window.dataLayer = window.dataLayer || []; function gtag(){dataLayer.push(arguments);} gtag('js', new Date()); gtag('config', 'G-HT69D45H8X');

ในวันที่ลูกก้าวร้าว...เขากำลังตะโกนขอความช่วยเหลือจากเราอยู่

เมื่อ 9 เดือนที่แล้ว

ไม่ว่าจะวัยไหน ความก้าวร้าวของลูกคือปัญหาเจ็บปวดที่สุดสำหรับพ่อแม่ ซึ่งแต่ละบ้านก็อาจมีวิธีการจัดการที่แตกต่างกัน 


เชื่อว่าไม่มีพ่อแม่คนไหนอยากจะตีหรือใช้ความรุนแรงกับลูก แต่ด้วยพฤติกรรมลบซ้ำแล้วซ้ำเล่า อารมณ์โกรธของเราและลูก ต่างฝ่ายต่างควบคุมตัวเองไม่ได้ รวมถึงการตะคอกและการตีมักจะหยุดลูกได้รวดเร็วที่สุด เราจึงมักเลือกใช้วิธีนี้ ซึ่ง แลกมาด้วยการทำร้ายความรู้สึกจนไปถึงการลดทอนความสัมพันธ์ที่ดีกับลูก


สุดท้ายมักพบว่า ความก้าวร้าวไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยความรุนแรง แต่จะกลับทำให้ปัญหาความก้าวร้าวของลูกสะสมมากขึ้นเรื่อยๆ 


อันที่จริงแล้ว จุดเริ่มต้นของการแก้ปัญหาลูกก้าวร้าวได้ดีที่สุด คือ “การเข้าใจถึงสาเหตุของความก้าวร้าวนั้น ” เพื่อการจัดการที่ถูกต้อง (ศึกษาเพิ่มเติมได้จากคอร์สจัดเต็มบทที่ 1 ปัจจัยพื้นฐานในการปรับพฤติกรรม www.netpama.com


ความก้าวร้าวในเด็ก อาจเกิดจากพื้นอารมณ์ของลูก เด็กมีพื้นอารมณ์ติดตัวมาแตกต่างกัน หรือ ความเจ็บป่วยทางร่างกายต่างๆที่ทำให้เกิดผลกระทบทางอารมณ์และจิตใจ


ในเวลาที่ลูกมีอารมณ์ลบ เช่น กลัว หงุดหงิด โกรธ อิจฉา เครียด เรียกร้องความสนใจ แต่ไม่สามารถสื่อสารออกมาได้โดยเฉพาะในเด็กเล็ก และไม่รู้จักวิธีที่ถูกต้องในการควบคุมอารมณ์ของตนเอง อาจแสดงออกมาเป็นพฤติกรรมก้าวร้าว


ลูกอาจเลียนแบบความก้าวร้าวมาจาก สภาพแวดล้อม ปัญหาในครอบครัว การใช้ความรุนแรงในโรงเรียน หรือเลียนแบบมาจากเพื่อน หรือเกมและสื่อที่ลูกดู


“ไม่ทำร้ายตัวเอง ไม่ทำร้ายผู้อื่น ไม่ทำลายข้าวของ”
กฎหลักประจำบ้านที่ทุกคนต้องยึดรวมไปถึงพ่อแม่ด้วย


