window.dataLayer = window.dataLayer || []; function gtag(){dataLayer.push(arguments);} gtag('js', new Date()); gtag('config', 'G-HT69D45H8X');
เพราะทุกเหตุการณ์ล้วนหล่อหลอมให้เป็นเรา จงโอบอุ้มในทุกภาคส่วนของตัวเราอย่างภาคภูมิใจ
เมื่อ 2 เดือนที่แล้ว

เพราะทุกเหตุการณ์ (ไม่ว่าจะดีหรือร้าย) ล้วนหล่อหลอมให้เป็นเรา ฉะนั้นจงโอบอุ้มทุกสิ่งที่เกิดขึ้นให้เป็นตัวเราอย่างภาคภูมิใจ
– บทเรียนที่ได้จากหนังจิตวิทยาแห่งปี 2024 “Inside Out 2” -

ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าหนังอนิเมชั่นเรื่องล่าสุดของ Disney x Pixar อย่าง “Inside Out 2 (มหัศจรรย์อารมณ์อลเวง 2)” ถือว่าเป็นหนังที่กำลังฮอตฮิตและมีกระแสตอบรับที่ดีมากจริง ๆ ซึ่งหลังจากที่ #คุณนายข้าวกล่อง ได้ลองเข้าไปชมในโรงแล้ว (หลังจากที่หลบสปอยล์ในโซเชียลอย่างไม่หวาดไม่ไหว) ก็รู้สึกไม่แปลกใจเลยที่หนังจะได้ผลตอบรับดีมากขนาดนี้ เพราะนอกจากหนังเรื่องนี้จะมอบความน่ารัก ความเพลิดแพลิน และความสนุกสนานแก่เด็ก ๆ แล้ว เมสเสจของหนังที่เกิดขึ้นในหลาย ๆ ช็อตยังช่างกินใจ ลึกซึ้ง ทำเอาผู้ใหญ่อย่างเราปลื้มปริ่มและยิ้มไปตาม ๆ กันไม่น้อยเลย

.

โดยหนึ่งในเมสเสจที่เรารู้สึกทัชใจ และอยากแชร์ต่อเด็ก ๆ และชาวผู้ปกครองอย่างเรามาก ๆ นั่นก็คือเรื่องของการ “โอบอุ้มในทุกภาคส่วนของตัวเรา” เพราะส่วนตัวเชื่อว่านี่เป็นหนึ่งใน mindset ที่ดีมาก ๆ ที่หากเราเข้าใจสามารถปฏิบัติต่อตัวเองและได้มีโอกาสบอกสอนลูก เราเชื่อว่าชีวิตเราและลูกคงเติมเต็มและเป็นสุขมากขึ้นจริง ๆ

.

[เนื้อหาต่อจากนี้อาจมีการสปอยล์]

.

มนุษย์เราเป็นสัตว์สังคมที่รักการสร้างตัวตน (Identity) ความต้องการในข้อจำกัดดังกล่าวนี้เลยปลูกฝังทำให้เราพยายามหาความเชื่อจากเรื่องราวต่าง ๆ ในชีวิต นำมาประกอบร่างและสร้างนิยามให้เรามีตัวตนในแบบที่เราอยากเป็น รวมถึงสังคมยอมรับและสอดคล้องกับความเป็นจริงมากที่สุด ซึ่งเมื่อเราได้นิยามความเป็นตัวเราที่เด่นชัดแล้ว ตัวตนนี้ก็จะพยายามขับเคลื่อนการใช้ชีวิตของเรา ทำให้เราพยายามทำ action อะไรหลายอย่างที่สอดคล้องกับความเป็นตัวตน เช่นในเคสของไรลี่ย์ เมื่อไรลี่ย์ได้นิยามกับตัวเองแล้วว่าตนเป็นคนดี ใจดีชอบช่วยเหลือคนอื่น เธอก็จะพยายามปฏิบัติตนในชีวิตให้เป็นเหมือนกับตัวตนที่เธอยึดถือไว้ เพื่อสร้างประสบการณ์ใหม่เพื่อเติมเต็มตัวตนของเราต่อไป

อย่างไรก็ตาม บางทีหากเราเชื่อ ชื่นชอบ หรือยึดถือในตัวตนของเรานี้มาก ๆ มันก็อาจทำให้เราอยากเลือกผลักไสประสบการณ์บางอย่างที่เกิดขึ้นออกไป หรือเลือกที่จะไม่ยอมรับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นว่ามาจากตัวเราได้เหมือนกัน พวกเราเลยอาจมีกลไกลป้องกันตัวเองบางอย่างที่จะผลักเอาประสบการณ์ที่ไม่สอดคล้องกับตัวตนของเราออกไปอย่างรวดเร็ว และเอาไปทิ้งไว้ในส่วนเบื้องลึกของสมอง เพื่อทำให้เราสามารถขับเคลื่อนชีวิตไปพร้อมกับตัวตนที่เราเป็นได้อย่างสมใจอยาก เหมือนกับที่จอย (Joy) ได้สร้างท่อพัง ๆ เพื่อโยนความทรงจำแย่ ๆ ที่ทำให้ตัวตนสั่นคลอนออกไปสู่จิตใต้สำนึก เพื่อปกป้องตัวตนของไรลี่ย์ให้ยังคงเดิมไม่เปลี่ยนแปลง

