“ลูกพูดไม่ฟัง” ทำอย่างไรดี ?
เมื่อ 1 สัปดาห์ที่แล้ว
“ลูกพูดไม่ฟัง”ทำอย่างไรดี ?
#วิธีการสื่อสารอย่างเข้าใจสร้างวินัยเชิงบวก
.
“ลูก” คือตัวจี๊ดน้อยที่คอยทำให้แม่ปรี๊ดได้ทุกวัน บอกให้ทำแบบนี้ก็จะทำอีกแบบ วันๆ มีแต่คำว่า“ไม่” เรียกมากๆ ก็เอะอะโวยวาย ทำเอาแม่ที่ตั้งใจจะเป็นนางฟ้าต้องแปลงร่างเป็นนางยักษ์อยู่เสมอ
.
ใครที่เจอปัญหานี้บอกได้เลยค่ะว่า…เราคือเพื่อนกัน ซึ่งวันนี้ #มัมมี่Bชวนเมาท์ มีข้อแนะนำในการรับมือและพูดกับลูกในเวลาลูกดื้อและพูดไม่ฟังที่ใช้แล้วได้ผลจริงมาแนะนำดังนี้
.
#ตั้งสติจัดการอารมณ์ตัวเองก่อน
เวลาลูกดื้อ พูดไม่ฟังพ่อแม่มักจะโกรธ หงุดหงิดและอารมณ์เสียใส่ลูก ซึ่งลูกก็มีอารมณ์เหล่านี้มากมายไม่แพ้กัน และมักไม่มีใครยอมฟังในขณะที่กำลังโกรธ
.
เมื่อแม่ขึ้นเสียงใส่ ในช่วงแรกลูกจะกลัวและทำทันที จนแม่คิดว่าเสียงดังแล้วได้ผล แต่เมื่อลูกเริ่มโตจะพบว่า พูดนิดหน่อยลูกจะชักสีหน้า ยอกย้อนและขึ้นเสียงใส่เรากลับคืนยิ่งกว่า
.
#เพราะลูกคือกระจกสะท้อนการเลี้ยงดูของพ่อแม่
ความโกรธคือเรื่องปกติ แต่เราต้องรู้จักวิธีจัดการให้เหมาะสม ง่ายที่สุดคือการนับ 1-10 ช้าๆ ในใจ ไม่พอนับเพิ่มไปอีกเรื่อยๆ รู้สึกว่าเย็นลงเมื่อไหร่ค่อยคุยกับลูก
.
#หลีกเลี่ยงการห้าม เพราะยิ่งห้ามเหมือนยิ่งยุ แทนที่คำว่า “ หยุด อย่า ห้าม ไม่ ” แต่บอกลูกไปให้ชัดว่า อะไรที่เขาควรทำหรือทำได้
เช่น แทนที่จะพูดว่า ”หยุด! แม่บอกแล้วไงว่าอย่าเขียนโต๊ะ “ ให้พูดว่า “ถ้าลูกอยากเขียน เรามาบนกระดาษแผ่นใหญ่ๆกันนะ ”
.
#อยากให้ลูกฟังเราให้ฟังเขาก่อน
เมื่อรู้สึกว่าลูกไม่ฟัง หากลูกเล็กให้ลงไปนั่งระดับเดียวกันกับเขา จับมือและมองตาพูดและฟังลูกอย่างตั้งใจ สะท้อนอารมณ์และความรู้สึกของลูกด้วยท่าทีสงบเท่าที่จะทำได้ แสดงว่าเราเข้าใจเขา และบอกความรู้สึกและความต้องการของเราให้หนักแน่น ชัดเจนและเข้าใจง่าย kind but firm ด้วยเทคนิคป๊าม้า I message (ศึกษาเพิ่มเติมได้ฟรีจาก บทที่ 2 เทคนิคการสื่อสาร https://www.netpama.com)
.
