สิ่งที่ผู้ใหญ่มักลืมที่จะทำในเวลาที่เด็กๆทำผิด
เมื่อ 3 ปีที่แล้ว
มีเรื่องหนึ่งที่หมอจำได้ เป็นหนึ่งในไม่กี่ครั้ง ที่หมอถูกคุณครูทำโทษ
.
ตอนอยู่มัธยมปลาย หมอเป็นหัวหน้าห้อง ส่วนตัวเป็นคนค่อนข้างเชื่อฟังครูดี แต่วันนั้นหมอลืมเอาหนังสือเรียนของวิชาหนึ่งไปเรียน พอถึงชั่วโมงนั้น หมอเลยไม่มีหนังสือเรียน ปกติก็ไม่เคยลืม แต่คืนก่อนหน้านั้น รู้สึกไม่ค่อยสบาย กินยาแก้หวัด ทำให้มึน ๆ แล้วก็คงจะลืมหยิบหนังสือใส่กระเป๋า
.
เมื่อครูเห็นว่าหมอไม่มีหนังสือ ครูทำโทษ ให้หมอออกไปยืนนอกห้องเรียนทั้งชั่วโมง รู้สึกแย่ ไม่ใช่เพราะเมื่อย แต่เพราะเสียดายที่ไม่ได้เรียนพร้อมเพื่อน แถมคนที่เดินผ่านไปมาก็มองดูเราแปลก ๆ ครูหลาย ๆ คนที่รู้จักก็เดินมาถามว่า ทำไมเธอถึงถูกทำโทษ ใจหมอตอนนั้นรู้ตัวว่าทำผิด แต่ก็คิดว่า เพราะอะไร ครูถึงไม่ถามเหตุผลเราสักคำ ว่าทำไมไม่ได้เอามา เราเองก็ไม่ได้ตั้งใจ
.
ผ่านมาหลายปี แต่ก็ยังจำได้ดี
.
ไม่มีใครอยากทำผิด โดยเฉพาะเด็ก ๆ จริง ๆ ก็ไม่ได้อยากทำอะไรที่ทำให้ผู้ใหญ่ไม่พอใจ ยิ่งเป็นเด็กเล็ก ๆ ทุกคนอยากให้ผู้ใหญ่รัก ชมเชย จริง ๆ แล้ว ในทุกการกระทำของเด็ก มีเหตุผล ที่มาที่ไป ถ้าผู้ใหญ่อยากรู้ ต้องมีเวลารับฟัง ทำความเข้าใจ พร้อมที่จะเปิดใจฟัง หลาย ๆ ครั้งเวลาที่เด็กทำผิดอะไรสักอย่าง สิ่งที่พ่อแม่ หรือ คุณครู จะทำ ก็คือ “การทำโทษ”
.
จริงอยู่ ทำผิด ก็ต้องทำโทษ เพื่อให้เด็กรู้จักรับผิดชอบ เรียนรู้ที่จะไม่ทำผิดอีก แต่ก่อนที่จะทำโทษ เป็นไปได้ไหมที่จะรับฟังเด็กก่อน อย่างน้อย ๆ อาจจะทำให้ผู้ใหญ่เข้าใจ และความเข้าใจนั้นจะนำไปสู่การจัดการกับปัญหาที่ยั่งยืน
.
นอกจากนั้น เด็กก็จะมีความรู้สึกว่า ผู้ใหญ่เข้าใจ รับฟัง ไม่ได้ตัดสินไปก่อน คราวหลังเวลาที่เด็กทำผิด เด็กก็จะมีแนวโน้มเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นให้ผู้ใหญ่ฟังมากขึ้น ไม่จำเป็นต้องปิดบัง หรือ โกหก
เพื่อที่จะเห็นภาพ หมอจะเล่าเรื่องหนึ่งให้ฟัง เป็นเรื่องของเด็กผู้หญิงคนหนึ่ง สมมุติว่าเธอชื่อว่า ปูเป้ เย็นวันหนึ่งหลังจากกลับมาจากโรงเรียน แม่สังเกตว่าที่แขนของปูเป้ดูแดง ๆ หลังจากที่ถาม ปูเป้าเล่าให้แม่ฟังว่า ครูตีปูเป้ เพราะปูเป้คุยกับเพื่อน ตอนที่ครูกำลังสอนอยู่ แม่เลยบอกปูเป้ว่า "ครูทำไปเพราะหนูคุยกับเพื่อน ถ้าไม่อยากถูกตี ทีหลังก็อย่าคุยกับเพื่อนเวลาที่ครูสอน"
ปูเป้ฟังแม่แล้วก็ไม่ได้พูดอะไร ได้แต่พยักหน้า ไม่กี่วันที่ผ่านมา หมอมีโอกาสเจอกับปูเป้ และ คุณแม่ คุณแม่เล่าเรื่องนี้ให้ฟัง
"แม่อยากให้หมอช่วยคุยกับปูเป้ ว่าอย่าคุยในห้องเรียน แม่ไม่อยากให้เขาถูกครูตีอีก"
.
