การได้ใช้เวลากับครอบครัวในช่วงเทศกาลแสนอบอุ่นและเฟสทีฟแห่งปีอย่างเทศกาล ‘คริสต์มาส’ ช่วยส่งเสริมสุขภาพจิตของเรา (และลูก) ได้ไหม?
เมื่อ 1 วันที่แล้ว
การได้ใช้เวลากับครอบครัวในช่วงเทศกาลแสนอบอุ่นและเฟสทีฟแห่งปีอย่างเทศกาล ‘คริสต์มาส’ ช่วยส่งเสริมสุขภาพจิตของเรา (และลูก) ได้ไหม?
.
เมื่อเริ่มก้าวเข้าสู่เดือนธันวาคม เชื่อว่านอกจากใครหลาย ๆ คนจะตั้งหน้าตั้งตารอที่จะได้พักผ่อนหรือไปเที่ยวกันรัว ๆ แล้ว (เพราะว่าวันหยุดเดือนนี้มันช่างเยอะเหลือเกิน!) พวกเราชาวไทยหลายคน แม้จะนับถือศาสนาพุทธเป็นศาสนาหลักก็ตาม ก็อาจกำลังใจจดใจจ่อที่จะได้เฉลิมฉลองเทศกาลสุดเฟสทีฟแห่งปี อย่างเทศกาล ‘คริสมาสต์’ อยู่เช่นเดียวกัน
.
และส่วนตัว #คุณนายข้าวกล่อง เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงจะตื่นตัวและตื่นเต้นกับเทศกาลนี้กันไม่น้อย (เห็นได้จากที่ห้างางสรรพสินค้าชื่อดังก็ล้วนพร้อมตั้งต้นคริสต์มาสสุดยิ่งใหญ่อลังการมาตั้งแต่ต้นเดือนที่แล้ว) เพราะนอกจากเทศกาลนี้จะเต็มไปสีสัน ของตกแต่งบ้านที่สวยงาม ของขวัญที่เยอะแยะเต็มไปหมด หรืออาหารและขนมแสนอร่อยแล้ว คริสต์มาสยังเป็นโมเมนต์ของการได้ใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัว ได้อยู่กับคนที่เรารักและรักเรา ทำให้เราได้รับทั้งความรักและความอบอุ่นจากพวกเขา และอาจกลายเป็นโมเมนต์ในชีวิตที่อาจช่วยฮีลใจสำหรับใครหลายได้ไม่น้อยเลยเช่นกัน
.
แต่หากพิจารณาในมุมของ #เรื่องเล่างานวิจัย เชิงจิตวิทยา เทศกาลคริสต์มาสสามารถช่วยฮีลใจหรือส่งเสริมสุขภาพจิตได้จริงไหม? วันนี้ #คุณนายข้าวกล่อง จะพาทุกคนมาหาคำตอบกัน เพราะอยากแอบสปอยล์ไว้ก่อนเลยว่าจากที่ได้อ่าน research มาแล้วนั้น มีหลาย fact ที่น่าสนใจ และบางข้อก็แอบขัดกับความคิดความเชื่อของตนเองที่มีอยู่ก่อนหน้ากับเทศกาลนี้อยู่ไม่น้อยเหมือนกัน
.
ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีงานวิจัยบางส่วนที่ชี้ให้เห็นว่าการใช้เวลาในเทศกาลคริสต์มาสสามารถช่วยเหลือสุขภาพจิตของเราได้จริง แต่ไม่ใช่ด้วยเหตุผลของความเป็นเทศกาลคริสต์มาสเสียทีเดียว แต่เพราะเทศกาลนี้ช่วยทำให้เราได้มีเวลา ‘รำลึกถึงเรื่องราวดี ๆ ในอดีต (feeling nostalgic)’ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ช่วยทำให้ทั้งเราและลูกมีจิตใจที่โอเคขึ้น เพราะการได้ใช้เวลาคิดถึงเรื่องราวในอดีตที่ดีช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้เรา เริ่มทำให้เราเห็นว่าอะไรคือสิ่งที่สำคัญหรือสิ่งที่ไม่สำคัญในชีวิตของเราบ้าง ทำให้เราไม่รู้สึก lost กับการใช้ชีวิต และสามารถค่อย ๆ เดินหน้าในการใช้ชีวิต (ที่อาจยากลำบากเหลือเกิน) ไปได้ดีขึ้น นอกจากนี้การรำลึกถึงอดีตเก่า ๆ ที่น่าจดจำมักจะทำให้เรารู้สึกอุ่นใจ เหมือนกับทำให้เราได้อยู่ในพื้นที่ปลอดภัยที่ช่วยปลอบประโลมจิตใจ ทำให้ช่วยลดความเครียดหรือความกังวลภายในจิตใจเราได้อีกด้วย
.
