เลี้ยงลูกให้เป็นเด็กคิดดีและมีความสุขได้ง่าย ๆ
เมื่อ 1 เดือนที่แล้ว
เลี้ยงลูกให้เป็นเด็กคิดดีและมีความสุขได้ง่าย ๆ บทความโดย #แม่มิ่ง
.
สำหรับพ่อแม่นั้น การที่ลูกเป็นเด็กที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ย่อมถือเป็นสิ่งที่ดีที่สุดแล้ว แต่ถ้าลูกเป็นเด็กที่เติบโตมาเป็นเด็กที่คิดดี คิดเป็น และมีความสุขกับสิ่งรอบตัวได้ง่าย ๆ ถือเป็นกำไรก็ว่าได้ แม้ว่าการเลี้ยงลูกจะไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว เพราะทุกครอบครัวมีบริบททางสังคมที่ต่างกันแต่ทุกคนสามารถเลี้ยงลูกให้เป็นเด็กคิดดี คิดเป็นและมีความสุขได้ เริ่มต้นที่ตัวเราเอง
เลี้ยงลูกให้เป็นเด็กคิดดีและมีความสุขได้ง่าย ๆ ทำได้ ดังนี้
.
#สื่อสารด้วยภาษาเชิงบวกบวก
ทำบ้านให้ลูกรู้สึกถึงความปลอดภัย (safe zone) มีอะไรพูดคุยกันได้ไม่ปิดบัง การสื่อสารระหว่างกันในครอบครัว การใช้ภาษาเชิงบวก เริ่มต้นจากการโฟกัสไปที่พฤติกรรมดีของลูก คำชมพฤติกรรมดีที่ลูกทำ เช่น
.
“แม่ดีใจที่ลูกโทรมาบอกแม่ว่าจะกลับเย็นเพราะซ้อมกีฬา แม่จะได้ไม่ต้องห่วง”
“ลูกมีน้ำใจดีจริง ๆ ขอบใจลูกมากนะที่ช่วยดูแลคุณยาย ทำให้แม่ออกไปทำธุระได้ไม่ต้องกังวล”
.
คำพูดที่โฟกัสไปที่การกระทำดี ทำให้ลูกได้เห็นถึงพฤติกรรมของตัวเองที่พ่อแม่ให้ความสำคัญ วิธีนี้จะช่วยให้ลูกมั่นใจในพฤติกรรมดีของตนเอง จูงใจให้ลูกหมั่นประพฤติดีเช่นนี้ต่อไป ลูกเกิดความภูมิใจ และความมั่นใจในตนเอง ดังนั้น การเลี้ยงลูกให้มีความสุข คุณพ่อคุณแม่จะต้องสร้างบรรยากาศให้บ้านเราพูดคุยกันได้ จะทำให้ลูกรู้สึกว่าพ่อแม่เป็นเซฟโซนที่เขาสามารถบอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ได้โดยไม่ต้องกังวลใจหรือเกรงกลัว
.
#ให้ความสำคัญที่ความพยายาม
คุณพ่อคุณแม่ที่ให้ความสำคัญกับความพยายามของลูกมากกว่าผลลัพธ์ มีส่วนทำให้ลูกเป็นเด็กคิดบวกและมีความสุขได้มากกว่า การให้ความสำคัญกับผลลัพธ์มากเกินไป โดยเฉพาะด้านการเรียน อาจเป็นการสร้างความกดดันให้ลูก หากคุณพ่อคุณแม่อยากเห็นลูกมีความสุข ควรชื่นชมในความพยายามของลูกมากกว่าตัดสินที่ผลลัพธ์
.
#บนโลกใบนี้ไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบ
ครอบครัวที่เลี้ยงลูกโดยมีจุดมุ่งหมายให้ลูกได้แต่สิ่งที่ดีที่สุดในชีวิต มักมีวิธีการเลี้ยงลูกแบบเข้มงวด กดดัน และเห็นความผิดพลาดเป็นเรื่องใหญ่ เพราะเชื่อว่าจะทำให้ลูกไปสู่จุดสูงสุด ซึ่งในความเป็นจริงแล้วโลกใบนี้ไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบ มีแต่ความพอเหมาะ พอดี และความเหมาะสม ดังนั้น พ่อแม่ควรปล่อยให้ลูกได้ทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเองแม้จะผิดพลาดบ้าง ล้มลุกคลุกคลานไปบ้าง แต่ลูกเกิดการเรียนรู้ พ่อแม่ที่ผ่อนคลาย ผ่อนปรน ยืดหยุ่นตามสถานการณ์ จะช่วยให้ลูกรู้สึกเป็นอิสระในการคิดและเรียนรู้ เป็นตัวของตัวเอง และมีความคิดสร้างสรรค์ เพราะลูกสามารถแสดงออกได้เต็มที่มากกว่าการถูกควบคุมหรือบังคับ พ่อแม่เองก็จะมีความสุขตามไปด้วยที่ได้เห็นความสำเร็จที่เกิดจากความพยายามของลูกอย่างแท้จริง
.
