เราจะหยุดส่งต่อความเจ็บปวดจากครอบครัว สู่รุ่นลูกได้อย่างไร ?
เราจะหยุดส่งต่อความเจ็บปวดจากครอบครัว
สู่รุ่นลูกได้อย่างไร ?
หยุดการส่งต่อพิษจากปัญหาครอบครัว
เพราะ ”เราและลูก” เกิดมาเพื่อ "มีชีวิต"
ไม่ได้เกิดมาเพื่อเป็น“เหยื่อ"
เด็กคนหนึ่งจะเติบโตมาเป็นคนแบบไหน นอกจากพื้นอารมณ์ที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด ความสัมพันธ์ในครอบครัว สภาพแวดล้อมในบ้าน นิสัยของพ่อแม่และวิธีการเลี้ยงดูมีผลอย่างมากต่อจิตใจและนิสัยของลูก
.
ลูกเกิดมาเพื่อใช้ชีวิตเติบโตบนโลกใบนี้ ซึ่งนอกจากปัจจัยพื้นฐาน เช่น อาหาร ยา ที่อยู่ สิ่งสำคัญอย่างยิ่งที่ลูกต้องการและมีผลอย่างมากต่อชีวิตของเขา คือ ความรักความอบอุ่น (love) ตัวตน (self) ความรู้สึกมั่นคงปลอดภัย และการไว้ใจต่อโลก (trust) ที่จะทำให้เขาเติบโตใช้ชีวิตต่อไปได้อย่างมั่นใจและถูกต้อง
.
และคนแรกที่จะมอบสิ่งเหล่านี้ให้เขาได้นั้น คือ “ครอบครัว ”
.
ครอบครัวที่บกพร่อง (dysfunctional family) เป็นครอบครัวที่มีปัญหาโดยเฉพาะในด้านความสัมพันธ์ คนในครอบครัวไม่ทำหน้าที่ของตัวเอง หรือทำหน้าที่ด้วยวิธีที่ไม่ถูกต้อง ไม่สามารถมอบความรัก ความสุข ความมั่นคงปลอดภัยทางร่างกายและจิตใจ ซึ่งเป็นความต้องการพื้นฐานให้กับลูกและคนในครอบครัวได้
.
#เพราะลูกคือกระจกสะท้อนพ่อแม่และครอบครัว
.
เด็กที่เกิดมาในครอบครัวที่บกพร่องขาดความรักและความสุขจะ #ขาดรากฐานสำคัญที่จะยึดเหนี่ยวใจ โหยหาความรัก และการยอมรับ หวาดกลัว จิตใจไม่มั่นคง อ่อนไหวง่าย ขี้ระแวง อ่อนแอ เปราะบาง
.
เด็กหลายคนกลายเป็นคนหัวร้อนหงุดหงิดง่าย ก้าวร้าวใช้ชีวิตผิดทิศทาง #ไม่รักและเคารพตนเองและผู้อื่นเนื่องจากเขาไม่เคยรู้จักและได้รับมัน
.
เด็กที่โตมากับความรุนแรง จะมองความรุนแรงเป็นเรื่องปกติ เคยชินทั้งในฐานะของผู้กระทำและถูกกระทำ ก่อความรุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนอาจกลายเป็นอาชญากรรม
.
และที่สำคัญพวกเขา #มักจะส่งต่อการกระทำและความรู้สึกลบๆเหล่านี้ ไปกับคนรอบข้างและความสัมพันธ์อื่นของตนเองโดยไม่รู้ตัว ซึ่งทำให้เป็นปัญหาในการใช้ชีวิตกับทั้งตนเอง ครอบครัวและสังคมรอบข้าง
.
ตัวอย่างของพ่อแม่และครอบครัวที่บกพร่องมีลักษณะดังนี้
.
- พ่อแม่ที่ไม่เลี้ยงดูมอบความรัก ทอดทิ้ง ปล่อยปะละเลย ผลักภาระหน้าที่เลี้ยงดูให้ผู้อื่น เช่น ปู่ย่าตายาย ไม่ทำหน้าที่ที่พ่อแม่พึงกระทำ ทำให้ลูกขาดความรัก รู้สึกตนเองไร้ค่า โหยหาความรัก เรียกร้องความสนใจโดยไม่สนใจว่าสิ่งที่ทำถูกหรือผิด
.