หมอมีโอกาสคุยกับปูเป้ตามลำพัง ปูเป้าเล่าให้ฟังว่า จริง ๆ แล้ว เพื่อนคนนั้น นั่งอยู่ข้างหลังปูเป้ ตอนที่ครูสอน เพื่อนเอาดินสอมาจิ้ม ๆ ที่หลังปูเป้ ปูเป้ก็ไม่ได้สนใจในตอนแรก แต่เพื่อนก็ไม่หยุดจิ้ม ปูเป้เลยหันหลังไปหาเพื่อน แล้วก็บอกเพื่อนว่า อย่าทำแบบนี้ แต่เสียคงดังไปหน่อย ทำให้ครูได้ยิน แล้วหลังจากนั้น ปูเป้ก็ถูกครูเรียกไปหน้าห้อง แล้วครูก็ตีปูเป้ต่อหน้าเพื่อน ๆ
.
ครูไม่ได้ถามปูเป้ว่า เพราะอะไรถึงคุยกับเพื่อน ส่วนแม่ก็ไม่ได้ถามปูเป้ ถึงเรื่องที่เกิดขึ้น เพราะทุกคนล้วนเพ่งมองแต่ความผิดที่ปูเป้ทำ
.
ย้อนคิดไปถึงเรื่องที่ตัวเองถูกครูทำโทษแบบนั้น จริง ๆ ก็เป็นเรื่องที่ดี อย่างน้อยเหตุการณ์ในวันนั้น ก็ทำให้หมอเข้าใจเด็กอย่างปูเป้ หรือเด็ก ๆ คนอื่นมากขึ้น
.
อยากชวนผู้ใหญ่ให้ลองเปิดใจสักนิด เมื่อได้ยินว่าเด็กทำผิดอารมณ์แรกที่เกิดขึ้นอาจจะเป็นความโกรธความกังวล พยายามจัดการกับอารมณ์โกรธ กังวล หงุดหงิด ที่เกิดขึ้น เมื่อได้ยินว่า เด็กทำผิด ทำใจให้นิ่งสักหน่อย เชื่อว่าจะทำให้มุมมองต่อเรื่องราวต่าง ๆ จะเป็นกลางมากขึ้น
.
อย่าลืมถามไถ่เด็ก ว่าเกิดอะไรขึ้น จะดีกว่าไหม ถ้าแม่ถามปูเป้ว่า
"ถูกครูตีมาเหรอลูก เจ็บมากไหม"
"แม่สงสัยว่ามันเกิดอะไรขึ้น หนูอยากจะเล่าให้แม่ฟังไหม"
.
มีเด็กหลายคน ที่รู้สึกว่าผู้ใหญ่ไม่รับฟัง ไม่เข้าใจ ทำให้เมื่อทำผิด จึงเลือกที่จะปิดบัง ซ่อนเร้น เพราะคิดว่าบอกไปก็ไม่มีประโยชน์ บางทีจึงไปบอกเพื่อน หรือเก็บไว้จัดการเอง จนกลายเป็นปัญหาบานปลาย และสายเกินแก้
.
เริ่มตั้งแต่วันนี้ ที่ผู้ใหญ่จะเปิดใจ ทำความเข้าใจ รับฟังเด็ก ๆ มากขึ้น เมื่อเด็กรู้สึกว่าผู้ใหญ่เข้าใจเขา ในที่สุด เขาก็จะเปิดใจกับผู้ใหญ่มากขึ้น ฟังก่อนแล้วค่อยทำโทษ เด็กจะได้เรียนรู้ทั้งความรับผิดชอบ และได้เรียนรู้ว่า คนใกล้ชิดที่เขารัก ก็เข้าใจและรับฟังเขา
.
เขียนโดย พญ.เบญจพร ตันตสูติ
ภาพประกอบโดย ศิรภัสสร เย็นจิตต์
.
