อย่าลืมชมลูก ในวันที่เขารู้สึกว่าตัวเองยังดีไม่พอ
เมื่อ 8 เดือนที่แล้ว
ถอดบทเรียนผ่านตัวละคร “จิว” THE BROKEN BOND เด็กดีมีปัญหา ตอน "คนผิด"(สามารถรับชมซีรีส์ได้ที่นี่ : THE BROKEN BOND เด็กดีมีปัญหา ตอน "คนผิด")
จิว : “พ่อจำครั้งสุดท้ายที่พ่อบอกรักจิวได้มั้ย หรือว่านานเท่าไหร่แล้วที่พ่อไม่ได้เอ่ยปากชมจิว”
พ่อ : “พ่อแค่ต้องการให้จิวโตมาแล้วได้ดี มีการมีงานที่ดี”
จิว : “แล้วถ้าจิวเป็นได้แค่นี้ล่ะพ่อ ถ้าจิวเก่งได้แค่นี้ จิวจะเป็นคนเก่งที่สุดของพ่อได้ไหม ถ้าจิวแค่อยากเป็นจิว”
.
ความรู้สึกของจิว ที่สะท้อนเรื่องราวผ่านตัวละครของ “หัวอกคนเป็นลูก” เค้ามักรู้สึกว่าตัวเอง ‘ไม่เคยดีพอ’ ไม่เคยเก่งพอในสายตาของพ่อและแม่ หรือเป็นเพราะเค้าเติบโตมาในครอบครัวที่ ‘ไม่เคยชื่นชมกันเลย?’
.
#ความรู้สึกว่าตัวเองดีไม่พอ
เด็กทุกคนมักต้องการความสนใจและการตอบสนอง เมื่อเค้าพยายามทำสิ่งที่ดีและเหมาะสม แต่พ่อแม่ไม่ได้ตอบสนองหรือชื่นชมในตัวเค้า เด็กอาจตีความหมายของการตอบสนองนั้นว่า สิ่งที่เค้าทำไม่ใช่สิ่งที่พ่อและแม่สนใจ ภูมิใจ และนั่นยังดีไม่พอในสายตาพ่อแม่ เมื่อเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า ไม่ว่าเค้าจะพยายามทำสิ่งที่ดีมากแค่ไหน ไม่ว่าเรื่องเล็กน้อยหรือเรื่องใหญ่ เด็กบางคนอาจเริ่มรู้สึกเหนื่อย รู้สึกท้อกับสิ่งที่เค้าทำอยู่ และสุดท้ายเค้าอาจเลิกทำสิ่งนั้นไปตลอด
.
#ความสงสัยในใจที่มีต่อความรักที่พ่อแม่มอบให้
เมื่อคนเป็นพ่อและแม่ตำหนิเค้ามากกว่าชื่นชม เด็กอาจจะเกิดการตั้งคำถามขึ้นว่า พ่อและแม่รักเค้าจริงไหม เพราะแต่ละวัน ไม่ว่าลูกจะทำอะไร พ่อแม่มักคอยจ้องจับผิดและตำหนิเค้าอยู่ตลอดเวลา แต่พอเมื่อเค้าทำสิ่งที่ดี ก็ไม่เคยเอ่ยปากชมเค้าเลย ถึงแม้ว่าพ่อและแม่จะรู้ในใจว่ารักลูกสุดหัวใจ และที่ทำไปคือความหวังดี แต่สำหรับเด็กแล้ว ความรักที่เค้าสามารถสัมผัสได้จริง ต้องมาจากการกระทำและคำพูดของคนเป็นพ่อและแม่ ไม่ใช่สิ่งที่พ่อแม่คิดในใจ
.
#ความสงสัยถึงสิ่งที่ตนเองทำ
คุณพ่อและคุณแม่อย่าลืมว่าลูกของเราเค้าเพิ่งลองใช้ชีวิตบนโลกนี้เพียงไม่กี่ปี บางครั้งพวกเค้าก็ยังแยกแยะไม่ได้ว่า สิ่งไหนถูก สิ่งไหนผิด สิ่งไหนดีหรือไม่ดี เค้ารู้แค่เพียงว่า สิ่งไหนที่พ่อแม่ ผู้ปกครองให้การยอมรับ และให้ความสนใจ สิ่งนั้นคือสิ่งที่ตัวเค้าสมควรทำ ดังนั้นเมื่อเค้าทำสิ่งที่ดีและเหมาะสม แต่พ่อแม่ไม่ชื่นชม ไม่สนใจ หรือชมลูกในใจ ไม่กล้าแสดงออกมา เด็กอาจสับสนได้ว่า ‘ตกลงแล้วสิ่งที่เค้าทำมันดีพอและเหมาะสมแล้วหรือยัง’
.
#ไม่รู้ว่าต้องชมผู้อื่นอย่างไร
เด็กที่เติบโตมาในครอบครัวที่ไม่เคยชื่นชมเค้าเลย เมื่อเค้าเข้าสู่สังคม อย่างเช่นสังคมในโรงเรียน เมื่อเค้าเจอกับเพื่อนๆ ได้ลองทำงานร่วมกับผู้อื่น เมื่อเพื่อนทำสิ่งดีๆ ให้กับเค้า เค้าก็อาจไม่รู้ว่าควรจะตอบสนองเพื่อนอย่างไร ทำให้การเข้าสังคมกับเพื่อนที่โรงเรียนเป็นเรื่องยากลำบากสำหรับเค้า
.