- ใช้ความรุนแรงในครอบครัวทุกรูปแบบ (domestic violence) ทั้งทางร่ายกาย วาจา หรือ ทางอารมณ์และจิตใจ เช่น การด่าทอ และทุบตี หรือ แม้แต่ การขู่ประจาน ทำให้อับอาย การล่วงละเมิด สร้างบาดแผลทั้งทางร่างกายและจิตใจไม่ว่าจะระหว่างสามีภรรยาหรือกับลูก
.
- ครอบครัวที่มีปัญหาทางความสัมพันธ์เรื้อรัง บรรยากาศในบ้านเต็มไปด้วยความขัดแย้ง หงุดหงิด ทะเลาะเบาะแว้ง บ้านร้อนรุ่ม ประชดเสียดสี คนในบ้านไม่เคารพกันจนกลายเป็นความเคยชิน สิ่งเหล่านี้ไม่เคยปกติในความรู้สึกของลูกหลานเลย
.
- ครอบครัวที่หมางเมินใส่กัน ไม่แสดงความรัก พ่อแม่มีปัญหาการนอกใจ เฉยชา ขึ้งเครียด โดยมักจะให้เหตุผลว่า “ทนอยู่กันเพื่อลูก” ยิ่งทำให้ลูกทุกข์โดยมักมีความรู้สึกว่า ตนเป็นตัวปัญหาทำให้พ่อแม่และครอบครัวไม่มีความสุข
.
- พ่อแม่ที่ใช้สารเสพติดและอบายมุข เช่น ติดเหล้า สารเสพติดและการพนัน ไม่สามารถทำหน้าที่พ่อแม่และไม่สามารถควบคุมตนเองได้
.
- พ่อแม่ที่ใช้อำนาจในการออกคำสั่งแทนการแสดงออกทางความรัก หรือใช้ความรักเป็นเงื่อนไข ครอบงำและบงการควบคุมลูกมากจนเกินไป ลงโทษรุนแรง หรือการกดดันด้วยคำพูดและการกระทำ ไม่เข้าใจและไม่รับฟัง ไม่เปิดโอกาสให้ลูกได้ใช้ชีวิตของตัวเอง
.
- คาดหวังกับลูกสูงเกินศักยภาพของเขา กดดันเปรียบเทียบ ลดทอนตัวตนและความมั่นใจจนกระทั่งลูกรู้สึกไร้ค่า การคาดหวังไม่ใช่สิ่งผิด การใช้ชีวิตแบบมีเป้าหมายคือสิ่งที่ดี แต่ควรคาดหวังและสนับสนุนลูก ให้กำลังใจตรงกับศักยภาพของเขา
ปัญหาและความบกพร่องของครอบครัวนั้นไม่ใช่ “คำสาป” แต่เป็นผลที่เกิดจากการกระทำ
และเกิดจากการส่งต่อกันจากรุ่นสู่รุ่นโดยอาจจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม
.
หมั่นทบทวนตัวเองและยอมรับหากมีจุดไหนที่เราพลาดพลั้งไปอาจด้วยความไม่รู้ เพราะ “ทุกการกระทำของพ่อแม่ล้วนมีราคาที่ต้องจ่าย”
.
เราทุกคนเลือกเกิดไม่ได้ และไม่สามารถแก้ไขอดีตได้
แต่เรามีสิทธิ์ที่จะกำหนดชีวิตของตัวเราและครอบครัวของเราทั้งในปัจจุบันและอนาคต
.
แม้อาจจะต้องทนทุกข์และเจ็บปวดกับอดีตที่ผ่านมา ขอให้โอบกอดเมตตาตัวเอง ใช้พลังใจและสติปลดปล่อยและดึงตัวเราขึ้นมา
.
ยอมรับอดีตเพื่อหาทางเยียวยา รู้เท่าทันเพื่อหยุดการส่งต่อความเจ็บปวดเหล่านี้ไปให้กับผู้อื่นโดยเฉพาะ “คนที่เรารักและรักเรามาก”
.
เผชิญหน้าเพื่อที่จะเปลี่ยนแปลงแก้ไขในสิ่งที่เราทำได้ หากเกินใจรับไหว สามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญเพื่อให้คำปรึกษาและช่วยเหลือ
.
“เพราะเราทุกคนสมควรที่ใช้ชีวิตอย่างมีความสุข ”
.
ขอโอกาสให้ Netpama เป็นกำลังใจและเพื่อนร่วมทางไปกับทุกครอบครัวนะคะ ♥️
สำหรับคุณพ่อคุณแม่ที่ต้องการสร้างครอบครัวในเชิงบวก สามารถมาเรียนรู้หลักการเลี้ยงลูกเชิงบวกโดยไม่มีค่าใช้จ่ายได้ที่ www.netpama.com ค่ะ