 

แต่แม้ว่ากลไกนี้จะเกิดขึ้นมาเพื่อช่วยปกป้องตัวตนของเรา แต่เพราะมันเซฟตัวเราจากการเลือกเก็บสิ่งที่ใช่ และเลือก “ปฏิเสธสิ่งที่ไม่ใช่” ออกไป เช่น

เราไม่ใช่คนขี้โมโหกับเรื่องไม่เป็นเรื่องจากการไม่ยอมรับว่าเคยโมโหกับเรื่องไม่เป็นเรื่อง”

“เราไม่เคยทำผิดพลาดจากการไม่ยอมรับว่าเคยทำผิดพลาด”

“เราเป็นคนเก่งจากการไม่ยอมรับว่าเคยไม่เก่ง”

“เราเป็นคนดีจากการไม่ยอมรับว่าเคยเป็นคนไม่ดี”

กลไกนี้เลยสามารถทำให้พวกเรา Suffer กับตนเองได้เหมือนกัน เพราะมันปิดกั้นทำให้เราไม่รู้จักตัวตนที่แท้จริงตั้งแต่แรก

 

การโอบอุ้มในทุกภาคส่วนของความเป็นตัวเรา” จึงกลายเป็นคำตอบที่จอย (Joy) ได้กับตนเองและทีมอารมณ์เพื่อกอบกู้ตัวตนของไรลี่ย์กลับมา หลังจากที่ไรลี่ย์ต้องเจอกับเหตุการณ์การปรับตัวครั้งใหญ่จากการเข้าแคมป์ฮอกกี้ ที่เธอกังวลกลัวว่าจะปรับตัวเข้ากับที่นี่ไม่ได้เป็นอย่างมาก จนทำให้เธอต้องเปลี่ยนตัวตนที่มีอยู่ในวัยเด็ก กลายเป็นไรลี่ย์เวอร์ชั่นใหม่ที่ไร้ซึ่งความสุขและเต็มไปด้วยความกระหายอยากดีพอตลอดเวลาจนเครียดและแพนิคแบบควบคุมไม่ได้

.

เพราะสุดท้ายแล้วมัน ไม่ได้มีแค่ประสบการณ์ที่ดีที่หล่อหลอมความเป็นเรา
แต่มันมี ประสบการณ์ที่ไม่ดีที่ก็หล่อหลอมความเป็นเรา
อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้จริง ๆ

ซึ่งมันก็ไม่ได้แปลว่าการถูกหล่อหลอมด้วยประสบการณ์ที่แย่จะทำให้เรากลายเป็นคนแย่ เพราะสุดท้ายแล้วจากความจริงนี้มันก็คงไม่มีใครดีหรือแย่ร้อยเปอร์เซ็นต์ ทุกคนล้วนเป็นสีเทาที่เต็มไปด้วยความร่องรอยประสบการณ์ที่ไม่มีวันเหมือนใคร

.

การที่เรามี mindset ในการโอบอุ้มในทุกภาคส่วนของตัวเรา จึงเป็นสิ่งที่ “จริง” ที่สุดของการสร้างตัวตนความเป็นเรา เพราะฉะนั้นเวลาเราเจอประสบการณ์แย่ ๆ ในชีวิต (ที่อาจทำให้เราคิดว่าเราเป็นคนไม่ดี หรือเป็นประสบการณ์ที่เต็มไปด้วยอารมณ์เชิงลบที่ไม่น่าจดจำ) มันอาจ “ไม่เป็นไรเลยที่จะหยิบสิ่งนั้นเข้ามาสู่ตัวเรา” เพราะสุดท้ายมันคงปฏิเสธได้ยากว่ามันจะไม่เกิดขึ้นกับเราและฟอร์มกลายเป็นเรา และหากมันเกิดขึ้นกับเรา....มันก็ไม่ได้เสียหายอะไรเลยจริง ๆ เพราะบางทีมันก็เข้าใจได้มาก ๆ ว่าเราจะ “เป็นคนขี้โมโหกับเรื่องไม่เป็นเรื่อง” “เป็นคนกลัวความผิดพลาด” “เป็นคนไม่เก่ง” หรือ “เป็นคนไม่ดี” ได้อย่างสวยงามเหมือนกัน ????

.

และหากใครอยากศึกษาถึง mindset หรือสกิลอื่น ๆ ที่ควรปลูกฝังให้กับลูก ๆ เพิ่มเติม สามารถเข้ามาศึกษาต่อได้ฟรีเลยที่ www.netpama.com

 

 บทความโดย คุณนายข้าวกล่อง

หมวดหมู่ทั้งหมด

NET PaMa