เมื่อวิธีการเลี้ยงหลานของปู่ย่าตายายกลายเป็นความขัดแย้งในครอบครัว
“ปู่ย่าตายายเลี้ยงตามใจให้ท้ายหลานจนเสียนิสัย ให้แต่ดูมือถือ พูดเข้าหน่อยก็หงุดหงิด เถียงกลับเบื่อพวกเลี้ยงลูกตามหมอตามตำรา เลี้ยงได้ดีกว่าก็มาเลี้ยงเอง”
ปัญหาหนักใจของหลายบ้าน ด้วยความเชื่อและวิธีเลี้ยงดูที่แตกต่างกันระหว่างพ่อแม่และปู่ย่าตายาย นานวันความไม่เข้าใจกันยิ่งสะสม กระทบกระทั่งกลายเป็นความขัดแย้งกระทบความสัมพันธ์ในครอบครัว
ทุกปัญหาแก้ไขได้หากเราเข้าใจสาเหตุ
#ทำไมปู่ย่าตายายถึงตามใจหลาน
พ่อแม่ที่เลี้ยงลูกเองทุกคนย่อมรู้ การเลี้ยงเด็กไม่ใช่เรื่องง่ายและเหนื่อยมาก ทำไมผู้ใหญ่วัยเกษียณถึงอยากเลี้ยงเด็กคนหนึ่ง เอาอกเอาใจสาระพัด ตามใจยิ่งกว่าตอนเลี้ยงลูกตัวเอง
คำตอบคือเพราะ “รัก” รักหลานสุดหัวใจ รักเพราะเด็กคนนั้นคือลูกของ “เรา” คนที่พวกท่าน “รักที่สุด”เช่นกัน
เลี้ยงหลานถึงจะเหนื่อยแต่ก็รัก ตามใจเพราะอยากให้หลานรักตอบ เลี้ยงไม่ไหว แต่อยากช่วยเลี้ยงขอใช้มือถือช่วย เพราะสมัยก่อนไม่มีข้อมูลการเลี้ยงลูก และผลการใช้มือถือต่อสมองเด็ก ทุกคนต่างเลี้ยงตามประสบการณ์ และมักถือเอาความเชื่อที่ตัวเองรู้มาว่าถูกต้องเสมอ
แม้แต่ตัวเราเองที่ศึกษามาแล้วแต่ก็อาจทำผิดพลาดได้บ้าง กับปู่ย่าตายายที่มีความรู้และความเชื่อในการเลี้ยงลูกที่ต่างกับเรา ไม่เป็นอย่างที่เราคาดหวังที่ผ่านมาเราแก้ปัญหาอย่างไร
#อารมณ์และความรู้สึกมักสะท้อนเป็นการกระทำ
ยืนยันว่าไม่ใช่เรื่องผิดเลย ที่แม่ทุกคนอยากให้ลูกได้รับการเลี้ยงดูที่ดีที่สุดตามความรู้ที่แม่มี วิถีที่แม่เชื่อ แต่การที่ปล่อยให้อารมณ์อยู่เหนือเหตุผล อาจทำให้เราแสดงออกโดยชักสีหน้า ทำท่าเบื่อหน่าย ตำหนิ ขึ้นเสียง สอนและสั่งปู่ย่าตายายด้วยท่าทีที่ไม่เหมาะสม โดยเราอาจไม่รู้ตัวและไม่ได้ตั้งใจก็ตาม
ใจเขาใจเรา หากเราทุ่มเทเลี้ยงลูกเหนื่อยมากโดยคิดว่าเราทำเต็มที่แล้ว แต่กลับได้รับแต่คำตำหนิ ต่อว่า เรารู้สึกอย่างไร ?
