไร แค่ขู่ไม่ได้คิดจะทำอย่างนั้นกับลูกจริงๆ
.
#แม้พ่อแม่จะพูดโดยไม่ได้คิดแต่ลูกคิดทุกคำที่พ่อแม่พูด
.
การใช้อารมณ์หรือขู่ลูกว่า พ่อแม่ไม่รักหรือจะทิ้งเขาโดยเฉพาะในเด็กเล็กมีต่อผลต่อความมั่นคงทางใจของลูกอย่างมาก
.
ลูกจะซึมซับและเลียนแบบวิธีการตอบสนองของพ่อแม่ ยิ่งพูดบ่อยๆ จิตใจของลูกจะยิ่งสั่นคลอน “ฉันเป็นเด็กดื้อที่แม่ไม่รัก” กลายเป็นเด็กขาดความมั่นใจ ยิ่งเอาแต่ใจ ใช้วิธีการงอน โวยวายตี๊อ เพื่อเรียกร้องความรักความสนใจจากพ่อแม่อยู่เสมอ
.
พูดดีๆแล้วไม่ฟัง ขู่หรือตีลูกก็ไม่ได้ แล้วจะให้พ่อแม่ทำอย่างไร ?
.
วันนี้ #มัมมี่Bชวนเมาท์ มีข้อแนะนำในการใช้ #หลักการเลี้ยงลูกเชิงบวก ที่ใช้ได้ผลจริงเวลาลูกดื้อขี้งอน และเอาแต่ใจมาฝากค่ะ
.
การที่ลูกขี้งอนและเอาแต่ใจนั้นเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น พื้นอารมณ์ติดตัว การเลี้ยงดูที่ถูกตามใจจนเคยชิน ต้องการเรียกร้องความสนใจและทดสอบความสำคัญของตัวเองกับพ่อแม่ โดยเฉพาะในเด็กเล็กที่ยึดตัวเองเป็นศูนย์กลาง ยังไม่เข้าใจและไม่สามารถจัดการอารมณ์และความรู้สึกของตนเองได้
.
หลักของการเลี้ยงลูกเชิงบวกในเวลาลูกมีพฤติกรรมลบ คือ “#การเข้าใจแต่ไม่ตามใจ” Kind But Firm
.
พ่อแม่จะยอมรับและเข้าใจในทุกความรู้สึกของลูกแต่จะไม่ตามใจ โดยยึดมั่นในความถูกต้อง กฎหรือข้อตกลงร่วมกัน
.
เมื่อลูกโวยวายอาละวาด งอน เอาแต่ใจพ่อแม่จะใช้สติ #เพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีในการจัดการอารมณ์ให้กับลูก และใช้ #การเลี้ยงลูกเชิงบวก ปรับพฤติกรรมเอาแต่ใจของลูกได้ดังนี้
.
1. #ฝึกวินัยและกฎกติกาให้ลูกอย่างเหมาะสมตามวัย
กำหนดขอบเขตข้อตกลงให้ชัดเจน อะไรทำได้และไม่ได้ การมีวินัยจะทำให้ลูกเคารพในกฎกติกา อดทน รอคอยได้
.
(เริ่มศึกษาเพิ่มเติมได้ฟรีจาก บทที่ 1 ปัจจัยต่างๆในการปรับพฤติกรรมลูก https://www.netpama.com)
.
2. #ใช้การสื่อสารเชิงบวกกับลูก
ในเวลาที่ลูกงอนเอาแต่ใจ แทนที่การดุ ประชด ลงโทษ ด้วยการคุยกับลูกด้วยคำพูดเชิงบวก ฟังและสอนลูกด้วยเหตุผล สะท้อนอารมณ์และความรู้สึกของเขาเพื่อให้ลูกเข้าใจและเรียนรู้ที่จะจัดการอารมณ์ของตนเอง
.
แม้ไม่ตามใจแต่ลูกจะรู้สึกได้ว่าพ่อแม่เข้าใจ เป็นการคงความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน ทำให้ลูกยอมรับในเหตุผลและลดการต่อต้าน
.
”ถ้าลูกตื๊อจะเอาของเล่น แม่จะทิ้งหนูไว้ตรงนี้” ❌
“แม่เข้าใจว่าลูกโกรธเพราะอยากได้ของเล่น แต่เราตกลงกันว่าวันนี้เราจะไม่ซื้อนะครับ”
.
(ศึกษาเทคนิคการสื่อสารเชิงบวกได้ฟรีจาก บทที่ 2 เทคนิคการสื่อสาร https://www.netpama.com)
.
3. #ชื่นชมเมื่อลูกสามารถควบคุมตัวเองหรือมีพฤติกรรมที่ดี เพื่อเสริมแรงให้อยากทำซ้ำ และเพิกเฉยต่อพฤติกรรมลบ
.