ตอนอยู่มัธยมปลาย หมอเป็นหัวหน้าห้อง ส่วนตัวเป็นคนค่อนข้างเชื่อฟังครูดี แต่วันนั้นหมอลืมเอาหนังสือเรียนของวิชาหนึ่งไปเรียน พอถึงชั่วโมงนั้น หมอเลยไม่มีหนังสือเรียน ปกติก็ไม่เคยลืม แต่คืนก่อนหน้านั้น รู้สึกไม่ค่อยสบาย กินยาแก้หวัด ทำให้มึน ๆ แล้วก็คงจะลืมหยิบหนังสือใส่กระเป๋า
.
เมื่อครูเห็นว่าหมอไม่มีหนังสือ ครูทำโทษ ให้หมอออกไปยืนนอกห้องเรียนทั้งชั่วโมง รู้สึกแย่ ไม่ใช่เพราะเมื่อย แต่เพราะเสียดายที่ไม่ได้เรียนพร้อมเพื่อน แถมคนที่เดินผ่านไปมาก็มองดูเราแปลก ๆ ครูหลาย ๆ คนที่รู้จักก็เดินมาถามว่า ทำไมเธอถึงถูกทำโทษ ใจหมอตอนนั้นรู้ตัวว่าทำผิด แต่ก็คิดว่า เพราะอะไร ครูถึงไม่ถามเหตุผลเราสักคำ ว่าทำไมไม่ได้เอามา เราเองก็ไม่ได้ตั้งใจ
.
ผ่านมาหลายปี แต่ก็ยังจำได้ดี
.
ไม่มีใครอยากทำผิด โดยเฉพาะเด็ก ๆ จริง ๆ ก็ไม่ได้อยากทำอะไรที่ทำให้ผู้ใหญ่ไม่พอใจ ยิ่งเป็นเด็กเล็ก ๆ ทุกคนอยากให้ผู้ใหญ่รัก ชมเชย จริง ๆ แล้ว ในทุกการกระทำของเด็ก มีเหตุผล ที่มาที่ไป ถ้าผู้ใหญ่อยากรู้ ต้องมีเวลารับฟัง ทำความเข้าใจ พร้อมที่จะเปิดใจฟัง หลาย ๆ ครั้งเวลาที่เด็กทำผิดอะไรสักอย่าง สิ่งที่พ่อแม่ หรือ คุณครู จะทำ ก็คือ “การทำโทษ”
.
จริงอยู่ ทำผิด ก็ต้องทำโทษ เพื่อให้เด็กรู้จักรับผิดชอบ เรียนรู้ที่จะไม่ทำผิดอีก แต่ก่อนที่จะทำโทษ เป็นไปได้ไหมที่จะรับฟังเด็กก่อน อย่างน้อย ๆ อาจจะทำให้ผู้ใหญ่เข้าใจ และความเข้าใจนั้นจะนำไปสู่การจัดการกับปัญหาที่ยั่งยืน
.
นอกจากนั้น เด็กก็จะมีความรู้สึกว่า ผู้ใหญ่เข้าใจ รับฟัง ไม่ได้ตัดสินไปก่อน คราวหลังเวลาที่เด็กทำผิด เด็กก็จะมีแนวโน้มเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นให้ผู้ใหญ่ฟังมากขึ้น ไม่จำเป็นต้องปิดบัง หรือ โกหก
เพื่อที่จะเห็นภาพ หมอจะเล่าเรื่องหนึ่งให้ฟัง เป็นเรื่องของเด็กผู้หญิงคนหนึ่ง สมมุติว่าเธอชื่อว่า ปูเป้ เย็นวันหนึ่งหลังจากกลับมาจากโรงเรียน แม่สังเกตว่าที่แขนของปูเป้ดูแดง ๆ หลังจากที่ถาม ปูเป้าเล่าให้แม่ฟังว่า ครูตีปูเป้ เพราะปูเป้คุยกับเพื่อน ตอนที่ครูกำลังสอนอยู่ แม่เลยบอกปูเป้ว่า "ครูทำไปเพราะหนูคุยกับเพื่อน ถ้าไม่อยากถูกตี ทีหลังก็อย่าคุยกับเพื่อนเวลาที่ครูสอน"
ปูเป้ฟังแม่แล้วก็ไม่ได้พูดอะไร ได้แต่พยักหน้า ไม่กี่วันที่ผ่านมา หมอมีโอกาสเจอกับปูเป้ และ คุณแม่ คุณแม่เล่าเรื่องนี้ให้ฟัง
"แม่อยากให้หมอช่วยคุยกับปูเป้ ว่าอย่าคุยในห้องเรียน แม่ไม่อยากให้เขาถูกครูตีอีก"
.
