ถึงจะอยู่กันพร้อมหน้า แต่ก็เหมือนต่างคนต่างอยู่
เมื่อ 3 ปีที่แล้ว
“ถึงจะอยู่กันพร้อมหน้า แต่ก็เหมือนต่างคนอย่างอยู่ อยากใช้ช่วงเวลานี้เป็นโอกาสในการใช้เวลาร่วมกันในครอบครัว มีกิจกรรมไหนแนะนำไหมคะ”
.
ช่วงโควิดเป็นช่วงที่หลายๆครอบครัวมีโอกาสได้ใช้เวลาอยู่บ้านพร้อมหน้ากันมากขึ้น แต่บางบ้านอาจรู้สึกว่าแม้จะอยู่ด้วยกันทางกายภาพ แต่จิตใจก็ยังห่างไกลกัน ใช้ชีวิตแบบต่างคนต่างอยู่
.
วันนี้ ทางเน็ตป๊าม๊าจึงได้รวบรวมคำแนะนำดีๆโดยอ.นพ.สมบูรณ์ หทัยอยู่สุข จาก Net PAMA live เมื่อวันที่ 17 กันยายน เกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ ที่พ่อแม่สามารถทำร่วมกับลูกๆได้ ซึ่งนอกจากจะช่วยลดความเบื่อหน่ายและความเครียดในระหว่างอยู่บ้านแล้ว ยังทำให้ทั้งครอบครัวได้ใช้เวลาร่วมกัน ช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัวอีกด้วย
.
สิ่งแรกสุดคือ ต้องเริ่มจากกิจกรรมที่ลูกชอบและทำร่วมกันได้หลายคน ซึ่งอาจแบ่งตามช่วงวัยได้ดังนี้
.
1.เด็กเล็ก : เด็กวัยเตาะแตะและวัยอนุบาล อาจเริ่มจากการเล่นง่ายๆ เช่นการเล่นสมมติ เล่นตัวต่อ หรืออาจออกไปวิ่งเล่นนอกบ้าน (ซึ่งสามารถทำได้ แต่ช่วงนี้อาจต้องระมัดระวังเรื่องของการติดเชื้อ ด้วยการใส่แมสก์และรักษาระยะห่างให้ดีค่ะ) โดยข้อสำคัญคือพ่อแม่ต้องร่วมเล่นกับลูก ถ้าเล่นไม่เป็นก็ให้ลูกสอน ถ้าลูกสอนแล้วยังเล่นไม่เป็น เพียงแค่ใช้เวลาอยู่กับลูก ให้ความสำคัญกับสิ่งที่ลูกทำ เพียงแค่นั้นเด็กๆก็มีความสุขแล้ว เพราะสำหรับเด็กวัยนี้นั้น “พ่อแม่คือของเล่นที่ดีที่สุด”
.
2.เด็กวัยประถม : อาจทำกิจกรรมเป็นเกมกระดาน เช่น เกมเศรษฐี เกมบันไดงู ซึ่งพ่อแม่ร่วมเล่นกับลูกได้ นอกจากนี้กิจกรรมนอกบ้านต่างๆ ก็สามารถทำได้เช่นกัน เช่น ไปปั่นจักรยานหรือออกกำลังกายด้วยกัน
.
3.เด็กวัยรุ่น : สามารถเล่นบอร์ดเกมที่ซับซ้อนขึ้น หรือใช้เวลาไปกับกิจกรรมที่ลูกสนใจ เช่น เด็กวัยรุ่นบางคนชอบกลไก บางคนชอบการเขียนโปรแกรม หากพ่อแม่สามารถมีส่วนร่วมกับความสนใจของลูกได้ ก็จะมีเวลาร่วมกันได้มากขึ้น
.
นอกจากนี้ หลายครอบครัวอาจกังวลเรื่องกิจกรรมที่ใช้เวลาอยู่กับหน้าจอมาก อ.นพ.สมบูรณ์แนะนำว่า กิจกรรมเหล่านี้สามารถทำได้เช่นกัน เช่น การดูหนังร่วมกันเป็นครอบครัว ซึ่งพ่อแม่ยังสามารถนำข้อคิดจากหนังที่ดูมาสอนลูกๆต่อไปได้เช่นกัน
.
สุดท้าย อ.นพ.สมบูรณ์ยังฝากเอาไว้ว่า หัวใจหลักของการทำกิจกรรมทุกอย่างคือ การอยู่ด้วยกันทั้งตัวและหัวใจ
นั่นแปลว่า พ่อแม่ต้องอยู่กับลูกทั้งทางกายและทางใจ ไม่ใช่เพียงนั่งอยู่ข้างกัน แต่ยังรวมถึงให้ความสนใจกับสิ่งที่ลูกทำด้วย
.
หากคุณพ่อคุณแม่ท่านใดสนใจเกี่ยวกับ ‘การจัดการปัญหาพฤติกรรมลูกในช่วงโควิด’ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างวินัยให้ลูกในระหว่างอยู่บ้าน การสังเกตความเครียดของลูก และจัดการความเครียดของพ่อแม่ ฯลฯ สามารถรับชม live ย้อนหลังได้ที่นี่ค่ะ
.
ช่วงโควิดเป็นช่วงที่หลายๆครอบครัวมีโอกาสได้ใช้เวลาอยู่บ้านพร้อมหน้ากันมากขึ้น แต่บางบ้านอาจรู้สึกว่าแม้จะอยู่ด้วยกันทางกายภาพ แต่จิตใจก็ยังห่างไกลกัน ใช้ชีวิตแบบต่างคนต่างอยู่
.