#เข้าใจตัวตนของลูก
ข้อนี้ใกล้เคียงกับการยอมรับในความไม่สมบูรณ์แบบ เพราะทุกคนย่อมมีทั้งข้อดี – ข้อเสีย ลูกของเราก็เช่นกัน เมื่อพ่อแม่รู้และเข้าใจ เปิดใจยอมรับข้อดี - ข้อเสีย โดยเฉพาะข้อเสีย ซึ่งจริงๆแล้ว ข้อนี้ใกล้เคียงกับการยอมรับความไม่สมบูรณ์แบบค่ะ ในแต่ละคนมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ลูกเราก็เช่นกัน เมื่อลูกมีทั้งข้อดีและข้อเสียในตัวเอง เมื่อพ่อแม่เปิดใจยอมรับ โดยเฉพาะข้อเสีย เราจะสามารถช่วยลูกปรับข้อเสียนั้นได้ เช่น ลูกโมโหร้าย พ่อแม่อาจช่วยลูกด้วยการชวนทำกิจกรรมที่ช่วยฝึกสมาธิ ฝึกการควบคุมอารณ์ เช่น งานศิลปะ งานประดิษฐ์ เล่นกีฬา หรือเกมช่วยฝึกสมาธิต่าง ๆ เป็นต้น
.
#ให้เวลาคุณภาพ
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า พ่อแม่ในยุคปัจจุบันแทบไม่ค่อยมีเวลาให้ลูกเต็มที่เท่าที่ควร แต่นั่นไม่ใช่ปัญหาหากเราสร้างเวลาคุณภาพร่วมกัน โดยในช่วงเวลาว่างคุณพ่อคุณแม่ทำกิจกรรมร่วมกับลูก หากไม่สะดวกเดินทางออกไปข้างนอกก็สามารถทำกิจกรรมร่วมกันภายในบ้านได้ เช่น ทำขนม ทำอาหาร เล่นบอร์ดเกม นั่งดูซีรีส์ด้วยกัน รวมไปถึงช่วยกันทำงานบ้าน ทำช่วงเวลาที่อาจมีไม่มากนักให้เป็นช่วงเวลาของความสุข ความรัก ความสามัคคี และสร้างสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัว
.
#เสริมสร้างกิจกรรมทางความทรงจำ
สมองของลูกทำงานอย่างเป็นระบบโดยการส่งต่อและเชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ สมองที่กำลังเติบโตจะเริ่มรับสิ่งเร้าเพื่อนำมาจัดเก็บเป็นข้อมูล ดังนั้น การสร้างความทรงจำดี ๆ ให้กับลูกเท่ากับการสร้างฐานข้อมูลที่ดีที่ช่วยให้สมองของลูกนำไปใช้และสร้างกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งเราอาจใช้กิจกรรมทางความทรงจำ (memories activities) กิจกรรมที่ช่วยพัฒนาไม่ใช่เพียงแค่ความทรงจำเท่านั้น แต่ยังรวมถึงทักษะการใช้ภาษา การใช้เหตุผล รวมถึงการปะติดปะต่อสถานการณ์เฉพาะหน้าต่าง ๆ ผ่านเกมการเล่น เช่น จิกซอว์ ครอสเวิร์ด ซูโดกุ บอร์ดเกม เป็นต้น จึงนับเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ช่วยเสริมสร้าง IQ และ EQ ให้ลูกได้อย่างสนุกสนานและมีประสิทธิภาพ
.