เช่น ลูกโวยวายเมื่อถูกเรียกอาบน้ำ ให้เดิน
เข้าไปนั่งข้างๆลูก จับมือหรือ แตะตัว หันหน้ามองตากัน แล้วพูดกับลูกด้วยน้ำเสียงสงบแต่หนักแน่น
“แม่เข้าใจว่าลูกกำลังเล่นสนุกเลยไม่อยากอาบน้ำ แต่แม่เสียใจมากนะที่ลูกตะโกนเสียงดังใส่แม่ แม่อยากให้ลูกพูดดีๆ”
.
#ให้ทางเลือกและตั้งกฎกติการ่วมกันกับลูก
บ้านที่มีกฎกติกาและตารางเวลากิจวัตรประจำวัน ทำจนเคยชินจะเกิดเป็นนิสัย และ #วินัยเชิงบวก ให้โอกาสให้ทางเลือกกับลูกร่วมกำหนดกฎและกติกาด้วยกันจะเพิ่มการยอมรับและความร่วมมือจากลูกได้มาก
“แม่เข้าใจนะว่าลูกกำลังเล่นสนุก หนูอยากเล่นต่ออีก 5 นาที หรือ 10 นาที แล้วเราค่อยไปอาบน้ำกัน“
“เรามาตกลงกันนะ แม่ให้ลูกเลือกเองเลยว่า ทุกวันลูกอยากอาบน้ำตอนกี่โมง และอยากให้แม่ช่วยเตือนก่อนเวลาไหม”
.
#ชื่นชมหรือให้รางวัลเมื่อทำสำเร็จ
ชมทันทีเมื่อลูกทำได้หรือทำดี หรือชมทันทีหากเห็นลูกพยายามแม้ยังไม่สำเร็จ เพื่อกระตุ้นให้ลูกทำพฤติกรรมดีซ้ำๆ
.
สามารถให้รางวัลจูงใจตามข้อตกลงกับลูกล่วงหน้า หรือใช้ตารางเด็กดีสะสมคะแนนเพื่อช่วยได้ (ศึกษาเพิ่มเติมได้ฟรีจาก บทที่3 เทคนิคการชม บทที่ 4 เทคนิคการให้รางวัล และ บทที่6 เทคนิคการทำตารางให้คะแนน https://www.netpama.com)
“แม่แค่พูดว่า ถึงเวลาแล้ว ลูกก็ไปอาบน้ำทันทีเลย แม่ภูมิใจจัง หนูเป็นเด็กที่มีวินัยจริง “
”ถ้าลูกอาบน้ำเวลา 1 ทุ่มตามข้อตกลงของเราโดยไม่ต้องเตือน ลูกจะได้2 คะแนน แต่ถ้าต้องเตือนจะได้ 1 คะแนน พอคะแนนครบก็แลกของรางวัลตามที่ลูกชอบเลย ดีมั้ยครับ“
.
#ระบุผลที่ตามมาให้ชัดเจนหากลูกไม่ทำตามข้อตกลง
หากผิดข้อตกลง ให้รับฟังและพูดคุยกับลูกด้วยเหตุผลด้วยท่าทีที่เข้าใจแต่ต้องยึดมั่นในกติกา อาจใช้การตัดสิทธิ์ตามที่ได้เคยตกลงกันกับลูกไว้
หากต้องการตำหนิให้ระบุที่พฤติกรรม #แต่จะไม่ตีตราว่าเป็นนิสัยของเขา (ศึกษาเพิ่มเติมได้จาก บทที่ 5 เทคนิคการลงโทษ https://www.netpama.com )
“ ทุ่มนึงแล้วยังไม่อาบน้ำ เด็กดื้อไม่รักษาสัญญา”
“แม่รู้ว่าลูกโกรธ ที่ลูกไม่ไปอาบน้ำเพราะสนุกจนเลยเวลา ทั้งๆที่แม่เตือนแล้ว แม่เข้าใจลูกนะ แต่เราต้องยึดตามข้อตกลง พรุ่งนี้เราจะงดดูทีวี 1 วันนะครับ“
.
สิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้ลูกฟังเรา คือ #การเป็นตัวอย่างที่ดีในการฟังให้เขาก่อน
#พ่อแม่เลือกใช้วิธีสื่อสารกับลูกไปอย่างไร ไม่ช้าก็เร็ว #เราจะได้สิ่งนั้นย้อนกลับมาจากลูกเสมอ
ทักษะจำเป็นที่พ่อแม่ต้องใช้ในการฝึกวินัยและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีลูก ทุกเรื่องอยู่ในบทเรียนของเราแล้ว
.
สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องการเรียนรู้การเลี้ยงลูกเชิงบวกแบบ #คอร์สonline ทั้งหมดได้ถูกรวบรวมไว้ในคอร์สจัดเต็ม ซึ่งจัดทำโดยทีมจิตแพทย์เด็กและนักจิตวิทยา ที่ https://www.netpama.com/ มีทั้งคลิปวีดิโอเรื่องราว ตัวอย่างคำพูดที่สามารถนำไปใช้เลยได้จริง โดยเรียนฟรี!ไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ
.
และสำหรับพ่อแม่ที่ต้องการเรียน #คอร์สonsite เพื่อที่จะได้รับ
• ความรู้พัฒนาการเด็กและการสื่อสารที่เหมาะสมกับเด็กแต่ละวัย
• ได้ลองฝึกปฏิบัติจริงแบบ hands-on experience ภายใต้คำแนะนำจากทีมงานผู้เชี่ยวชาญ
• เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหา ผ่าน group process กับผู้ปกครองท่านอื่นๆ
• พิเศษ! ทดสอบสกิลการเลี้ยงลูก ด้วยแบบวัดมาตรฐานจากผู้เชี่ยวชาญมูลค่า 790 บาท
สามารถดูรายละเอียดและค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมได้จาก https://bit.ly/3NfYPdO
.
มาเรียนรู้และเติบโตไปด้วยกันกับลูกนะคะ
#วิธีการสื่อสารอย่างเข้าใจสร้างวินัยเชิงบวก
.
“ลูก” คือตัวจี๊ดน้อยที่คอยทำให้แม่ปรี๊ดได้ทุกวัน บอกให้ทำแบบนี้ก็จะทำอีกแบบ วันๆ มีแต่คำว่า“ไม่” เรียกมากๆ ก็เอะอะโวยวาย ทำเอาแม่ที่ตั้งใจจะเป็นนางฟ้าต้องแปลงร่างเป็นนางยักษ์อยู่เสมอ
.
ใครที่เจอปัญหานี้บอกได้เลยค่ะว่า…เราคือเพื่อนกัน ซึ่งวันนี้ #มัมมี่Bชวนเมาท์ มีข้อแนะนำในการรับมือและพูดกับลูกในเวลาลูกดื้อและพูดไม่ฟังที่ใช้แล้วได้ผลจริงมาแนะนำดังนี้
.
#ตั้งสติจัดการอารมณ์ตัวเองก่อน
เวลาลูกดื้อ พูดไม่ฟังพ่อแม่มักจะโกรธ หงุดหงิดและอารมณ์เสียใส่ลูก ซึ่งลูกก็มีอารมณ์เหล่านี้มากมายไม่แพ้กัน และมักไม่มีใครยอมฟังในขณะที่กำลังโกรธ
.
เมื่อแม่ขึ้นเสียงใส่ ในช่วงแรกลูกจะกลัวและทำทันที จนแม่คิดว่าเสียงดังแล้วได้ผล แต่เมื่อลูกเริ่มโตจะพบว่า พูดนิดหน่อยลูกจะชักสีหน้า ยอกย้อนและขึ้นเสียงใส่เรากลับคืนยิ่งกว่า
.
#เพราะลูกคือกระจกสะท้อนการเลี้ยงดูของพ่อแม่
ความโกรธคือเรื่องปกติ แต่เราต้องรู้จักวิธีจัดการให้เหมาะสม ง่ายที่สุดคือการนับ 1-10 ช้าๆ ในใจ ไม่พอนับเพิ่มไปอีกเรื่อยๆ รู้สึกว่าเย็นลงเมื่อไหร่ค่อยคุยกับลูก
.