หมอมีโอกาสคุยกับปูเป้ตามลำพัง ปูเป้าเล่าให้ฟังว่า จริง ๆ แล้ว เพื่อนคนนั้น นั่งอยู่ข้างหลังปูเป้ ตอนที่ครูสอน เพื่อนเอาดินสอมาจิ้ม ๆ ที่หลังปูเป้ ปูเป้ก็ไม่ได้สนใจในตอนแรก แต่เพื่อนก็ไม่หยุดจิ้ม ปูเป้เลยหันหลังไปหาเพื่อน แล้วก็บอกเพื่อนว่า อย่าทำแบบนี้ แต่เสียคงดังไปหน่อย ทำให้ครูได้ยิน แล้วหลังจากนั้น ปูเป้ก็ถูกครูเรียกไปหน้าห้อง แล้วครูก็ตีปูเป้ต่อหน้าเพื่อน ๆ
.
ครูไม่ได้ถามปูเป้ว่า เพราะอะไรถึงคุยกับเพื่อน ส่วนแม่ก็ไม่ได้ถามปูเป้ ถึงเรื่องที่เกิดขึ้น เพราะทุกคนล้วนเพ่งมองแต่ความผิดที่ปูเป้ทำ
.
ย้อนคิดไปถึงเรื่องที่ตัวเองถูกครูทำโทษแบบนั้น จริง ๆ ก็เป็นเรื่องที่ดี อย่างน้อยเหตุการณ์ในวันนั้น ก็ทำให้หมอเข้าใจเด็กอย่างปูเป้ หรือเด็ก ๆ คนอื่นมากขึ้น
.
อยากชวนผู้ใหญ่ให้ลองเปิดใจสักนิด เมื่อได้ยินว่าเด็กทำผิดอารมณ์แรกที่เกิดขึ้นอาจจะเป็นความโกรธความกังวล พยายามจัดการกับอารมณ์โกรธ กังวล หงุดหงิด ที่เกิดขึ้น เมื่อได้ยินว่า เด็กทำผิด ทำใจให้นิ่งสักหน่อย เชื่อว่าจะทำให้มุมมองต่อเรื่องราวต่าง ๆ จะเป็นกลางมากขึ้น
.
อย่าลืมถามไถ่เด็ก ว่าเกิดอะไรขึ้น จะดีกว่าไหม ถ้าแม่ถามปูเป้ว่า
"ถูกครูตีมาเหรอลูก เจ็บมากไหม"
"แม่สงสัยว่ามันเกิดอะไรขึ้น หนูอยากจะเล่าให้แม่ฟังไหม"
.
มีเด็กหลายคน ที่รู้สึกว่าผู้ใหญ่ไม่รับฟัง ไม่เข้าใจ ทำให้เมื่อทำผิด จึงเลือกที่จะปิดบัง ซ่อนเร้น เพราะคิดว่าบอกไปก็ไม่มีประโยชน์ บางทีจึงไปบอกเพื่อน หรือเก็บไว้จัดการเอง จนกลายเป็นปัญหาบานปลาย และสายเกินแก้
.
เริ่มตั้งแต่วันนี้ ที่ผู้ใหญ่จะเปิดใจ ทำความเข้าใจ รับฟังเด็ก ๆ มากขึ้น เมื่อเด็กรู้สึกว่าผู้ใหญ่เข้าใจเขา ในที่สุด เขาก็จะเปิดใจกับผู้ใหญ่มากขึ้น ฟังก่อนแล้วค่อยทำโทษ เด็กจะได้เรียนรู้ทั้งความรับผิดชอบ และได้เรียนรู้ว่า คนใกล้ชิดที่เขารัก ก็เข้าใจและรับฟังเขา
.
เขียนโดย พญ.เบญจพร ตันตสูติ
ภาพประกอบโดย ศิรภัสสร เย็นจิตต์
เน็ตป๊าม้า ขอแนะนำหลักสูตรออนไลน์ สอนเทคนิคเชิงบวกในการปรับพฤติกรรมเด็ก
คอร์สเร่งรัด
เหมาะสำหรับผู้ปกครองที่มีพื้นฐานการปรับพฤติกรรมเด็กเชิงบวกอยู่แล้ว
แต่ต้องการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมเด็กที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น
คอร์สจัดเต็ม
เหมาะสำหรับผู้ปกครองที่ต้องการเรียนรู้และฝึกใช้เทคนิคการปรับพฤติกรรมเด็ก
อย่างเป็นขั้นบันได เพื่อเตรียมพร้อมที่จะนำไปรับมือกับปัญหาพฤติกรรมเด็ก
อย่างมั่นใจ