ยิ่งไปกว่านั้น นอกจากคริสต์มาสจะช่วยสร้างโอกาสให้เราได้รำลึกถึงเหตุการณ์ดี ๆ ในชีวิตที่ช่วยในการฮีลใจเราแล้ว การได้ใช้เฉลิมฉลองเทศกาลคริสต์มาสดูเหมือนจะช่วยเสริมสร้างให้เรามีความคิดความอ่านที่ดีขึ้นด้วยเช่นกัน สืบเนื่องจากงานวิจัยที่ค้นพบว่าบุคคลที่เคยเฉลิมฉลองเทศกาลนี้มีการทำงานของสมองที่แตกต่างจากคนที่ไม่เคยเฉลิมฉลองเทศกาลนี้อย่างมีนัยสำคัญ โดยพบว่าคนที่เคยเฉลิมฉลองเทศกาลคริสต์มาสมีการทำงานของสมองส่วนของ ‘การทำความเข้าใจผู้อื่น’ ที่เยอะกว่า รวมถึงดูมักจะเป็นคนที่ชอบสนับสนุนหรือส่งเสริมการทำบางสิ่งที่ใหญ่กว่าการทำเพื่อส่งเสริมตัวตน (self-transcendence) มากกว่าคนอื่นเพราะสมองที่บ่งบอกถึงการมีบุคลิกภาพแบบนี้ทำงานมากกว่า ผลการวิจัยนี้จึงอาจให้ข้อสังเกตว่าการเฉลิมฉลองเทศกาลนี้อาจส่งเสริมทำให้เราเป็นคน ‘เห็นแก่ผู้อื่น’ มากขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นคุณสมบัติที่ดีกับทั้งเราและเด็ก ๆ เลย เพราะมันสามารถทำให้เราสามารถอยู่กับผู้อื่นได้อย่างเป็นสุขมากขึ้น จากการที่เราสามารถมี empathy ต่อคนอื่นได้และใจกว้างมากพอที่พร้อมจะช่วยเหลือสังคมนอกเหนือจากการทำอะไรเพื่อตัวเอง การได้ใช้เวลาในเทศกาลนี้จึงสามารถเยียวยาและส่งเสริมทั้งสุขภาพจิตของเราได้ไม่น้อยเลย
.
อย่างไรก็ตาม เทศกาลนี้อาจไม่ได้สร้างผลดีสำหรับในบางคนเฉกเช่นเดียวกัน เพราะก็มีงานวิจัยที่บอกเหมือนกันว่ามีคนจำนวนมากที่ suffer กับการอยู่ในเทศกาลอันแสนอบอุ่นนี้เช่นกัน อ้างอิงจากงานวิจัยในกลุ่มคนยุโรปจำนวน 11 ประเทศ ที่พบว่าพวกเขาดูจะมีความพึงพอใจในการใช้ชีวิตที่ลดลงและพบเจอกับความรู้สึกแย่ (รู้สึกโดดเดี่ยว กังวล เศร้า และหดหู่) มากกว่าความรู้สึกดี (รู้สึกมีความสุข เอนจอยกับการใช้ชีวิต รู้สึกมีพลังในการใช้ชีวิต และรู้สึกสงบ) เมื่ออยู่ในช่วงเทศกาลคริสต์มาส (16 ธ.ค. – 31 ธ.ค.) หากเปรียบเทียบกับการใช้ชีวิตในช่วงเวลาอื่นนอกเหนือจากในเทศกาลนี้ ถึงแม้ว่าบุคคลที่เป็นคริสต์เตียน (Christian) จะเป็นกลุ่มคนที่ไม่เผชิญหน้ากับประสบการณ์นี้ก็ตามสืบเนื่องจากอิทธิพลความเชื่อทางศาสนาคริสต์ที่เกี่ยวข้องกับเทศกาลสามารถเป็นปัจจัยป้องกันที่ช่วยทำให้พวกเขาไม่รู้สึกแย่หรือไม่พอใจกับชีวิตในช่วงเทศกาลนี้ โดยงานวิจัยให้เหตุผลว่าสาเหตุที่ทำให้กลุ่มคนเหล่านี้ประสบกับความพึงพอใจที่น้อยลงและเจอกับอารมณ์เชิงลบในช่วงเทศกาลคริสต์มาสอาจเป็นเพราะว่าต้องกังวลกับการใช้จ่ายในเทศกาลนี้ที่ในปัจจุบันค่อนข้างวัตถุนิยม (ต้องซื้อนู่นนั่นนี่เต็มไปหมดเพราะคนอื่นเขามีกัน) รวมถึงรู้สึกกดดันด้านเวลาที่ต้องจัดเตรียมหลายสิ่งหลายอย่างสำหรับการเฉลิมฉลองเทศกาลนี้ และมองว่าการใช้เวลาในเทศกาลคริสต์มาสเป็นสถานการณ์การ ‘บังคับให้ต้องพบปะครอบครัวและญาติพี่น้อง’ (อาจอารมณ์คล้ายกับตรุษจีนหรือสงกรานต์บ้านเราที่เป็นเทศกาลครอบครัวที่จะต้องมาเจอกันในทุก ๆ ปี) มากกว่า เหมือนกับเป็นภาระผูกพันที่ต้องทำทั้ง ๆ ที่ในใจอาจรู้สึกฝืนหรือกระอักกระอ่วนที่ต้องเจอ