#หลีกเลี่ยงการห้าม เพราะยิ่งห้ามเหมือนยิ่งยุ แทนที่คำว่า “ หยุด อย่า ห้าม ไม่ ” แต่บอกลูกไปให้ชัดว่า อะไรที่เขาควรทำหรือทำได้
เช่น แทนที่จะพูดว่า ”หยุด! แม่บอกแล้วไงว่าอย่าเขียนโต๊ะ “ ให้พูดว่า “ถ้าลูกอยากเขียน เรามาบนกระดาษแผ่นใหญ่ๆกันนะ ”
.
#อยากให้ลูกฟังเราให้ฟังเขาก่อน
เมื่อรู้สึกว่าลูกไม่ฟัง หากลูกเล็กให้ลงไปนั่งระดับเดียวกันกับเขา จับมือและมองตาพูดและฟังลูกอย่างตั้งใจ สะท้อนอารมณ์และความรู้สึกของลูกด้วยท่าทีสงบเท่าที่จะทำได้ แสดงว่าเราเข้าใจเขา และบอกความรู้สึกและความต้องการของเราให้หนักแน่น ชัดเจนและเข้าใจง่าย kind but firm ด้วยเทคนิคป๊าม้า I message (ศึกษาเพิ่มเติมได้ฟรีจาก บทที่ 2 เทคนิคการสื่อสาร https://www.netpama.com)
.
เช่น ลูกโวยวายเมื่อถูกเรียกอาบน้ำ ให้เดิน
เข้าไปนั่งข้างๆลูก จับมือหรือ แตะตัว หันหน้ามองตากัน แล้วพูดกับลูกด้วยน้ำเสียงสงบแต่หนักแน่น
“แม่เข้าใจว่าลูกกำลังเล่นสนุกเลยไม่อยากอาบน้ำ แต่แม่เสียใจมากนะที่ลูกตะโกนเสียงดังใส่แม่ แม่อยากให้ลูกพูดดีๆ”
.
#ให้ทางเลือกและตั้งกฎกติการ่วมกันกับลูก
บ้านที่มีกฎกติกาและตารางเวลากิจวัตรประจำวัน ทำจนเคยชินจะเกิดเป็นนิสัย และ #วินัยเชิงบวก ให้โอกาสให้ทางเลือกกับลูกร่วมกำหนดกฎและกติกาด้วยกันจะเพิ่มการยอมรับและความร่วมมือจากลูกได้มาก
“แม่เข้าใจนะว่าลูกกำลังเล่นสนุก หนูอยากเล่นต่ออีก 5 นาที หรือ 10 นาที แล้วเราค่อยไปอาบน้ำกัน“
“เรามาตกลงกันนะ แม่ให้ลูกเลือกเองเลยว่า ทุกวันลูกอยากอาบน้ำตอนกี่โมง และอยากให้แม่ช่วยเตือนก่อนเวลาไหม”
.
#ชื่นชมหรือให้รางวัลเมื่อทำสำเร็จ
ชมทันทีเมื่อลูกทำได้หรือทำดี หรือชมทันทีหากเห็นลูกพยายามแม้ยังไม่สำเร็จ เพื่อกระตุ้นให้ลูกทำพฤติกรรมดีซ้ำๆ
.
สามารถให้รางวัลจูงใจตามข้อตกลงกับลูกล่วงหน้า หรือใช้ตารางเด็กดีสะสมคะแนนเพื่อช่วยได้ (ศึกษาเพิ่มเติมได้ฟรีจาก บทที่3 เทคนิคการชม บทที่ 4 เทคนิคการให้รางวัล และ บทที่6 เทคนิคการทำตารางให้คะแนน https://www.netpama.com)
“แม่แค่พูดว่า ถึงเวลาแล้ว ลูกก็ไปอาบน้ำทันทีเลย แม่ภูมิใจจัง หนูเป็นเด็กที่มีวินัยจริง “
”ถ้าลูกอาบน้ำเวลา 1 ทุ่มตามข้อตกลงของเราโดยไม่ต้องเตือน ลูกจะได้2 คะแนน แต่ถ้าต้องเตือนจะได้ 1 คะแนน พอคะแนนครบก็แลกของรางวัลตามที่ลูกชอบเลย ดีมั้ยครับ“
.