#พ่อแม่เลี้ยงลูกอย่างมีความสุข
ความสุขของลูกจะเกิดขึ้นได้ คือ คุณพ่อคุณแม่ต้องมีความสุขก่อน เพราะการเลี้ยงดูปลูกฝังให้ลูกเป็นคนคิดดี คิดเป็นและมีความสุขง่าย ๆ ได้นั้น พ่อแม่ต้องเป็นผู้เริ่มต้น การเรียนรู้ของลูกยังขึ้นอยู่กับอารมณ์และพฤติกรรมของพ่อแม่ หากพ่อแม่อารมณ์เสีย หงุดหงิด โมโหง่าย ให้ลูกเห็นบ่อย ๆ ก็อาจบ่มเพาะความวิตกกังวลในใจให้ลูกได้เช่นกัน ดังนั้น นอกเหนือจากการฝึกให้ลูกพัฒนาทักษะด้านอารมณ์ด้วยกิจกรรมต่าง ๆ พ่อแม่คือบุคคลสำคัญที่จะส่งมอบความสุขให้ลูกได้อย่างแท้จริง
ทริคการเลี้ยงลูกให้เป็นเด็กคิดดีและมีความสุขได้ง่าย ๆ เพราะความสุขเริ่มต้นที่ตัวเรา
.
สำหรับคุณพ่อคุณแม่ท่านใดที่ต้องการเลี้ยงลูกเชิงบวก การปรับพฤติกรรม เทคนิคการสื่อสาร การชม การให้รางวัลและการลงโทษ สามารถลงทะเบียนเรียนฟรีได้ที่ https://www.netpama.com/ ซึ่งคอร์สเรียนของเราถูกออกแบบโดยจิตแพทย์และนักจิตวิทยาเด็กและวัยรุ่น มีทั้งคลิปวิดีโอเรื่องราวต่าง ๆ ตัวอย่างคำพูดที่สามารถนำไปใช้ได้จริง ที่สำคัญเรียนฟรี!!! ด้วยนะคะ
#NetPAMA #เน็ตป๊าม้า #คัมภีร์เลี้ยงลูกเชิงบวก
.
สำหรับพ่อแม่นั้น การที่ลูกเป็นเด็กที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ย่อมถือเป็นสิ่งที่ดีที่สุดแล้ว แต่ถ้าลูกเป็นเด็กที่เติบโตมาเป็นเด็กที่คิดดี คิดเป็น และมีความสุขกับสิ่งรอบตัวได้ง่าย ๆ ถือเป็นกำไรก็ว่าได้ แม้ว่าการเลี้ยงลูกจะไม่มีกฎเกณฑ์ตายตัว เพราะทุกครอบครัวมีบริบททางสังคมที่ต่างกันแต่ทุกคนสามารถเลี้ยงลูกให้เป็นเด็กคิดดี คิดเป็นและมีความสุขได้ เริ่มต้นที่ตัวเราเอง
เลี้ยงลูกให้เป็นเด็กคิดดีและมีความสุขได้ง่าย ๆ ทำได้ ดังนี้
.
#สื่อสารด้วยภาษาเชิงบวกบวก
ทำบ้านให้ลูกรู้สึกถึงความปลอดภัย (safe zone) มีอะไรพูดคุยกันได้ไม่ปิดบัง การสื่อสารระหว่างกันในครอบครัว การใช้ภาษาเชิงบวก เริ่มต้นจากการโฟกัสไปที่พฤติกรรมดีของลูก คำชมพฤติกรรมดีที่ลูกทำ เช่น
.
“แม่ดีใจที่ลูกโทรมาบอกแม่ว่าจะกลับเย็นเพราะซ้อมกีฬา แม่จะได้ไม่ต้องห่วง”
“ลูกมีน้ำใจดีจริง ๆ ขอบใจลูกมากนะที่ช่วยดูแลคุณยาย ทำให้แม่ออกไปทำธุระได้ไม่ต้องกังวล”
.
คำพูดที่โฟกัสไปที่การกระทำดี ทำให้ลูกได้เห็นถึงพฤติกรรมของตัวเองที่พ่อแม่ให้ความสำคัญ วิธีนี้จะช่วยให้ลูกมั่นใจในพฤติกรรมดีของตนเอง จูงใจให้ลูกหมั่นประพฤติดีเช่นนี้ต่อไป ลูกเกิดความภูมิใจ และความมั่นใจในตนเอง ดังนั้น การเลี้ยงลูกให้มีความสุข คุณพ่อคุณแม่จะต้องสร้างบรรยากาศให้บ้านเราพูดคุยกันได้ จะทำให้ลูกรู้สึกว่าพ่อแม่เป็นเซฟโซนที่เขาสามารถบอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ได้โดยไม่ต้องกังวลใจหรือเกรงกลัว
.