.
นอกจากนี้การทบทวนวรรณกรรมงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ยังได้พบอีกว่าคนส่วนใหญ่มีความรู้สึกแย่กับการอยู่ในเทศกาลนี้เพราะว่าภาพจำของเทศกาลคริสต์มาสดู ‘มีความสุขและอบอุ่นเกินความเป็นจริง’ ทำให้พวกเขาเหล่านี้อาจรู้สึกโดดเดี่ยว (เพราะไม่ได้มีครอบครัวที่อบอุ่นแบบภาพในอุดมคติที่ควรเป็น) รวมถึง suffer กับความรู้สึกกังวลและสิ้นหวังจากการคาดหวังถึงภาพการอยู่ในเทศกาลคริสต์มาสที่มากเกินความเป็นจริง ซึ่งความคิดความรู้สึกนี้ดูยิ่งสร้างผลกระทบมากขึ้นต่อกลุ่มคนที่ต้องอยู่คนเดียว หรือบุคคลที่ไม่ได้อยู่กับครอบครัวในช่วงเทศกาลคริสต์มาส แถมการทบทวนวรรณกรรมยังพบเจออีกว่าผู้คนดูจะใช้สารเสพติดกันเยอะขึ้นในช่วงเทศกาลนี้ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตในช่วงเทศกาลนี้ ถึงแม้ว่าจะพบอัตราการพยายามฆ่าตัวตายหรือทำร้ายตัวเองน้อยในช่วงเทศกาลนี้ก็ตาม
.
ยิ่งไปกว่านั้น หากโฟกัสไปที่กลุ่มเด็ก ๆ (ลูกน้อยของเรา) คุณ Rachel Melville-Thomas นักจิตบำบัดได้กล่าวว่าถึงแม้ว่าเด็ก ๆ อาจรู้สึกตื่นเต้นเพราะเป็นเทศกาลที่จะได้รับของขวัญจาก ‘ซานต้า’ แต่เทศกาลนี้ก็สามารถสร้างความกังวลใจต่อพวกเขาจากการต้องพบปะครอบครัวและญาติพี่น้องได้เช่นกัน เพราะพวกเขาอาจต้องรับแรงกดดันจากครอบครัว (ที่กลัวจะผิดหวังในตัวพวกเขาจากการเรียน) ทำให้ยิ่งกังวลกับเรื่องเรียนได้เช่นกัน หรือบางทีเด็ก ๆ ก็อาจประสบพบเจอกับความผิดหวังในเทศกาลนี้จากความคาดหวังที่สูงเกินไปกับเทศกาลนี้เหมือนกัน (ที่จะต้องได้ของขวัญดี ๆ ต้องได้กินอาหารอร่อย ๆ ฯลฯ) เธอจึงแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่อย่างเรา ‘เปิดใจและรับฟัง’ พวกเขาให้มาก ๆ รวมถึงพยายามดึงให้พวกเขากลับมาอยู่ในโลกความเป็นจริงให้มากที่สุดจากอธิบายถึงสถานการณ์การจัดงานเทศกาลคริสต์มาสปัจจุบัน (ที่อาจมีติดขัดเรื่องเงิน ทำให้ไม่สามารถจัดงานใหญ่โตหรือหรูหราได้) หรือพยายามชวนมองถึงวัตถุประสงค์หลักของเทศกาลนี้ให้มากขึ้น ว่ามันไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องของวัตถุภายนอกอย่างของขวัญ ต้นนคริสต์มาสใหญ่ ๆ ที่สวยงาม หรืออาหารอร่อย ๆ แต่มันคือเทศกาลที่ทำให้เราได้มีเวลาดี ๆ ร่วมกัน เป็นเวลาที่เราได้อยู่ในพื้นที่ปลอดภัย หรืออยู่รายล้อมผู้คนที่พร้อมจะเป็น support system ที่ดีของพวกเขาเมื่อเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ในชีวิต ทำให้เราสามารถผ่านพ้นไปได้
.