#ระบุผลที่ตามมาให้ชัดเจนหากลูกไม่ทำตามข้อตกลง
หากผิดข้อตกลง ให้รับฟังและพูดคุยกับลูกด้วยเหตุผลด้วยท่าทีที่เข้าใจแต่ต้องยึดมั่นในกติกา อาจใช้การตัดสิทธิ์ตามที่ได้เคยตกลงกันกับลูกไว้
หากต้องการตำหนิให้ระบุที่พฤติกรรม #แต่จะไม่ตีตราว่าเป็นนิสัยของเขา (ศึกษาเพิ่มเติมได้จาก บทที่ 5 เทคนิคการลงโทษ https://www.netpama.com )
“ ทุ่มนึงแล้วยังไม่อาบน้ำ เด็กดื้อไม่รักษาสัญญา”
“แม่รู้ว่าลูกโกรธ ที่ลูกไม่ไปอาบน้ำเพราะสนุกจนเลยเวลา ทั้งๆที่แม่เตือนแล้ว แม่เข้าใจลูกนะ แต่เราต้องยึดตามข้อตกลง พรุ่งนี้เราจะงดดูทีวี 1 วันนะครับ“
.
สิ่งสำคัญที่สุดที่จะทำให้ลูกฟังเรา คือ #การเป็นตัวอย่างที่ดีในการฟังให้เขาก่อน
#พ่อแม่เลือกใช้วิธีสื่อสารกับลูกไปอย่างไร ไม่ช้าก็เร็ว #เราจะได้สิ่งนั้นย้อนกลับมาจากลูกเสมอ
ทักษะจำเป็นที่พ่อแม่ต้องใช้ในการฝึกวินัยและสร้างความสัมพันธ์ที่ดีลูก ทุกเรื่องอยู่ในบทเรียนของเราแล้ว
.
สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องการเรียนรู้การเลี้ยงลูกเชิงบวกแบบ #คอร์สonline ทั้งหมดได้ถูกรวบรวมไว้ในคอร์สจัดเต็ม ซึ่งจัดทำโดยทีมจิตแพทย์เด็กและนักจิตวิทยา ที่ https://www.netpama.com/ มีทั้งคลิปวีดิโอเรื่องราว ตัวอย่างคำพูดที่สามารถนำไปใช้เลยได้จริง โดยเรียนฟรี!ไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ
.
และสำหรับพ่อแม่ที่ต้องการเรียน #คอร์สonsite เพื่อที่จะได้รับ
• ความรู้พัฒนาการเด็กและการสื่อสารที่เหมาะสมกับเด็กแต่ละวัย
• ได้ลองฝึกปฏิบัติจริงแบบ hands-on experience ภายใต้คำแนะนำจากทีมงานผู้เชี่ยวชาญ
• เรียนรู้วิธีการแก้ปัญหา ผ่าน group process กับผู้ปกครองท่านอื่นๆ
• พิเศษ! ทดสอบสกิลการเลี้ยงลูก ด้วยแบบวัดมาตรฐานจากผู้เชี่ยวชาญมูลค่า 790 บาท
สามารถดูรายละเอียดและค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมได้จาก https://bit.ly/3NfYPdO
.
มาเรียนรู้และเติบโตไปด้วยกันกับลูกนะคะ
เน็ตป๊าม้า ขอแนะนำหลักสูตรออนไลน์ สอนเทคนิคเชิงบวกในการปรับพฤติกรรมเด็ก
คอร์สเร่งรัด
เหมาะสำหรับผู้ปกครองที่มีพื้นฐานการปรับพฤติกรรมเด็กเชิงบวกอยู่แล้ว
แต่ต้องการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมเด็กที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น
คอร์สจัดเต็ม
เหมาะสำหรับผู้ปกครองที่ต้องการเรียนรู้และฝึกใช้เทคนิคการปรับพฤติกรรมเด็ก
อย่างเป็นขั้นบันได เพื่อเตรียมพร้อมที่จะนำไปรับมือกับปัญหาพฤติกรรมเด็ก
อย่างมั่นใจ