#ให้ความสำคัญที่ความพยายาม
คุณพ่อคุณแม่ที่ให้ความสำคัญกับความพยายามของลูกมากกว่าผลลัพธ์ มีส่วนทำให้ลูกเป็นเด็กคิดบวกและมีความสุขได้มากกว่า การให้ความสำคัญกับผลลัพธ์มากเกินไป โดยเฉพาะด้านการเรียน อาจเป็นการสร้างความกดดันให้ลูก หากคุณพ่อคุณแม่อยากเห็นลูกมีความสุข ควรชื่นชมในความพยายามของลูกมากกว่าตัดสินที่ผลลัพธ์
.
#บนโลกใบนี้ไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบ
ครอบครัวที่เลี้ยงลูกโดยมีจุดมุ่งหมายให้ลูกได้แต่สิ่งที่ดีที่สุดในชีวิต มักมีวิธีการเลี้ยงลูกแบบเข้มงวด กดดัน และเห็นความผิดพลาดเป็นเรื่องใหญ่ เพราะเชื่อว่าจะทำให้ลูกไปสู่จุดสูงสุด ซึ่งในความเป็นจริงแล้วโลกใบนี้ไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบ มีแต่ความพอเหมาะ พอดี และความเหมาะสม ดังนั้น พ่อแม่ควรปล่อยให้ลูกได้ทำสิ่งต่าง ๆ ด้วยตนเองแม้จะผิดพลาดบ้าง ล้มลุกคลุกคลานไปบ้าง แต่ลูกเกิดการเรียนรู้ พ่อแม่ที่ผ่อนคลาย ผ่อนปรน ยืดหยุ่นตามสถานการณ์ จะช่วยให้ลูกรู้สึกเป็นอิสระในการคิดและเรียนรู้ เป็นตัวของตัวเอง และมีความคิดสร้างสรรค์ เพราะลูกสามารถแสดงออกได้เต็มที่มากกว่าการถูกควบคุมหรือบังคับ พ่อแม่เองก็จะมีความสุขตามไปด้วยที่ได้เห็นความสำเร็จที่เกิดจากความพยายามของลูกอย่างแท้จริง
.
#เข้าใจตัวตนของลูก
ข้อนี้ใกล้เคียงกับการยอมรับในความไม่สมบูรณ์แบบ เพราะทุกคนย่อมมีทั้งข้อดี – ข้อเสีย ลูกของเราก็เช่นกัน เมื่อพ่อแม่รู้และเข้าใจ เปิดใจยอมรับข้อดี - ข้อเสีย โดยเฉพาะข้อเสีย ซึ่งจริงๆแล้ว ข้อนี้ใกล้เคียงกับการยอมรับความไม่สมบูรณ์แบบค่ะ ในแต่ละคนมีทั้งข้อดีและข้อเสีย ลูกเราก็เช่นกัน เมื่อลูกมีทั้งข้อดีและข้อเสียในตัวเอง เมื่อพ่อแม่เปิดใจยอมรับ โดยเฉพาะข้อเสีย เราจะสามารถช่วยลูกปรับข้อเสียนั้นได้ เช่น ลูกโมโหร้าย พ่อแม่อาจช่วยลูกด้วยการชวนทำกิจกรรมที่ช่วยฝึกสมาธิ ฝึกการควบคุมอารณ์ เช่น งานศิลปะ งานประดิษฐ์ เล่นกีฬา หรือเกมช่วยฝึกสมาธิต่าง ๆ เป็นต้น
.
#ให้เวลาคุณภาพ
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่า พ่อแม่ในยุคปัจจุบันแทบไม่ค่อยมีเวลาให้ลูกเต็มที่เท่าที่ควร แต่นั่นไม่ใช่ปัญหาหากเราสร้างเวลาคุณภาพร่วมกัน โดยในช่วงเวลาว่างคุณพ่อคุณแม่ทำกิจกรรมร่วมกับลูก หากไม่สะดวกเดินทางออกไปข้างนอกก็สามารถทำกิจกรรมร่วมกันภายในบ้านได้ เช่น ทำขนม ทำอาหาร เล่นบอร์ดเกม นั่งดูซีรีส์ด้วยกัน รวมไปถึงช่วยกันทำงานบ้าน ทำช่วงเวลาที่อาจมีไม่มากนักให้เป็นช่วงเวลาของความสุข ความรัก ความสามัคคี และสร้างสัมพันธภาพที่ดีในครอบครัว
.