#เปลี่ยนคำตำหนิเป็นคำชื่นชม(ที่ไม่กดดันลูก)
สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ไม่รู้จะเริ่มอย่างไรดี วันนี้เราลองค่อยๆ มาปรับคำพูดกันค่ะ
.
ยกตัวอย่างเช่น
“วันนี้ไปเรียนเป็นไงบ้าง ถ้าเหนื่อยก็ ‘พักก่อนได้นะ’ ลูก”
“ลูกอ่านหนังสือสอบหนักเลย แม่ ‘เอาใจช่วย’ เต็มที่”
“ผลสอบไม่ดี ก็ลองใหม่ได้ ถึงยังไงแม่ก็ ‘ภูมิใจ’ ที่ลูกพยายาม”
“ถึงวันนี้ลูกจะแข่งกีฬาแพ้ แต่พ่อและแม่ ‘เห็นถึงความตั้งใจ’ ของลูกนะ”
.
หากพ่อแม่และผู้ปกครองท่านใด อยากเริ่มปรับเปลี่ยนคำพูด และสนใจการเลี้ยงลูกแบบเชิงบวกอย่างเจาะลึกสามารถลงทะเบียนเรียนฟรีได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายที่ https://www.netpama.com ได้เลยค่ะ เพราะสุดท้ายแล้วการได้รับคำชื่นชมจากพ่อและแม่ ถือเป็น ‘คำวิเศษ’ เปรียบเสมือนกับพรที่พ่อและแม่สามารถมอบให้กับลูกของตัวเองได้ เด็กที่ได้รับพรข้อนี้เค้าจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มองเห็นคุณค่าในตัวเอง และเห็นคุณค่าในตัวผู้อื่น เมื่อโตขึ้นเค้าจะสามารถใช้ชีวิตในสังคมได้อย่าง ‘เข้าใจ’ และ ‘มีความสุข’
.
Net PAMA ขอเป็นกำลังใจให้กับทุกครอบครัวค่ะ
.
บทความโดย น้องตัวกลม
จิว : “พ่อจำครั้งสุดท้ายที่พ่อบอกรักจิวได้มั้ย หรือว่านานเท่าไหร่แล้วที่พ่อไม่ได้เอ่ยปากชมจิว”
พ่อ : “พ่อแค่ต้องการให้จิวโตมาแล้วได้ดี มีการมีงานที่ดี”
จิว : “แล้วถ้าจิวเป็นได้แค่นี้ล่ะพ่อ ถ้าจิวเก่งได้แค่นี้ จิวจะเป็นคนเก่งที่สุดของพ่อได้ไหม ถ้าจิวแค่อยากเป็นจิว”
.
ความรู้สึกของจิว ที่สะท้อนเรื่องราวผ่านตัวละครของ “หัวอกคนเป็นลูก” เค้ามักรู้สึกว่าตัวเอง ‘ไม่เคยดีพอ’ ไม่เคยเก่งพอในสายตาของพ่อและแม่ หรือเป็นเพราะเค้าเติบโตมาในครอบครัวที่ ‘ไม่เคยชื่นชมกันเลย?’
.
#ความรู้สึกว่าตัวเองดีไม่พอ
เด็กทุกคนมักต้องการความสนใจและการตอบสนอง เมื่อเค้าพยายามทำสิ่งที่ดีและเหมาะสม แต่พ่อแม่ไม่ได้ตอบสนองหรือชื่นชมในตัวเค้า เด็กอาจตีความหมายของการตอบสนองนั้นว่า สิ่งที่เค้าทำไม่ใช่สิ่งที่พ่อและแม่สนใจ ภูมิใจ และนั่นยังดีไม่พอในสายตาพ่อแม่ เมื่อเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า ไม่ว่าเค้าจะพยายามทำสิ่งที่ดีมากแค่ไหน ไม่ว่าเรื่องเล็กน้อยหรือเรื่องใหญ่ เด็กบางคนอาจเริ่มรู้สึกเหนื่อย รู้สึกท้อกับสิ่งที่เค้าทำอยู่ และสุดท้ายเค้าอาจเลิกทำสิ่งนั้นไปตลอด
.
#ความสงสัยในใจที่มีต่อความรักที่พ่อแม่มอบให้
เมื่อคนเป็นพ่อและแม่ตำหนิเค้ามากกว่าชื่นชม เด็กอาจจะเกิดการตั้งคำถามขึ้นว่า พ่อและแม่รักเค้าจริงไหม เพราะแต่ละวัน ไม่ว่าลูกจะทำอะไร พ่อแม่มักคอยจ้องจับผิดและตำหนิเค้าอยู่ตลอดเวลา แต่พอเมื่อเค้าทำสิ่งที่ดี ก็ไม่เคยเอ่ยปากชมเค้าเลย ถึงแม้ว่าพ่อและแม่จะรู้ในใจว่ารักลูกสุดหัวใจ และที่ทำไปคือความหวังดี แต่สำหรับเด็กแล้ว ความรักที่เค้าสามารถสัมผัสได้จริง ต้องมาจากการกระทำและคำพูดของคนเป็นพ่อและแม่ ไม่ใช่สิ่งที่พ่อแม่คิดในใจ
.
