window.dataLayer = window.dataLayer || []; function gtag(){dataLayer.push(arguments);} gtag('js', new Date()); gtag('config', 'G-HT69D45H8X');

เพราะพ่อแม่ใช้ “คำสั่ง” ให้ลูกรักกันไม่ได้ ควรเลี้ยงอย่างไรให้ลูกรักกัน

เมื่อ 10 เดือนที่แล้ว

ในวันที่ลูกมีพี่น้อง สิ่งที่พวกเราพ่อแม่อยากเห็น คือ ลูกรักและสามัคคีกัน เป็นเพื่อนเล่น เพื่อนคู่คิด แบ่งปันดูแลกัน โดยเฉพาะในวันที่เราไม่สามารถอยู่กับพวกเขาได้อีกต่อไป


#มัมมี่Bชวนเมาท์ เชื่อว่า ใคร ๆ ก็รู้ว่า ความรักไม่สามารถบังคับกันได้ และความรักระหว่างพี่น้องก็เช่นกัน ความรักเป็นความรู้สึกที่ค่อย ๆ สะสมในทุก ๆ วันที่ลูกได้ใช้ชีวิตร่วมทุกข์ร่วมสุข ผูกพัน เรียนรู้เข้าใจ ทะเลาะกันได้แต่รู้จักปรับความเข้าใจกัน 


และ พ่อแม่ คือ“คนสำคัญ” ซึ่งมีอิทธิพลทางใจกับลูกอย่างที่สุด คำพูดและการกระทำของพ่อแม่จึงมีผลอย่างมากต่อความรู้สึกระหว่างพี่น้อง 


แนวทางแนะนำสำหรับพ่อแม่ที่จะเลี้ยงดูให้ลูกของเรารักกันได้ ดังนี้..

  • เพราะรู้สึกเป็นที่รักจึงจะรู้จักการส่งต่อความรัก รักและให้ความสำคัญกับความรู้สึกพี่ให้มาก สื่อสารให้พี่ได้เตรียมตัวและใจให้พร้อมก่อนวันที่น้องจะเกิดว่า “น้องกำลังจะมาเติมเต็มความสุขให้กับเขา”
  • ปกป้องใจพี่จากคำหยอกล้อ เช่น  ”หมาหัวเน่า“  ด้วยความเคารพแต่หนักแน่นทันทีต่อหน้าพี่ “มันไม่จริงถึงจะมีน้องแม่ก็รักลูกเหมือนเดิม ขอคุณยายอย่าพูดแบบนี้อีก หนูไม่ชอบเลยค่ะ ” และพ่อแม่ควรระวังไม่ทำเสียเองด้วย เช่น “หนูดื้อแบบนี้ แม่รักน้องดีกว่า ”
  • ให้ความสำคัญและการมีส่วนร่วม ความภูมิใจในฐานะพี่ เช่น เลือกข้าวของ เตรียมห้องให้น้อง ใครจะดูน้องสามารถมาขออนุญาติจากพี่ก่อน ไม่แยกเขาออกไปจากพ่อแม่เมื่อมีน้อง เพราะน้องมาเพื่อเติมเต็ม ไม่ใช่เพื่อแย่งชิงพ่อแม่จากเขาไป
  • สอนให้ลูกรู้จักแบ่งปันกันคือสิ่งดี แต่ทั้งนี้ ทุกคนมีสิทธิ์ในความเป็นเจ้าของ หากอยากได้ของผู้อื่นต้องขออนุญาติ อย่าบังคับจิตใจให้ใครต้องเสียสละ ไม่ว่าจะเป็นพี่หรือน้องก็ตาม
  • ม่ตัดสินถูกผิดในวันที่พี่น้องทะเลาะกัน พ่อแม่สามารถเป็นคนกลางรับฟังแต่ละฝ่ายเรียบเรียงเรื่องราวแต่เพื่อให้ลูก ๆ เรียนรู้และตกลงกันเองให้ได้ ภายใต้กฎ ไม่ทำร้ายตัวเอง ไม่ทำร้ายคนอื่น และไม่ทำลายข้าวของ
  • ไม่เปรียบเทียบลูก เพราะเด็กแต่ละคนไม่เหมือนกัน ลูกรักเราในแบบที่เราเป็น เราก็ควรรักลูกในแบบที่เขาเป็นเช่นกัน รักและสนับสนุนลูกให้เหมาะกับศักยภาพของตัวเขาเอง
  • ไม่ลำเอียง  แสดงออกถึงความรักให้ลูกเท่ากัน ซึ่งในบางครั้งเราเองอาจไม่ตั้งใจหรือไม่รู้ตัวก็ตาม เช่น เปรียบเทียบลูก ต่อว่าหรือชื่นชมลูกคนใดหนึ่งเป็นพิเศษ โอ๋ หรือห่วงลูกคนใดคนหนึ่งเป็นพิเศษ ใช้งานแค่คนใดคนหนึ่ง บังคับให้ต้องเสียสละ หรือปฏิบัติกับลูกแต่ละคนไม่เหมือนกัน
  • สลับกันหาเวลาส่วนตัวให้ลูกแต่ละคน เวลาที่มีแต่พ่อแม่และเขา เพื่อที่ลูกจะยังคงรู้สึกได้ถึงความสำคัญของตัวเองเสมอ ถึงแม้จะมีพี่น้องก็ตาม 

“โชคดีที่มีพี่น้อง…ดีจังที่เห็นลูกรักกัน ”

ความรู้สึกเหล่านี้จะทำให้เราและลูกมีความสุขที่สุด และพวกเราทำได้ค่ะ ♥️



สำหรับคุณพ่อคุณแม่ท่านใด ที่ต้องการเรียนรู้แนวทางการเลี้ยงลูกเชิงบวก สื่อสารและปฎิบัติให้ลูกทุกคนรู้สึกเป็นคนสำคัญ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน สามารถเข้าไปเรียนที่ website ได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย ที่ www.netpama.com  มีทั้งคลิปละคร ตัวอย่างคำพูด มีแบบฝึกหัดให้ลองทำ เข้าใจง่ายใช้จริงในชีวิตประจำวันค่ะ ♥️



บทความโดย มัมมี่Bชวนเมาท์

หมวดหมู่ทั้งหมด

NET PaMa