และนี่ก็คือ #เรื่องเล่างานวิจัย เกี่ยวกับคริสต์มาสและสุขภาพจิตของเราและครอบครัวที่ #คุณนายข้าวกล่อง เอามาฝากพวกเราชาวผู้ปกครองกันนะคะ ส่วนตัวค่อนข้างตกใจเหมือนกันที่เทศกาลคริสต์มาสสามารถสร้างผลกระทบเชิงลบต่อพวกเราได้ไม่น้อยเลย แถมสาเหตุที่ทำให้เกิดผลกระทบเชิงลบก็ดูจะเป็นเหตุผลใกล้ตัวที่ relate กับชีวิตพวกเราอย่างเข้าใจได้มาก ๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นประเด็นเรื่องความคาดหวังเกี่ยวกับเทศกาลที่อาจได้รับอิทธิพลของสื่อ ที่สร้างภาพจำที่ดู ‘magical และอบอุ่น’ เกินจริง หรือประเด็นของความรู้สึกไม่สบายใจที่เหมือนต้องไปเจอ ‘งานรวมญาติ’ เพราะต้องเผชิญหน้ากับความรู้สึกกดดันกลัวทำให้คนที่รักของเราเฟล ซึ่งส่วนตัวมองว่าประเด็นหลังพวกเราชาวผู้ปกครองสามารถมีส่วนช่วยที่ทำให้ลูกของเราดีขึ้นจากสถานการณ์นี้ได้เหมือนกัน ซึ่งจะสามารถช่วยได้อย่างไรนั้น ทุกคนสามารถลองเข้ามาศึกษาฟรีที่ www.netpama.com ได้เลยค่ะ
Positive Parenting Anywhere Anytime มาเลี้ยงลูกเชิงบวกกับ 'เน็ตป๊าม้า'
หลักสูตรออนไลน์สอนเทคนิคการปรับพฤติกรรมเด็กเชิงบวก
Empower Families, Enrich Societies
เสริมพลังครอบครัว, สร้างพลังสังคม
#NetPAMA #เน็ตป๊าม้า #เลี้ยงลูกเชิงบวก
.
อ้างอิง
Hougaard, A., Lindberg, U., Arngrim, N., Larsson, H. B., Olesen, J., Amin, F. M., ... & Haddock, B.
T. (2015). Evidence of a Christmas spirit network in the brain: functional MRI study. Bmj, 351. https://doi.org/10.1136/bmj.h6266
Mutz, M. (2016). Christmas and subjective well-being: A research note. Applied Research in
Quality of Life, 11(4), 1341-1356. DOI: 10.1007/s11482-015-9441-8.
Sansone, R. A., & Sansone, L. A. (2011). The Christmas effect on
psychopathology. Innovations in clinical neuroscience, 8(12), 10. https://pmc.ncbi.nlm.nih.gov/articles/PMC3257984/
https://childpsychotherapy.org.uk/.../how-talk-children...
https://www.apa.org/.../nostalgia-boosts-well-being...
.
