รู้จัก Self-Compassion – การ ‘ใจดีกับตัวเองเหมือนที่ใจดีกันผู้อื่น’ สกิลสำคัญสำหรับการใช้ชีวิตทั้งในเด็กและผู้ใหญ่
#PositivePsyTalks
รู้จัก Self-Compassion – การ ‘ใจดีกับตัวเองเหมือนที่ใจดีกันผู้อื่น’
สกิลสำคัญสำหรับการใช้ชีวิตทั้งในเด็กและผู้ใหญ่
.
เชื่อผู้ปกครองหลาย ๆ ท่านอาจจะเคยได้ยินคำว่า self-esteem (ความเชื่อมั่นในตัวเอง) self-confidence (ควคามมั่นใจในตัวเอง) หรือ self-love (การรักตัวเอง) การมาบ้าง เพราะมันเป็นสกิลที่สำคัญทั้งต่อเด็กและผู้ใหญ่ ที่เราก็ล้วนแต่อยากปลูกฝังให้เด็ก ๆ ได้มีติดตัว แต่ในวันนี้เราจะมาพูดถึงสกิลลับอีกหนึ่งอัน ที่อาจจะไม่ได้เป็นที่แพร่หลายหรือเป็นที่รู้จักมากเท่าไหร่นัก แต่ก็เป็นอีกสกิลหนึ่งที่ใหม่ มาแรง และสำคัญมากสำหรับพวกเราเลยไม่แพ้กัน สกิลลับนั้นก็คือเรื่องของ self-compassion หรือ ‘การเห็นอกเห็นใจตัวเอง’ นั่นเอง
.
Self-compassion หรือการเห็นอกเห็นใจตัวเอง คือทักษะที่ทำให้บุคคลสามารถรู้จัก ‘ใจดีกับตัวเอง’ เป็นเวลาเราต้องเผชิญหน้ากับความยากลำบาก ที่บางทีอาจจะทำให้มีความคิดข้างในลึก ๆ ว่า ‘เราไม่ดีพอ’ จนบางทีก็อาจจะทำให้รู้สึกโกรธตัวเอง เกลียดตัวเอง หรือเสียใจกับตัวเอง มันคือความสามารถที่จะค่อย ๆ โอบกอดความไม่ดีในตัวเองนั้น ค่อย ๆ ยอมรับความไม่ดีกับตัวเองนั้น และค่อย ๆ ให้อภัยกับสิ่งนั้นเพื่อปลดปล่อยมันให้ได้เรียนรู้และเติบโตไปในทิศทางที่ดีขึ้นพร้อมกับเราด้วยรอยยิ้มและความอ่อนโยน
.
บ่อยครั้ง เวลาเราเห็นเพื่อน ๆ หรือคนใกล้ตัวเราเศร้าใจหรือท้อใจจากความล้มเหลว เรามักจะชอบเข้าไปอยู่ข้าง ๆ คอยรับฟังเรื่องราวอึดอัดใจของเขา และค่อย ๆ บอกให้เพื่อนใจดีกับตัวเองมากขึ้นพร้อมกับให้กำลังใจ หลักการของการเห็นอกเห็นใจตัวเองนี้ก็เหมือนกันกับเวลาเราบอกให้เพื่อนให้อภัยตัวเองหรือใจดีกับตัวเองเลย! นั่นก็คือเวลาที่เราประสบดับความล้มเหลว เราอาจเริ่มต้นจากการเข้าไปฟังเสียงหัวใจ ความคิด ความอึดอัดใจของตัวเองก่อนอย่างตั้งใจ จากนั้นก็ค่อย ๆ สร้างสานสัมพันธ์ที่ดีแก่ความรู้สึก ความคิด หรือความรู้สึกนั้น ค่อย ๆ โอบกอดมันไว้อย่างอ่อนโยน ทำความเข้าใจความรู้สึกนั้นในหลาย ๆ มุมมองอย่างใจดีกับมัน และสุดท้ายก็บอกกับตัวเองว่าไม่เป็นไร กล้าให้อภัยตัวเองสักหน่อย และค่อย ๆ เริ่มต้นฮึดสู้ใหม่อีกครั้ง หรือหากพูดง่าย ๆ ก็คือ การที่เรารู้จักใจดีกับตัวเอง เหมือนกับที่เราใจดีกับคนอื่นนั่นแหละ’
.