สามารถใช้ #การให้รางวัล เพื่อเป็นกำลังใจ ให้ลูกอยากทำพฤติกรรมดีซ้ำ โดยรางวัลอาจเป็นคำชม ท่าทาง ภาษากาย เช่น ยิ้ม กอด โอบไหล่ ลูบหัว หรือทำกิจกรรมที่ลูกชอบร่วมกัน
.
#ตัวอย่างการเพิกเฉยเมื่อลูกมีพฤติกรรมลบ
“ไปไกลๆเลย แม่ไม่ชอบเด็กดื้อโวยวาย” ❌
“แม่เข้าใจว่าลูกหงุดหงิด แต่เงียบ/ โวยวายแบบนี้เราจะคุยกันไม่รู้เรื่อง ถ้าลูกรู้สึกดีขึ้นแล้วเรามาคุยกันดีๆนะ” ✅
.
#ตัวอย่างการชื่นชมเพื่อเสริมพฤติกรรมบวก
“โดนซะบ้าง ลูกถึงจะหยุดเอาแต่ใจได้” ❌
“เมื่อกี้ลูกโมโหมากแต่ก็ควบคุมตัวเองได้ แม่ภูมิใจในตัวหนูจัง” ✅
.
#ตัวอย่างการให้รางวัลเพื่ออยากให้ลูกทำพฤติกรรมดีซ้ำ
“ถ้าหยุดโวยวาย แม่จะให้กินขนม” ❌
แบบนี้ไม่ใช่การให้รางวัลแต่เป็นการติดสินบน ลูกจะจำว่า ครั้งหน้าถ้าเขาโวยวายอีกแม่ก็จะให้ขนมเพื่อหยุดเขา
“ลูกโกรธแต่ก็ไม่โวยวาย แม่ชื่นใจจริงๆ มาให้แม่กอดหน่อย คืนนี้แม่จะอ่านนิทานที่ลูกชอบเพิ่มอีกสองเล่มดีไม๊จ๊ะ” ✅
.
(ศึกษาวิธีการชม และ เทคนิคการให้รางวัลที่ถูกต้อง เพิ่มเติมได้ฟรีจาก บทที่ 3 เทคนิคการชม และ บทที่4 เทคนิคการให้รางวัล https://www.netpama.com)
.
4. #ให้ทางเลือกแทนการสั่งให้ทำ
ไม่มีใครชอบถูกบังคับ แทนที่การสั่งด้วยการให้ทางเลือกกับลูกในขอบเขตที่พ่อแม่กำหนด บอกความต้องการของพ่อแม่ด้วยเทคนิค ป๊าม๊า I-message โดยไม่ต้องต่อว่าหรือตำหนิลูก
.
(ศึกษาเทคนิค I message ได้ฟรีจาก บทที่ 2 เทคนิคการสื่อสาร https://www.netpama.com
.
การได้เลือกหรือตัดสินใจด้วยตัวเองจะทำให้ลูกรู้สึกว่า #พ่อแม่เคารพเขา ลูกจะเคารพพ่อแม่และกฎกติกาเช่นกัน
.
“แม่บอกให้หยุดเล่น ! ไปซ้อมเปียโนเดี๋ยวนี้” ❌
”แม่อยากให้ลูกซ้อมเปียโนให้แม่ฟัง ลูกอยากซ้อมเลยหรือเล่นต่ออีก 5 นาทีแล้วไปซ้อมเปียโนกันดีจ๊ะ” ✅
.
5. #เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูก
อยากให้ลูกหยุดขี้งอน โวยวาย ไม่เอาแต่ใจ พ่อแม่ก็ต้องไม่โวยวาย เอาแต่สั่งตามใจตัวเองหรือเงียบงอนใส่ลูกเช่นกัน
.
มาฝึกสติในการจัดการอารมณ์ และเรียนรู้หลักการเลี้ยงลูกเชิงบวกเพื่อเป็นตัวอย่างที่ดีให้ลูกกันนะคะ ♥️
.
ทุกบทเรียนข้างต้นได้ถูกรวบรวมไว้ในคอร์สจัดเต็ม #คอร์สonline จาก Net PAMA ที่สามารถนำไปปรับใช้ในทุกสถานการณ์ในชีวิตประจำวัน ซึ่งจัดทำโดยทีมจิตแพทย์เด็กและนักจิตวิทยา ที่ https://www.netpama.com/ มีทั้งคลิปวีดิโอเรื่องราว ตัวอย่างคำพูดที่สามารถนำไปใช้เลยได้จริง ทั้งหมดนี้เรียน #online ได้ฟรี! โดยไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ

Positive Parenting Anywhere Anytime มาเลี้ยงลูกเชิงบวกกับ 'เน็ตป๊าม้า' หลักสูตรออนไลน์สอนเทคนิคการปรับพฤติกรรมเด็กเชิงบวก

Empower Families, Enrich Societies
เสริมพลังครอบครัว, สร้างพลังสังคม


#Netpama #เน็ตป๊าม้า #คัมภีร์เลี้ยงลูกเชิงบวก #เลี้ยงลูกเชิงบวก
หมวดหมู่ทั้งหมด

NET PAMA