#คนเราทุกคนต้องการความรักและการยอมรับโดยเฉพาะกับคนที่เรารัก
ขอแค่เราเข้าใจว่าการตามใจของปู่ย่าตายายนั้นมาจาก ”ความรัก“ และ“ความไม่รู้“ เมื่อเกิดความขัดแย้ง เราจะใช้ “ความรักความเข้าใจ“ มาเป็นที่ตั้ง
#เข้าใจไม่ได้หมายความว่าต้องตามใจปู่ย่าตายายทุกอย่าง** เพราะสุดท้ายความรับผิดชอบในการบ่มเพาะนิสัยที่ดีการสร้างระเบียบวินัยต่างๆให้ลูก นั่นคือ“หน้าที่ของพ่อแม่”โดยไม่มีข้อแม้
แต่ความเข้าใจจะส่งผลต่ออารมณ์และท่าที ทำให้เรา #เลือกใช้วิธีการสื่อสารกับปู่ย่าตายายที่ถูกต้องเหมาะสม
สื่อสารโน้มน้าวอย่างไรให้ปู่ย่าตายายเปิดใจรับฟัง
- เริ่มต้นด้วยคำขอบคุณ ขอบคุณคุณปู่ย่าตายายที่รักหลาน ขอบคุณที่ช่วยเลี้ยงลูกให้เรา ขอบคุณยอมเหนื่อยเพื่อเรา
- ต่อด้วยการชื่นชม โดยชมในสิ่งที่เป็นจริง ชมอย่างจริงใจเพื่อเป็นกำลังใจ ”แม่ช่วยหนูเลี้ยงหลานอย่างดี เสื้อผ้าหลานสะอาดสะอ้าน ทำอาหารดีๆ อร่อยๆ ให้หลานทุกวัน หนูกับหลานโชคดีจริงๆ ที่มีแม่” ( สามารถศึกษาเพิ่มเติมในจากคอร์สจัดเต็มบทที่ 3 เทคนิคการชม https://www.netpama.com
- พูดคุยถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับลูก พูดคุยรับฟังความรู้สึกของแต่ละฝ่าย ขอความร่วมมือและความช่วยเหลือโดยไม่กล่าวโทษว่าเป็นความผิดของใคร หลีกเลี่ยงการตำหนิปู่ย่าตายายเพื่อลดการต่อต้าน (สามารถศึกษาเพิ่มเติมในจากคอร์สจัดเต็มบทที่ 2 ทักษะพื้นฐานในการสื่อสาร https://www.netpama.com
“หนูรู้ว่า คุณยายรักหลานมาก (เข้าใจความรู้สึกยาย) หนูไปทำงานสบายใจเพราะมียายช่วยเลี้ยงให้ (ชื่นชม ) แต่ตอนนี้ หนูไม่สบายใจที่หลานดื้อ โวยวาย ทำให้คุณยายเหนื่อย หนูอยากให้พวกเราช่วยกันปรับให้แกน่ารัก ไปไหนใครๆก็รักและเอ็นดูหลาน แม่คิดว่าอย่างไรคะ (ให้เกียรติขอคำปรึกษา)“
- แชร์ข้อมูลการเลี้ยงลูกค่อยๆพูดคุยปรับทัศนคติให้ตรงกัน ยืดหยุ่นและปล่อยวางในบางเรื่องที่เราสามารถยอมได้บ้างเพราะเป็นเรื่องยากที่จะทุกอย่างให้ได้ดั่งใจ หากไม่เราไม่ได้ลงมือเอง ส่งต่อบทความเลี้ยงลูกดีๆเพื่อให้ข้อมูลการเลี้ยงลูกและเข้าใจไปในทางเดียวกัน ( สามารถอ่านบทความเลี้ยงลูกมากมายได้ที่ห้องสมุด Netpama
- ปฏิบัติต่อกันด้วยความเคารพ อย่าหักหาญน้ำใจ หรือนินทาปู่ย่าตายายกับลูก เพราะลูกจะดูตัวอย่างและเลียนแบบจากที่เราทำมากกว่าฟังที่เราสอนเสมอ
บ้านไหนที่พบปัญหาการเลี้ยงดูที่แตกต่างกับปู่ย่าตายายจนเกิดเป็นปัญหากับลูก และต้องการหาทางออก สามารถเลือกเข้าไปศึกษาต่อในคอร์สเร่งรัด ที่ใช้เวลาเพียง 30 นาทีของทาง Netpama หัวข้อ“ครอบครัวของพีท” มีปัญหาพฤติกรรมกรี๊ดและโวยวายเพราะคุณยายตามใจ
.
ส่วนคอร์สจัดเต็มของทาง Net PAMA นั้น สามารถนำไปปรับใช้กับในทุกสถานการณ์ในชีวิตประจำวันเพื่อสร้างและช่วยแก้ไขให้ลูกให้เติบโตอย่างมั่นคงและมีคุณภาพโดยคงความสัมพันธ์ที่ดีในครอบครัว รับรองว่าเวลาที่พ่อแม่ใช้เรียนไปไม่เสียเปล่าแน่นอน
.
โดยทุกคอร์สสามารถลงทะเบียนเรียนฟรี ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ได้ที่ www.netpama.com ค่ะ
และสามารถติดตามชม Live ต่าง Gen ต่างใจ เลี้ยงลูกหลานอย่างไรให้สุขทุกฝ่าย ได้ที่ Net PAMA Live : ต่าง GEN ต่างใจ เลี้ยงลูกหลานอย่างไรให้สุขทุกฝ่าย
บทความโดย มัมมี่Bชวนเมาท์