สอนลูก(ทำการบ้าน)อย่างไรดี (ตอนจบ)
เมื่อ 2 ปีที่แล้ว
ในที่สุดเราเดินทางมาถึงตอนสุดท้ายสำหรับเทคนิคการสอนลูก(ทำการบ้าน)แล้วนะคะ ทั้งคุณพ่อคุณแม่และเด็ก ๆ ตอนนี้ก็เริ่มเชี่ยวชาญในการทำการบ้านมากขึ้นแล้ว สิ่งที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่จะลืมไปไม่ได้เลยก็คือ ‘กำหนดส่งงาน’ ค่ะ ดังนั้นเทคนิคสุดท้ายที่คุณครูขอเสนอก็คือ “ปฏิทินของฉัน” ค่ะ “ปฏิทินของฉัน” คือ ตัวช่วยสำคัญในการย้ำเตือนถึงกำหนดเวลาในการส่งงาน นอกจากนี้ยังช่วยให้เด็ก ๆ ได้รู้จักวางแผนการทำการบ้าน รวมไปถึงงานต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสมมากขึ้นค่ะ
✏️ อุปกรณ์ :
1. ปฏิทินขนาดประมาณ A4 หรือใหญ่กว่า / กระดาษ A4 หรือกระดาษโปสเตอร์ (ทำปฏิทินด้วยตนเอง)
2. ปากกาสี
3. สติ๊กเกอร์ (ถ้ามี)
เมื่อเตรียมอุปกรณ์ครบแล้วเราก็จะเริ่มใส่ภาระงานลงไปในปฏิทิน โดยสามารถทำได้ดังนี้ค่ะ
1. นำปฏิทินติดไว้ในบริเวณที่มองเห็นได้ง่าย เช่น โต๊ะเขียนหนังสือ ผนังห้องนอน เป็นต้น
2. เขียนงานที่ได้รับมอบหมายลงไปในปฏิทินให้ตรงกับวันที่ส่งงาน โดยใช้ปากกาคนละสีหรืออย่างน้อย 3 สี เช่น ส่งเรียงความภาษาไทย (ปากกาสีแดง) ส่งงานภาษาอังกฤษ (ปากกาสีน้ำเงิน) กำหนดส่งวันที่ 4 เมษายน เป็นต้น
3. จัดลำดับความสำคัญ (ผู้ปกครองสามารถชวนเด็ก ๆ จัดลำดับความสำคัญของงานโดยคำนึงถึง ปริมาณของงาน ระยะเวลาที่มี เป็นต้น)
4. ใส่ชื่องานเดียวกันลงในวันก่อนหน้า (ขึ้นอยู่กับลำดับความสำคัญ) เช่น เรียงความภาษาไทย (ปากกาสีแดง) เขียนลงปฏิทินวันที่ 1 เมษายน เพราะใช้เวลาในการทำไม่นาน และงานภาษาอังกฤษ (ปากกาสีน้ำเงิน) เขียนลงปฏิทินวันที่ 28 มีนาคม เพราะต้องใช้เวลานานในการค้นคว้าและเรียบเรียง เป็นต้น
5. ขีดฆ่า/ลบออกเมื่อส่งงานเรียบร้อยแล้ว
⭐️ ในการทำปฏิทินของฉันเด็ก ๆ สามารถใช้ปากกาสีหรือสติ๊กเกอร์ (ถ้ามี) เป็นสัญลักษณ์ช่วยในการสังเกตและจดจำประเภทของคำสั่งหรือความสำคัญ ดังนี้
1. ใช้กำหนดวิธีการส่ง - ส่งทางออนไลน์ใช้ดาว ส่งในห้องเรียนใช้หัวใจ
2. ใช้กำหนดความสำคัญ - คะแนนมากใช้รูปดวงอาทิตย์ หรือใช้ปากกาสีเขียนเครื่องหมายอัศเจรีย์ “!” ขั้นตอนนี้ผู้ปกครองอาจให้เด็ก ๆ วาดรูปด้วยปากกาสีก็สามารถทำได้เช่นเดียวกันค่ะ แต่ต้องระวังจะสับสนเพราะวาดภาพที่เยอะหรือซับซ้อนเกินไปนะคะ … ในเด็กโตอาจใช้ปฏิทินในโทรศัพท์พร้อมตั้งเตือนแทนการเขียนค่ะ เขียนโดย จิราภา เดือนเพ็ญศรี (นักวิชาการการศึกษาพิเศษ)