#เสริมสร้างกิจกรรมทางความทรงจำ
สมองของลูกทำงานอย่างเป็นระบบโดยการส่งต่อและเชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ สมองที่กำลังเติบโตจะเริ่มรับสิ่งเร้าเพื่อนำมาจัดเก็บเป็นข้อมูล ดังนั้น การสร้างความทรงจำดี ๆ ให้กับลูกเท่ากับการสร้างฐานข้อมูลที่ดีที่ช่วยให้สมองของลูกนำไปใช้และสร้างกระบวนการเรียนรู้ ซึ่งเราอาจใช้กิจกรรมทางความทรงจำ (memories activities) กิจกรรมที่ช่วยพัฒนาไม่ใช่เพียงแค่ความทรงจำเท่านั้น แต่ยังรวมถึงทักษะการใช้ภาษา การใช้เหตุผล รวมถึงการปะติดปะต่อสถานการณ์เฉพาะหน้าต่าง ๆ ผ่านเกมการเล่น เช่น จิกซอว์ ครอสเวิร์ด ซูโดกุ บอร์ดเกม เป็นต้น จึงนับเป็นอีกหนึ่งกิจกรรมที่ช่วยเสริมสร้าง IQ และ EQ ให้ลูกได้อย่างสนุกสนานและมีประสิทธิภาพ
.
#พ่อแม่เลี้ยงลูกอย่างมีความสุข
ความสุขของลูกจะเกิดขึ้นได้ คือ คุณพ่อคุณแม่ต้องมีความสุขก่อน เพราะการเลี้ยงดูปลูกฝังให้ลูกเป็นคนคิดดี คิดเป็นและมีความสุขง่าย ๆ ได้นั้น พ่อแม่ต้องเป็นผู้เริ่มต้น การเรียนรู้ของลูกยังขึ้นอยู่กับอารมณ์และพฤติกรรมของพ่อแม่ หากพ่อแม่อารมณ์เสีย หงุดหงิด โมโหง่าย ให้ลูกเห็นบ่อย ๆ ก็อาจบ่มเพาะความวิตกกังวลในใจให้ลูกได้เช่นกัน ดังนั้น นอกเหนือจากการฝึกให้ลูกพัฒนาทักษะด้านอารมณ์ด้วยกิจกรรมต่าง ๆ พ่อแม่คือบุคคลสำคัญที่จะส่งมอบความสุขให้ลูกได้อย่างแท้จริง
ทริคการเลี้ยงลูกให้เป็นเด็กคิดดีและมีความสุขได้ง่าย ๆ เพราะความสุขเริ่มต้นที่ตัวเรา
.
สำหรับคุณพ่อคุณแม่ท่านใดที่ต้องการเลี้ยงลูกเชิงบวก การปรับพฤติกรรม เทคนิคการสื่อสาร การชม การให้รางวัลและการลงโทษ สามารถลงทะเบียนเรียนฟรีได้ที่ https://www.netpama.com/ ซึ่งคอร์สเรียนของเราถูกออกแบบโดยจิตแพทย์และนักจิตวิทยาเด็กและวัยรุ่น มีทั้งคลิปวิดีโอเรื่องราวต่าง ๆ ตัวอย่างคำพูดที่สามารถนำไปใช้ได้จริง ที่สำคัญเรียนฟรี!!! ด้วยนะคะ
#NetPAMA #เน็ตป๊าม้า #คัมภีร์เลี้ยงลูกเชิงบวก
เน็ตป๊าม้า ขอแนะนำหลักสูตรออนไลน์ สอนเทคนิคเชิงบวกในการปรับพฤติกรรมเด็ก
คอร์สเร่งรัด
เหมาะสำหรับผู้ปกครองที่มีพื้นฐานการปรับพฤติกรรมเด็กเชิงบวกอยู่แล้ว
แต่ต้องการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมเด็กที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น
คอร์สจัดเต็ม
เหมาะสำหรับผู้ปกครองที่ต้องการเรียนรู้และฝึกใช้เทคนิคการปรับพฤติกรรมเด็ก
อย่างเป็นขั้นบันได เพื่อเตรียมพร้อมที่จะนำไปรับมือกับปัญหาพฤติกรรมเด็ก
อย่างมั่นใจ