เมื่อเริ่มก้าวเข้าสู่เดือนธันวาคม เชื่อว่านอกจากใครหลาย ๆ คนจะตั้งหน้าตั้งตารอที่จะได้พักผ่อนหรือไปเที่ยวกันรัว ๆ แล้ว (เพราะว่าวันหยุดเดือนนี้มันช่างเยอะเหลือเกิน!) พวกเราชาวไทยหลายคน แม้จะนับถือศาสนาพุทธเป็นศาสนาหลักก็ตาม ก็อาจกำลังใจจดใจจ่อที่จะได้เฉลิมฉลองเทศกาลสุดเฟสทีฟแห่งปี อย่างเทศกาล ‘คริสมาสต์’ อยู่เช่นเดียวกัน
.
และส่วนตัว #คุณนายข้าวกล่อง เชื่อว่าหลาย ๆ คนคงจะตื่นตัวและตื่นเต้นกับเทศกาลนี้กันไม่น้อย (เห็นได้จากที่ห้างางสรรพสินค้าชื่อดังก็ล้วนพร้อมตั้งต้นคริสต์มาสสุดยิ่งใหญ่อลังการมาตั้งแต่ต้นเดือนที่แล้ว) เพราะนอกจากเทศกาลนี้จะเต็มไปสีสัน ของตกแต่งบ้านที่สวยงาม ของขวัญที่เยอะแยะเต็มไปหมด หรืออาหารและขนมแสนอร่อยแล้ว คริสต์มาสยังเป็นโมเมนต์ของการได้ใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัว ได้อยู่กับคนที่เรารักและรักเรา ทำให้เราได้รับทั้งความรักและความอบอุ่นจากพวกเขา และอาจกลายเป็นโมเมนต์ในชีวิตที่อาจช่วยฮีลใจสำหรับใครหลายได้ไม่น้อยเลยเช่นกัน
.
แต่หากพิจารณาในมุมของ #เรื่องเล่างานวิจัย เชิงจิตวิทยา เทศกาลคริสต์มาสสามารถช่วยฮีลใจหรือส่งเสริมสุขภาพจิตได้จริงไหม? วันนี้ #คุณนายข้าวกล่อง จะพาทุกคนมาหาคำตอบกัน เพราะอยากแอบสปอยล์ไว้ก่อนเลยว่าจากที่ได้อ่าน research มาแล้วนั้น มีหลาย fact ที่น่าสนใจ และบางข้อก็แอบขัดกับความคิดความเชื่อของตนเองที่มีอยู่ก่อนหน้ากับเทศกาลนี้อยู่ไม่น้อยเหมือนกัน
.
ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีงานวิจัยบางส่วนที่ชี้ให้เห็นว่าการใช้เวลาในเทศกาลคริสต์มาสสามารถช่วยเหลือสุขภาพจิตของเราได้จริง แต่ไม่ใช่ด้วยเหตุผลของความเป็นเทศกาลคริสต์มาสเสียทีเดียว แต่เพราะเทศกาลนี้ช่วยทำให้เราได้มีเวลา ‘รำลึกถึงเรื่องราวดี ๆ ในอดีต (feeling nostalgic)’ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักที่ช่วยทำให้ทั้งเราและลูกมีจิตใจที่โอเคขึ้น เพราะการได้ใช้เวลาคิดถึงเรื่องราวในอดีตที่ดีช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้เรา เริ่มทำให้เราเห็นว่าอะไรคือสิ่งที่สำคัญหรือสิ่งที่ไม่สำคัญในชีวิตของเราบ้าง ทำให้เราไม่รู้สึก lost กับการใช้ชีวิต และสามารถค่อย ๆ เดินหน้าในการใช้ชีวิต (ที่อาจยากลำบากเหลือเกิน) ไปได้ดีขึ้น นอกจากนี้การรำลึกถึงอดีตเก่า ๆ ที่น่าจดจำมักจะทำให้เรารู้สึกอุ่นใจ เหมือนกับทำให้เราได้อยู่ในพื้นที่ปลอดภัยที่ช่วยปลอบประโลมจิตใจ ทำให้ช่วยลดความเครียดหรือความกังวลภายในจิตใจเราได้อีกด้วย
.