ซึ่งสิ่งที่พ่อแม่ควรทำเมื่อลูกก้าวร้าว คือ …

  • เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับลูกในการควบคุมอารมณ์ สงบสติอารมณ์ตัวเองให้ได้ก่อนการจัดการลูก
  • สอนให้ลูกรู้จักการควบคุมอารมณ์ ในขณะที่ลูกก้าวร้าว สำหรับเด็กเล็กให้กอดเขาไว้ บอกลูกด้วยเสียงที่เข้าใจแต่หนักแน่น “ไม่ตี หนูตีคนอื่นไม่ได้" รอจนกว่าลูกสงบ  "แม่อยู่กับหนูตรงนี้นะ เมื่อหนูพร้อมเรามาคุยกัน"
  • ยอมรับและข้าใจอารมณ์ของลูก แต่ชัดเจนว่า พ่อแม่ไม่ยอมรับความก้าวร้าว เมื่อลูกสงบลงให้พูดคุย ถามและรับฟังลูก หาสาเหตุของความก้าวร้าวนั้น เพราะอะไร ลูกรู้สึกอย่างไร อยากให้พ่อแม่ช่วยอย่างไร และ แม่เองรู้สึกอย่างไรในสิ่งที่ลูกทำ เพื่อให้ต่างฝ่ายต่างเข้าใจกัน (สามารถศึกษาเพิ่มเติมในจากคอร์สจัดเต็มบทที่ 2 ทักษะพื้นฐานในการสื่อสาร **)
  • ชื่นชมเมื่อลูกสามารถจัดการอารมณ์ของตัวเองได้ทุกครั้ง เพื่อเป็นกำลังใจ  เช่น แม่รู้ว่าหนูโกรธที่น้องแย่งของเล่น แต่หนูควบคุมอารมณ์ตัวเองได้ไม่ตีน้อง  แม่ภูมิใจในตัวหนูมากนะ และกอดลูกแน่นๆ เพื่อเป็นรางวัล ( ศึกษาเพิ่มเติมในจากคอร์สจัดเต็มบทที่ 3 เทคนิคการชม และ บทที่ 4 เทคนิคการให้รางวัล **)
  • ปรับลดพฤติกรรมลบเสริมสร้างพฤติกรรมบวกให้สม่ำเสมอด้วยเทคนิคตารางให้คะแนน  เทคนิคนี้ได้ผลดีโดยเฉพาะกับเด็กเล็ก สะสมดาวเมื่อลูกทำตามข้อตกลง หรือควบคุมอารมณ์ตัวเองได้เพื่อแลกของรางวัลตามที่ตกลงกัน  (สามารถศึกษาเพิ่มเติมในจากคอร์สจัดเต็มบทที่ 6 เทคนิคการทำตารางให้คะแนน **)
  • แทนที่การลงโทษลูกด้วยการ ดุ ตี ตะคอกเมื่อลูกก้าวร้าว ด้วยการลงโทษเชิงบวก โดยให้ลูกได้รับผิดชอบกับผลที่เกิด เช่น การเพิกเฉยพฤติกรรมลบ การตัดสิทธิ์ลูกบางอย่าง เช่น งดเกมส์ หรือ หักค่าขนมชดเชยเมื่อลูกอาละวาดทำข้าวของเสียหาย( ศึกษาเพิ่มเติมในจากคอร์สจัดเต็มบทที่ 5 เทคนิคการลงโทษ ***)
  • ซ่อมความสัมพันธ์และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกขึ้นมาใหม่ หากความก้าวร้าวของลูกเกิดจากการใช้ความรุนแรงและความขัดแย้งสะสมในครอบครัว 


ในวันที่ลูกก้าวร้าว มีแต่พ่อแม่อย่างเราที่จะเคียงข้างช่วยเหลือเขาได้
พฤติกรรมของลูกมาจากการบ่มเพาะและสะสมในทุกๆ วัน

ยิ่งปล่อยไว้นาน การปรับพฤติกรรมก็จะยิ่งยากและใช้เวลามากโดยเฉพาะเมื่อลูกยิ่งโตและเข้าสู่วัยรุ่น 

แต่ไม่มีอะไรยากเกินไปหากพ่อแม่ตั้งใจแน่นอน



การเลี้ยงลูกนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายแต่การสร้างลูกให้เติบโตอย่างมีคุณภาพนั้นง่ายกว่าการซ่อมลูกที่พังแตกสลาย

บ้านไหนที่พบปัญหาและต้องการหาทางออก สามารถเลือกเข้าไปศึกษาต่อในคอร์สเร่งรัด ที่ใช้เวลาเพียง 30 นาทีของทาง Netpama หัวข้อ“ครอบครัวของพีท” มีปัญหาพฤติกรรมกรี๊ดและโวยวาย หรือตีพ่อแม่


ส่วนคอร์สจัดเต็มของทาง Netpama นั้นไม่เพียงสามารถปรับพฤติกรรมก้าวร้าวของลูก แต่สามารถนำไปปรับใช้กับในทุกสถานการณ์ในชีวิตประจำวันเพื่อสร้างและช่วยแก้ไขให้ลูกให้เติบโตอย่างมั่นคงและมีคุณภาพ รับรองว่าเวลาที่พ่อแม่ใช้เรียนไปไม่เสียเปล่าแน่นอน 


โดยทุกคอร์สสามารถลงทะเบียนเรียนฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ได้ที่www.netpama.com ค่ะ  


ขอโอกาสให้ Netpama เป็นเพื่อนร่วมเดินทางและเติบโตไปกับทุกครอบครัวนะคะ ♥️



บทความโดย มัมมี่Bชวนเมาท์

หมวดหมู่ทั้งหมด

NET PaMa