#ความสงสัยถึงสิ่งที่ตนเองทำ
คุณพ่อและคุณแม่อย่าลืมว่าลูกของเราเค้าเพิ่งลองใช้ชีวิตบนโลกนี้เพียงไม่กี่ปี บางครั้งพวกเค้าก็ยังแยกแยะไม่ได้ว่า สิ่งไหนถูก สิ่งไหนผิด สิ่งไหนดีหรือไม่ดี เค้ารู้แค่เพียงว่า สิ่งไหนที่พ่อแม่ ผู้ปกครองให้การยอมรับ และให้ความสนใจ สิ่งนั้นคือสิ่งที่ตัวเค้าสมควรทำ ดังนั้นเมื่อเค้าทำสิ่งที่ดีและเหมาะสม แต่พ่อแม่ไม่ชื่นชม ไม่สนใจ หรือชมลูกในใจ ไม่กล้าแสดงออกมา เด็กอาจสับสนได้ว่า ‘ตกลงแล้วสิ่งที่เค้าทำมันดีพอและเหมาะสมแล้วหรือยัง’
.
#ไม่รู้ว่าต้องชมผู้อื่นอย่างไร
เด็กที่เติบโตมาในครอบครัวที่ไม่เคยชื่นชมเค้าเลย เมื่อเค้าเข้าสู่สังคม อย่างเช่นสังคมในโรงเรียน เมื่อเค้าเจอกับเพื่อนๆ ได้ลองทำงานร่วมกับผู้อื่น เมื่อเพื่อนทำสิ่งดีๆ ให้กับเค้า เค้าก็อาจไม่รู้ว่าควรจะตอบสนองเพื่อนอย่างไร ทำให้การเข้าสังคมกับเพื่อนที่โรงเรียนเป็นเรื่องยากลำบากสำหรับเค้า
.
#เปลี่ยนคำตำหนิเป็นคำชื่นชม(ที่ไม่กดดันลูก)
สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ไม่รู้จะเริ่มอย่างไรดี วันนี้เราลองค่อยๆ มาปรับคำพูดกันค่ะ
.
ยกตัวอย่างเช่น
“วันนี้ไปเรียนเป็นไงบ้าง ถ้าเหนื่อยก็ ‘พักก่อนได้นะ’ ลูก”
“ลูกอ่านหนังสือสอบหนักเลย แม่ ‘เอาใจช่วย’ เต็มที่”
“ผลสอบไม่ดี ก็ลองใหม่ได้ ถึงยังไงแม่ก็ ‘ภูมิใจ’ ที่ลูกพยายาม”
“ถึงวันนี้ลูกจะแข่งกีฬาแพ้ แต่พ่อและแม่ ‘เห็นถึงความตั้งใจ’ ของลูกนะ”
.
หากพ่อแม่และผู้ปกครองท่านใด อยากเริ่มปรับเปลี่ยนคำพูด และสนใจการเลี้ยงลูกแบบเชิงบวกอย่างเจาะลึกสามารถลงทะเบียนเรียนฟรีได้โดยไม่มีค่าใช้จ่ายที่ https://www.netpama.com ได้เลยค่ะ เพราะสุดท้ายแล้วการได้รับคำชื่นชมจากพ่อและแม่ ถือเป็น ‘คำวิเศษ’ เปรียบเสมือนกับพรที่พ่อและแม่สามารถมอบให้กับลูกของตัวเองได้ เด็กที่ได้รับพรข้อนี้เค้าจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ที่มองเห็นคุณค่าในตัวเอง และเห็นคุณค่าในตัวผู้อื่น เมื่อโตขึ้นเค้าจะสามารถใช้ชีวิตในสังคมได้อย่าง ‘เข้าใจ’ และ ‘มีความสุข’
.
Net PAMA ขอเป็นกำลังใจให้กับทุกครอบครัวค่ะ
.
บทความโดย น้องตัวกลม
เน็ตป๊าม้า ขอแนะนำหลักสูตรออนไลน์ สอนเทคนิคเชิงบวกในการปรับพฤติกรรมเด็ก
คอร์สเร่งรัด
เหมาะสำหรับผู้ปกครองที่มีพื้นฐานการปรับพฤติกรรมเด็กเชิงบวกอยู่แล้ว
แต่ต้องการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมเด็กที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น
คอร์สจัดเต็ม
เหมาะสำหรับผู้ปกครองที่ต้องการเรียนรู้และฝึกใช้เทคนิคการปรับพฤติกรรมเด็ก
อย่างเป็นขั้นบันได เพื่อเตรียมพร้อมที่จะนำไปรับมือกับปัญหาพฤติกรรมเด็ก
อย่างมั่นใจ