Self-compassion ถือว่าเป็นสกิลที่ถูกค้นพบว่าช่วยเสริมสร้างแรงกายแรงใจอย่างมาก ผลการรีวิวงานวิจัยที่เกี่ยวกับ self-compassion อย่างเป็นระบบกว่า 98 งาน พบว่า self-compassion มีความสัมพันธ์กับการมีการแสดงความคิดหรือพฤติกรรมสื่อให้เห็นถึงความผิดปกติทางจิตที่ลดลง รวมถึงสัมพันธ์กับการมีสุขภาวะโดยรวมที่ดีทั้งในผู้ใหญ่และวัยรุ่น และยังทำให้บุคคลมีความวิตกกังวลและซึมเศร้าที่ลดลงด้วย และสำหรับในเด็กเล็กวัยอนุบาล งานวิจัยล่าสุดของ Cassidy และคณะยังพบด้วยว่า self-compassion ดูเหมือนจะมีบทบาทช่วยลดความเครียดจากความคาดหวังในการเรียน (Academic Expectation Stress) ได้อีกด้วย เนื่องจากพบว่าเด็กที่ใจดีกับตัวเองเป็นนั้นไม่ค่อยประสบกับความเครียดจากความคาดหวังในการเรียนสักเท่าไหร่ สิ่งเหล่านี้จึงทำให้เห็นว่า self-compassion นี้ดูเหมือนเป็นสกิลที่น่าสนใจมากเลยทีเดียว แถมดูสร้างคุณประโยชน์ให้กับพวกเราหลากหลายอายุ ไม่เว้นกระทั่งวัยเด็กอนุบาล
.
มาจนถึงจุดนี้แล้ว เชื่อเลยว่าผู้ปกครองหลายคนคงอยากทราบเหลือเกินว่า แล้วเรา #ในฐานะพ่อแม่ จะช่วยเสริมสร้าง self-compassion นี้ให้กับลูกของเราอย่างไรได้บ้าง? ซึ่งวันนี้เราเอาวิธีการอ้างอิงมาจาก https://raisingchildren.net.au/school-age/health-daily-care/mental-health/self-compassion-young-children โดยเราสามารถเสริมสร้าง self-compassion ให้กับลูกของเราได้จาก 3 step นี้ ได้แก่
.
- จับสังเกตอารมณ์ของลูกก่อน! – เริ่มต้นจากการสังเกตความรู้สึกที่เกิดขึ้นเมื่อลูกของเราประสบความล้มเหลว ลูกอาจจะเกิดความรู้สึกโกรธ นอยด์ หรือรู้สึกแย่กับตัวเองมาก ๆ ซึ่งนี่เป็นสัญญาณของการที่เขาเริ่มใจร้ายกับตัวเอง เริ่มกดดันกับตัวเองมากจนเกินไป (ที่ ๆ self-compassion สามารถเข้ามามีบทบาทได้นั่นเอง!)
- การที่เราล้มเหลว ไม่ได้แปลว่าเราจำเป็นต้องลงโทษเพื่อพัฒนาตัวเองเสมอไป – ค่อย ๆ อธิบายบอกลูกว่าความล้มเหลวนี้เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ เราทุกคนล้วนต้องเจอบางสิ่งที่ยากสำหรับตนเอง และมันก็คงไม่แปลกเลยที่เราจะโกรธเพราะเราอยากเอาชนะมันหรือเราอยากทำให้มันดีมาก ๆ แต่การล้มเหลวของเราไม่ได้แปลว่าเราจำเป็นต้องลงโทษตัวเองและใจร้ายกับตัวเองเพื่อทำให้เราพัฒนาตัวเอง เราสามารถปลอบประโลมตัวเองแทนได้เพื่อทำให้เราเรียนรู้เติบโตจากความผิดพลาดนั้นอย่างนุ่มนวลและสวยงาม
- ส่งเสริมการพูดสิ่งดี ๆ แก่ตัวเอง – เราอาจจะกระตุ้นหรือส่งเสริมให้ลูกรู้จักพูดสิ่งดี ๆ แก่ตนเองเพิ่มเติมด้วยก็ได้ ยกตัวอย่างเช่น
‘แม้มันจะพลาดหรือล้มเหลว แต่ฉันก็ภูมิใจเพราะได้ทำเต็มที่ที่สุดแล้ว’
‘เราต่างก็พลาดกันได้เป็นเรื่องปกติ ไม่มีใครเติบโตจากความไม่ผิดพลาด’
‘ไม่เป็นไร ครั้งหน้าค่อยเอาใหม่นะ’
.
และหากผู้ปกครองสนใจการเลี้ยงดูที่ช่วยส่งเสริมทักษะที่สำคัญต่อการใช้ชีวิต หรือช่วยเสริมสร้างจุดแข็งของลูกเพิ่มเติม สามารถเข้ามาศึกษกันได้ฟรีเลยที่ www.netpama.com
.
บทความโดย: คุณนายข้าวกล่อง
.
ที่มา
.
Cassidy, T., & Boulos, A. (2023). Academic Expectations and Well-Being in School Children. Journal of Child and Family Studies, 1-13.
Karen Bluth & Kristin D. Neff (2018): New frontiers in understanding the benefits of self-compassion, Self and Identity, DOI: 10.1080/15298868.2018.1508494
https://www.health.harvard.edu/healthbeat/the-power-of-self-compassion
https://positivepsychology.com/self-compassion-self-love/