ยิ่งไปกว่านั้น นอกจากคริสต์มาสจะช่วยสร้างโอกาสให้เราได้รำลึกถึงเหตุการณ์ดี ๆ ในชีวิตที่ช่วยในการฮีลใจเราแล้ว การได้ใช้เฉลิมฉลองเทศกาลคริสต์มาสดูเหมือนจะช่วยเสริมสร้างให้เรามีความคิดความอ่านที่ดีขึ้นด้วยเช่นกัน สืบเนื่องจากงานวิจัยที่ค้นพบว่าบุคคลที่เคยเฉลิมฉลองเทศกาลนี้มีการทำงานของสมองที่แตกต่างจากคนที่ไม่เคยเฉลิมฉลองเทศกาลนี้อย่างมีนัยสำคัญ โดยพบว่าคนที่เคยเฉลิมฉลองเทศกาลคริสต์มาสมีการทำงานของสมองส่วนของ ‘การทำความเข้าใจผู้อื่น’ ที่เยอะกว่า รวมถึงดูมักจะเป็นคนที่ชอบสนับสนุนหรือส่งเสริมการทำบางสิ่งที่ใหญ่กว่าการทำเพื่อส่งเสริมตัวตน (self-transcendence) มากกว่าคนอื่นเพราะสมองที่บ่งบอกถึงการมีบุคลิกภาพแบบนี้ทำงานมากกว่า ผลการวิจัยนี้จึงอาจให้ข้อสังเกตว่าการเฉลิมฉลองเทศกาลนี้อาจส่งเสริมทำให้เราเป็นคน ‘เห็นแก่ผู้อื่น’ มากขึ้น ซึ่งถือว่าเป็นคุณสมบัติที่ดีกับทั้งเราและเด็ก ๆ เลย เพราะมันสามารถทำให้เราสามารถอยู่กับผู้อื่นได้อย่างเป็นสุขมากขึ้น จากการที่เราสามารถมี empathy ต่อคนอื่นได้และใจกว้างมากพอที่พร้อมจะช่วยเหลือสังคมนอกเหนือจากการทำอะไรเพื่อตัวเอง การได้ใช้เวลาในเทศกาลนี้จึงสามารถเยียวยาและส่งเสริมทั้งสุขภาพจิตของเราได้ไม่น้อยเลย
.
อย่างไรก็ตาม เทศกาลนี้อาจไม่ได้สร้างผลดีสำหรับในบางคนเฉกเช่นเดียวกัน เพราะก็มีงานวิจัยที่บอกเหมือนกันว่ามีคนจำนวนมากที่ suffer กับการอยู่ในเทศกาลอันแสนอบอุ่นนี้เช่นกัน อ้างอิงจากงานวิจัยในกลุ่มคนยุโรปจำนวน 11 ประเทศ ที่พบว่าพวกเขาดูจะมีความพึงพอใจในการใช้ชีวิตที่ลดลงและพบเจอกับความรู้สึกแย่ (รู้สึกโดดเดี่ยว กังวล เศร้า และหดหู่) มากกว่าความรู้สึกดี (รู้สึกมีความสุข เอนจอยกับการใช้ชีวิต รู้สึกมีพลังในการใช้ชีวิต และรู้สึกสงบ) เมื่ออยู่ในช่วงเทศกาลคริสต์มาส (16 ธ.ค. – 31 ธ.ค.) หากเปรียบเทียบกับการใช้ชีวิตในช่วงเวลาอื่นนอกเหนือจากในเทศกาลนี้ ถึงแม้ว่าบุคคลที่เป็นคริสต์เตียน (Christian) จะเป็นกลุ่มคนที่ไม่เผชิญหน้ากับประสบการณ์นี้ก็ตามสืบเนื่องจากอิทธิพลความเชื่อทางศาสนาคริสต์ที่เกี่ยวข้องกับเทศกาลสามารถเป็นปัจจัยป้องกันที่ช่วยทำให้พวกเขาไม่รู้สึกแย่หรือไม่พอใจกับชีวิตในช่วงเทศกาลนี้ โดยงานวิจัยให้เหตุผลว่าสาเหตุที่ทำให้กลุ่มคนเหล่านี้ประสบกับความพึงพอใจที่น้อยลงและเจอกับอารมณ์เชิงลบในช่วงเทศกาลคริสต์มาสอาจเป็นเพราะว่าต้องกังวลกับการใช้จ่ายในเทศกาลนี้ที่ในปัจจุบันค่อนข้างวัตถุนิยม (ต้องซื้อนู่นนั่นนี่เต็มไปหมดเพราะคนอื่นเขามีกัน) รวมถึงรู้สึกกดดันด้านเวลาที่ต้องจัดเตรียมหลายสิ่งหลายอย่างสำหรับการเฉลิมฉลองเทศกาลนี้ และมองว่าการใช้เวลาในเทศกาลคริสต์มาสเป็นสถานการณ์การ ‘บังคับให้ต้องพบปะครอบครัวและญาติพี่น้อง’ (อาจอารมณ์คล้ายกับตรุษจีนหรือสงกรานต์บ้านเราที่เป็นเทศกาลครอบครัวที่จะต้องมาเจอกันในทุก ๆ ปี) มากกว่า เหมือนกับเป็นภาระผูกพันที่ต้องทำทั้ง ๆ ที่ในใจอาจรู้สึกฝืนหรือกระอักกระอ่วนที่ต้องเจอ
.