ภาพถ่ายโดย cottonbro จาก Pexels
✏️ อุปกรณ์ :
1. ปฏิทินขนาดประมาณ A4 หรือใหญ่กว่า / กระดาษ A4 หรือกระดาษโปสเตอร์ (ทำปฏิทินด้วยตนเอง)
2. ปากกาสี
3. สติ๊กเกอร์ (ถ้ามี)
เมื่อเตรียมอุปกรณ์ครบแล้วเราก็จะเริ่มใส่ภาระงานลงไปในปฏิทิน โดยสามารถทำได้ดังนี้ค่ะ
1. นำปฏิทินติดไว้ในบริเวณที่มองเห็นได้ง่าย เช่น โต๊ะเขียนหนังสือ ผนังห้องนอน เป็นต้น
2. เขียนงานที่ได้รับมอบหมายลงไปในปฏิทินให้ตรงกับวันที่ส่งงาน โดยใช้ปากกาคนละสีหรืออย่างน้อย 3 สี เช่น ส่งเรียงความภาษาไทย (ปากกาสีแดง) ส่งงานภาษาอังกฤษ (ปากกาสีน้ำเงิน) กำหนดส่งวันที่ 4 เมษายน เป็นต้น
3. จัดลำดับความสำคัญ (ผู้ปกครองสามารถชวนเด็ก ๆ จัดลำดับความสำคัญของงานโดยคำนึงถึง ปริมาณของงาน ระยะเวลาที่มี เป็นต้น)
4. ใส่ชื่องานเดียวกันลงในวันก่อนหน้า (ขึ้นอยู่กับลำดับความสำคัญ) เช่น เรียงความภาษาไทย (ปากกาสีแดง) เขียนลงปฏิทินวันที่ 1 เมษายน เพราะใช้เวลาในการทำไม่นาน และงานภาษาอังกฤษ (ปากกาสีน้ำเงิน) เขียนลงปฏิทินวันที่ 28 มีนาคม เพราะต้องใช้เวลานานในการค้นคว้าและเรียบเรียง เป็นต้น
5. ขีดฆ่า/ลบออกเมื่อส่งงานเรียบร้อยแล้ว
⭐️ ในการทำปฏิทินของฉันเด็ก ๆ สามารถใช้ปากกาสีหรือสติ๊กเกอร์ (ถ้ามี) เป็นสัญลักษณ์ช่วยในการสังเกตและจดจำประเภทของคำสั่งหรือความสำคัญ ดังนี้
1. ใช้กำหนดวิธีการส่ง - ส่งทางออนไลน์ใช้ดาว ส่งในห้องเรียนใช้หัวใจ
2. ใช้กำหนดความสำคัญ - คะแนนมากใช้รูปดวงอาทิตย์ หรือใช้ปากกาสีเขียนเครื่องหมายอัศเจรีย์ “!” ขั้นตอนนี้ผู้ปกครองอาจให้เด็ก ๆ วาดรูปด้วยปากกาสีก็สามารถทำได้เช่นเดียวกันค่ะ แต่ต้องระวังจะสับสนเพราะวาดภาพที่เยอะหรือซับซ้อนเกินไปนะคะ … ในเด็กโตอาจใช้ปฏิทินในโทรศัพท์พร้อมตั้งเตือนแทนการเขียนค่ะ เขียนโดย จิราภา เดือนเพ็ญศรี (นักวิชาการการศึกษาพิเศษ)
ภาพถ่ายโดย cottonbro จาก Pexels
เน็ตป๊าม้า ขอแนะนำหลักสูตรออนไลน์ สอนเทคนิคเชิงบวกในการปรับพฤติกรรมเด็ก
คอร์สเร่งรัด
เหมาะสำหรับผู้ปกครองที่มีพื้นฐานการปรับพฤติกรรมเด็กเชิงบวกอยู่แล้ว
แต่ต้องการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมเด็กที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น
คอร์สจัดเต็ม
เหมาะสำหรับผู้ปกครองที่ต้องการเรียนรู้และฝึกใช้เทคนิคการปรับพฤติกรรมเด็ก
อย่างเป็นขั้นบันได เพื่อเตรียมพร้อมที่จะนำไปรับมือกับปัญหาพฤติกรรมเด็ก
อย่างมั่นใจ