window.dataLayer = window.dataLayer || []; function gtag(){dataLayer.push(arguments);} gtag('js', new Date()); gtag('config', 'G-HT69D45H8X');

เปลี่ยนคำว่า “เดี๋ยวก่อน” ของลูกเป็น “ทำเดี๋ยวนี้” โดยที่แม่ไม่ต้องปรี๊ดแตก

เมื่อ 1 ปีที่แล้ว

“เดี๋ยวก่อน .. อีกแป๊บนึงนะ” พวกเราพ่อแม่เจอกันประจำ เวลาบอกให้ลูกทำอะไร ลูกก็จะเออๆ ออๆ รับคำแบบขอไปทีไม่ได้สนใจที่จะทำจริงจังตามที่พูด


ให้เลิกเล่นเกมก็บอกอีกเดี๋ยว เรียกอาบน้ำทำการบ้านก็เดี๋ยว แล้วแกล้งเฉย ทำแม่อารมณ์ขึ้นต้องให้ปรี๊ด ขึ้นเสียงสูงหรือลงไม้ลงมือกันบ้างอยู่ตลอด


สิ่งเหล่านี้เป็นตัวบอกว่า ลูกของเราขาดวินัยและกำลังทำอะไรตามใจตัวเองอยู่


การเลี้ยงลูกเชิงบวกสามารถช่วยแก้ปัญหานี้ได้แน่นอน 


โดยการเลี้ยงลูกเชิงบวก ไม่ใช่การตามใจ แต่เป็นการ สร้างวินัยให้ไปพร้อมกับความสัมพันธ์ที่ดีกับลูก ซึ่งสามารถทำได้ดังนี้ 


เริ่มที่พ่อแม่เป็นตัวอย่างที่ดี 


ลูกจะดูจากที่พ่อแม่เป็นมากกว่าที่พ่อแม่สอน พ่อแม่ควรสอนลูกไปในทางเดียวกันเพื่อไม่ให้ลูกสับสนหรือเลือกข้าง พูดอะไรแล้วพ่อแม่ต้องทำให้ได้ เช่น ถ้าสัญญากับลูกว่าจะอ่านนิทานด้วยกันตอนสองทุ่มก็ต้องรักษาเวลาและคำพูด (สามารถเรียนเพิ่มเติมได้ใน คอร์สจัดเต็มบทที่1ปัจจัยพื้นฐานในการปรับพฤติกรรม)


สื่อสารด้วย “ข้อความป๊าม๊า” เพื่อคงความสัมพันธ์ดีกับลูก 


เมื่อลูกไม่ทำตามข้อตกลงให้แม่วางทุกสิ่งเดินเข้าไปหาย่อตัวคุยในระดับสายตา จับมือหรือแตะตัวลูกเบาๆ แล้วพูดด้วยน้ำเสียงใจดีแต่หนักแน่นเอาจริง


“ครบเวลาตามที่ลูกบอกแล้วแม่อยากให้ลูกไปอาบน้ำเดี๋ยวนี้” แล้วจูงมือลูกกำกับให้ทำทันที (สามารถเรียนเทคนิคป๊าม๊าแมสเสจเพิ่มเติมได้ใน คอร์สจัดเต็มบทที่ 2 ทักษะพื้นฐานในการสื่อสาร )


สร้างวินัยเชิงบวกด้วยการจัดตารางเวลาและสร้างข้อตกลงกับลูก


กำหนดตารางเวลากิจวัตรประจำวันสำหรับเด็กเล็ก เมื่อลูกเริ่มโต ให้ลูกมีส่วนร่วมในการกำหนดกติกาและข้อตกลงร่วมกัน เช่น กำหนดเวลาในการเล่มเกมและใช้มือถือ เวลาทำการบ้าน และกำหนดผลที่จะเกิดขึ้นร่วมกัน หากไม่ทำตามกติกาและข้อตกลง  


การสร้างวินัยเชิงบวกจะใช้ความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างพ่อแม่และลูก รับฟังซึ่งกันและกันก่อนจะสรุปเป็นข้อตกลง จะทำให้ง่ายขึ้นสำหรับลูกในการทำตามข้อตกลงที่ให้ไว้ และลดแรงต่อต้านที่จะเกิดขึ้น


ใจดีแต่หนักแน่น “Kind But Firm”


ทุกคนต้องยืนยันในข้อตกลงที่คุยกันไว้ ในการทำข้อตกลงกับลูกเราควรระบุเวลาเป็นตัวเลขให้ชัดเจน เช่น 


ลูกสามารถเล่นได้อีก 10 นาทีแล้วไปอาบน้ำ 

ลูกสามารถเล่นแทปแลตได้วันละ 30 นาที

เราจะซื้อของเล่นเดือนละ 1 ชิ้นเท่านั้น เป็นต้น 


พ่อแม่ควรยืนยันหนักแน่นด้วยน้ำเสียงที่อ่อนโยนและเข้าใจ แต่ไม่โลเลหรือโอนอ่อนตามใจเมื่อลูกตื๊อในที่สุด


“แม่รู้ว่าลูกกำลังสนุก แต่เวลาครบตามที่เราตกลงกันไว้แล้ว ลูกจะเลิกเองหรือจะให้แม่เป็นคนเก็บเครื่อง ถ้าให้แม่เก็บลูกจะอดเล่นไปอีก 1 อาทิตย์ตามที่เราตกลงกันไว้ ลูกเลือกอย่างไรดีครับ “ (สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ใน คอร์สจัดเต็มบทที่ 5 เรื่องเทคนิคการลงโทษ)


ชื่นชมลูกเพื่อเป็นกำลังใจ


ชื่นชมเมื่อลูกสามารถทำตามข้อตกลงเพื่อเป็นกำลังใจและเป็นแรงกระตุ้นทางบวกให้กับลูก (สามารถศึกษาเพิ่มเติมได้ใน คอร์สจัดเต็มบทที่ 3 เรื่องเทคนิคการชม )


“แม่ดีใจจริงๆ ที่ลูกเลิกเล่นเกมด้วยตัวเองเมื่อครบตามเวลาโดยไม่ต้องให้แม่บอก ขอบคุณลูกมากๆ เลยนะจ๊ะ”


“ลูกทำการบ้านเองตามที่เคยตกลงไว้โดยไม่ต้องให้พ่อเรียก พ่อภูมิใจในตัวลูกจริงๆ”


บทความโดย มัมมี่Bชวนเมาท์


สำหรับพ่อแม่ที่ต้องการหยุดบ้านที่ร้อนเป็นไฟต้องการสร้างวินัยไปพร้อมกับความสัมพันธ์ที่ดีกับลูก สามารถมาเรียนได้ในคอร์สจัดเต็มของทาง Netpama ฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายที่ www.netpama.com บทเรียนสั้น ๆกระชับ เข้าใจง่ายครบจบทุกปัญหาด้านบน ในแต่ละบทจะมีทั้งคลิปละคร ตัวอย่างคำพูด เอาไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน รับรองว่าได้ผลแน่นอนค่ะ!

เพราะทุกปัญหาต้องการวิธีแก้ไขที่ถูกต้อง เรียนรู้ไปด้วยกันนะคะ

หมวดหมู่ทั้งหมด

NET PaMa