นอกจากนี้การทบทวนวรรณกรรมงานวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ยังได้พบอีกว่าคนส่วนใหญ่มีความรู้สึกแย่กับการอยู่ในเทศกาลนี้เพราะว่าภาพจำของเทศกาลคริสต์มาสดู ‘มีความสุขและอบอุ่นเกินความเป็นจริง’ ทำให้พวกเขาเหล่านี้อาจรู้สึกโดดเดี่ยว (เพราะไม่ได้มีครอบครัวที่อบอุ่นแบบภาพในอุดมคติที่ควรเป็น) รวมถึง suffer กับความรู้สึกกังวลและสิ้นหวังจากการคาดหวังถึงภาพการอยู่ในเทศกาลคริสต์มาสที่มากเกินความเป็นจริง ซึ่งความคิดความรู้สึกนี้ดูยิ่งสร้างผลกระทบมากขึ้นต่อกลุ่มคนที่ต้องอยู่คนเดียว หรือบุคคลที่ไม่ได้อยู่กับครอบครัวในช่วงเทศกาลคริสต์มาส แถมการทบทวนวรรณกรรมยังพบเจออีกว่าผู้คนดูจะใช้สารเสพติดกันเยอะขึ้นในช่วงเทศกาลนี้ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการเสียชีวิตในช่วงเทศกาลนี้ ถึงแม้ว่าจะพบอัตราการพยายามฆ่าตัวตายหรือทำร้ายตัวเองน้อยในช่วงเทศกาลนี้ก็ตาม
.
ยิ่งไปกว่านั้น หากโฟกัสไปที่กลุ่มเด็ก ๆ (ลูกน้อยของเรา) คุณ Rachel Melville-Thomas นักจิตบำบัดได้กล่าวว่าถึงแม้ว่าเด็ก ๆ อาจรู้สึกตื่นเต้นเพราะเป็นเทศกาลที่จะได้รับของขวัญจาก ‘ซานต้า’ แต่เทศกาลนี้ก็สามารถสร้างความกังวลใจต่อพวกเขาจากการต้องพบปะครอบครัวและญาติพี่น้องได้เช่นกัน เพราะพวกเขาอาจต้องรับแรงกดดันจากครอบครัว (ที่กลัวจะผิดหวังในตัวพวกเขาจากการเรียน) ทำให้ยิ่งกังวลกับเรื่องเรียนได้เช่นกัน หรือบางทีเด็ก ๆ ก็อาจประสบพบเจอกับความผิดหวังในเทศกาลนี้จากความคาดหวังที่สูงเกินไปกับเทศกาลนี้เหมือนกัน (ที่จะต้องได้ของขวัญดี ๆ ต้องได้กินอาหารอร่อย ๆ ฯลฯ) เธอจึงแนะนำให้คุณพ่อคุณแม่อย่างเรา ‘เปิดใจและรับฟัง’ พวกเขาให้มาก ๆ รวมถึงพยายามดึงให้พวกเขากลับมาอยู่ในโลกความเป็นจริงให้มากที่สุดจากอธิบายถึงสถานการณ์การจัดงานเทศกาลคริสต์มาสปัจจุบัน (ที่อาจมีติดขัดเรื่องเงิน ทำให้ไม่สามารถจัดงานใหญ่โตหรือหรูหราได้) หรือพยายามชวนมองถึงวัตถุประสงค์หลักของเทศกาลนี้ให้มากขึ้น ว่ามันไม่ได้เกี่ยวกับเรื่องของวัตถุภายนอกอย่างของขวัญ ต้นนคริสต์มาสใหญ่ ๆ ที่สวยงาม หรืออาหารอร่อย ๆ แต่มันคือเทศกาลที่ทำให้เราได้มีเวลาดี ๆ ร่วมกัน เป็นเวลาที่เราได้อยู่ในพื้นที่ปลอดภัย หรืออยู่รายล้อมผู้คนที่พร้อมจะเป็น support system ที่ดีของพวกเขาเมื่อเผชิญกับปัญหาต่าง ๆ ในชีวิต ทำให้เราสามารถผ่านพ้นไปได้
.