วันนี้ ทางเน็ตป๊าม๊าจึงได้รวบรวมคำแนะนำดีๆโดยอ.นพ.สมบูรณ์ หทัยอยู่สุข จาก Net PAMA live เมื่อวันที่ 17 กันยายน เกี่ยวกับกิจกรรมต่างๆ ที่พ่อแม่สามารถทำร่วมกับลูกๆได้ ซึ่งนอกจากจะช่วยลดความเบื่อหน่ายและความเครียดในระหว่างอยู่บ้านแล้ว ยังทำให้ทั้งครอบครัวได้ใช้เวลาร่วมกัน ช่วยเสริมสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัวอีกด้วย
.
สิ่งแรกสุดคือ ต้องเริ่มจากกิจกรรมที่ลูกชอบและทำร่วมกันได้หลายคน ซึ่งอาจแบ่งตามช่วงวัยได้ดังนี้
.
1.เด็กเล็ก : เด็กวัยเตาะแตะและวัยอนุบาล อาจเริ่มจากการเล่นง่ายๆ เช่นการเล่นสมมติ เล่นตัวต่อ หรืออาจออกไปวิ่งเล่นนอกบ้าน (ซึ่งสามารถทำได้ แต่ช่วงนี้อาจต้องระมัดระวังเรื่องของการติดเชื้อ ด้วยการใส่แมสก์และรักษาระยะห่างให้ดีค่ะ) โดยข้อสำคัญคือพ่อแม่ต้องร่วมเล่นกับลูก ถ้าเล่นไม่เป็นก็ให้ลูกสอน ถ้าลูกสอนแล้วยังเล่นไม่เป็น เพียงแค่ใช้เวลาอยู่กับลูก ให้ความสำคัญกับสิ่งที่ลูกทำ เพียงแค่นั้นเด็กๆก็มีความสุขแล้ว เพราะสำหรับเด็กวัยนี้นั้น “พ่อแม่คือของเล่นที่ดีที่สุด”
.
2.เด็กวัยประถม : อาจทำกิจกรรมเป็นเกมกระดาน เช่น เกมเศรษฐี เกมบันไดงู ซึ่งพ่อแม่ร่วมเล่นกับลูกได้ นอกจากนี้กิจกรรมนอกบ้านต่างๆ ก็สามารถทำได้เช่นกัน เช่น ไปปั่นจักรยานหรือออกกำลังกายด้วยกัน
.
3.เด็กวัยรุ่น : สามารถเล่นบอร์ดเกมที่ซับซ้อนขึ้น หรือใช้เวลาไปกับกิจกรรมที่ลูกสนใจ เช่น เด็กวัยรุ่นบางคนชอบกลไก บางคนชอบการเขียนโปรแกรม หากพ่อแม่สามารถมีส่วนร่วมกับความสนใจของลูกได้ ก็จะมีเวลาร่วมกันได้มากขึ้น
.
นอกจากนี้ หลายครอบครัวอาจกังวลเรื่องกิจกรรมที่ใช้เวลาอยู่กับหน้าจอมาก อ.นพ.สมบูรณ์แนะนำว่า กิจกรรมเหล่านี้สามารถทำได้เช่นกัน เช่น การดูหนังร่วมกันเป็นครอบครัว ซึ่งพ่อแม่ยังสามารถนำข้อคิดจากหนังที่ดูมาสอนลูกๆต่อไปได้เช่นกัน
.
สุดท้าย อ.นพ.สมบูรณ์ยังฝากเอาไว้ว่า หัวใจหลักของการทำกิจกรรมทุกอย่างคือ การอยู่ด้วยกันทั้งตัวและหัวใจ
นั่นแปลว่า พ่อแม่ต้องอยู่กับลูกทั้งทางกายและทางใจ ไม่ใช่เพียงนั่งอยู่ข้างกัน แต่ยังรวมถึงให้ความสนใจกับสิ่งที่ลูกทำด้วย
.
หากคุณพ่อคุณแม่ท่านใดสนใจเกี่ยวกับ ‘การจัดการปัญหาพฤติกรรมลูกในช่วงโควิด’ ไม่ว่าจะเป็นการสร้างวินัยให้ลูกในระหว่างอยู่บ้าน การสังเกตความเครียดของลูก และจัดการความเครียดของพ่อแม่ ฯลฯ สามารถรับชม live ย้อนหลังได้ที่นี่ค่ะ
เน็ตป๊าม้า ขอแนะนำหลักสูตรออนไลน์ สอนเทคนิคเชิงบวกในการปรับพฤติกรรมเด็ก
คอร์สเร่งรัด
เหมาะสำหรับผู้ปกครองที่มีพื้นฐานการปรับพฤติกรรมเด็กเชิงบวกอยู่แล้ว
แต่ต้องการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมเด็กที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น
คอร์สจัดเต็ม
เหมาะสำหรับผู้ปกครองที่ต้องการเรียนรู้และฝึกใช้เทคนิคการปรับพฤติกรรมเด็ก
อย่างเป็นขั้นบันได เพื่อเตรียมพร้อมที่จะนำไปรับมือกับปัญหาพฤติกรรมเด็ก
อย่างมั่นใจ