และนี่ก็คือ #เรื่องเล่างานวิจัย เกี่ยวกับคริสต์มาสและสุขภาพจิตของเราและครอบครัวที่ #คุณนายข้าวกล่อง เอามาฝากพวกเราชาวผู้ปกครองกันนะคะ ส่วนตัวค่อนข้างตกใจเหมือนกันที่เทศกาลคริสต์มาสสามารถสร้างผลกระทบเชิงลบต่อพวกเราได้ไม่น้อยเลย แถมสาเหตุที่ทำให้เกิดผลกระทบเชิงลบก็ดูจะเป็นเหตุผลใกล้ตัวที่ relate กับชีวิตพวกเราอย่างเข้าใจได้มาก ๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นประเด็นเรื่องความคาดหวังเกี่ยวกับเทศกาลที่อาจได้รับอิทธิพลของสื่อ ที่สร้างภาพจำที่ดู ‘magical และอบอุ่น’ เกินจริง หรือประเด็นของความรู้สึกไม่สบายใจที่เหมือนต้องไปเจอ ‘งานรวมญาติ’ เพราะต้องเผชิญหน้ากับความรู้สึกกดดันกลัวทำให้คนที่รักของเราเฟล ซึ่งส่วนตัวมองว่าประเด็นหลังพวกเราชาวผู้ปกครองสามารถมีส่วนช่วยที่ทำให้ลูกของเราดีขึ้นจากสถานการณ์นี้ได้เหมือนกัน ซึ่งจะสามารถช่วยได้อย่างไรนั้น ทุกคนสามารถลองเข้ามาศึกษาฟรีที่ www.netpama.com ได้เลยค่ะ
Positive Parenting Anywhere Anytime มาเลี้ยงลูกเชิงบวกกับ 'เน็ตป๊าม้า'
หลักสูตรออนไลน์สอนเทคนิคการปรับพฤติกรรมเด็กเชิงบวก
Empower Families, Enrich Societies
เสริมพลังครอบครัว, สร้างพลังสังคม
#NetPAMA #เน็ตป๊าม้า #เลี้ยงลูกเชิงบวก
.
อ้างอิง
Hougaard, A., Lindberg, U., Arngrim, N., Larsson, H. B., Olesen, J., Amin, F. M., ... & Haddock, B.
T. (2015). Evidence of a Christmas spirit network in the brain: functional MRI study. Bmj, 351. https://doi.org/10.1136/bmj.h6266
Mutz, M. (2016). Christmas and subjective well-being: A research note. Applied Research in
Quality of Life, 11(4), 1341-1356. DOI: 10.1007/s11482-015-9441-8.
Sansone, R. A., & Sansone, L. A. (2011). The Christmas effect on
psychopathology. Innovations in clinical neuroscience, 8(12), 10. https://pmc.ncbi.nlm.nih.gov/articles/PMC3257984/
https://childpsychotherapy.org.uk/.../how-talk-children...
https://www.apa.org/.../nostalgia-boosts-well-being...
เน็ตป๊าม้า ขอแนะนำหลักสูตรออนไลน์ สอนเทคนิคเชิงบวกในการปรับพฤติกรรมเด็ก
คอร์สเร่งรัด
เหมาะสำหรับผู้ปกครองที่มีพื้นฐานการปรับพฤติกรรมเด็กเชิงบวกอยู่แล้ว
แต่ต้องการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมเด็กที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น
คอร์สจัดเต็ม
เหมาะสำหรับผู้ปกครองที่ต้องการเรียนรู้และฝึกใช้เทคนิคการปรับพฤติกรรมเด็ก
อย่างเป็นขั้นบันได เพื่อเตรียมพร้อมที่จะนำไปรับมือกับปัญหาพฤติกรรมเด็ก
อย่างมั่นใจ