จะทำยังไงดีเมื่อการเรียนออนไลน์ทำให้ต้องจ้องจอนานๆนั่งท่าเดิมๆ ทั้งวัน
เมื่อ 3 ปีที่แล้ว
‘กังวลปัญหาสุขภาพของลูกจากการเรียนออนไลน์ที่จ้องจอนานๆ และนั่งท่าเดิมๆ ทั้งวัน’ คุณหมอชาญวิทย์ ได้ฝากคำแนะนำมาทาง Net PAMA: Opening Live ดังนี้
.
ปัญหาสุขภาพที่เกิดจากการจ้องหน้าจอนานๆ คือทำให้ตาแห้งและเคืองตา ซึ่งเป็นอาการที่ลูกอาจจะเกิดขึ้นได้แบบไม่ทันได้ตั้งตัว คุณหมอชาญวิทย์แนะนำให้พักสายตาโดยการหลับตาและกรอกตาไปมาเป็นระยะๆ การทำวิธีนี้จะช่วยลดความระคายเคืองลงได้
.
ส่วนการนั่งท่าเดิมนานๆ ก็ส่งผลเสียต่อร่างกายได้เช่นกัน ควรมีการพักเบรคเป็นระยะ เพื่อมาขยับร่างกายก็จะช่วยในเรื่องการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ซึ่งทั้งการจ้องจอนานๆ และการนั่งท่าเดิมทั้งวัน ก็ส่งผลร้ายได้กับทั้งเด็กและผู้ใหญ่เพราะช่วงนี้นอกจากลูกจะเรียนออนไลน์แล้ว พ่อแม่หลายคนก็ต้อง Work From Home เช่นกัน วิธีที่กล่าวมาก็สามารถนำไปใช้ได้กับทั้งเด็กและผู้ใหญ่
.
คุณหมอชาญวิทย์ยังแนะนำให้กำหนดเวลาในการเรียนให้ชัดเจนว่าเรียนถึงเวลาเท่านี้แล้วเบรคเพื่อไปทำกิจกรรมอย่างอื่นบ้าง และอาจจะจำกัดอุปกรณ์ในการใช้ ซึ่งทางไอแพดก็มีฟังชั่นของ Screen Time ที่สามารถกำหนดเวลาการใช้โปรแกรมได้ ส่วนทาง Android ก็มีแอปชื่อว่า Digital Well Being ที่สามารถกำหนดเวลาการใช้โปรแกรมได้เช่นกัน หากพ่อแม่จะควบคุมการใช้หน้าจอและแอปต่างๆ ของลูกก็ควรคุยกันก่อนว่าระหว่างเรียนพ่อแม่จะจำกัดแอปไหนบ้าง เพื่อเป็นการที่จะไม่ให้ลูกว่อกแว่กและมีสมาธิกับการเรียนได้อย่างเต็มที่
.
สามารถรับชมคลิปย้อนหลังได้ที่
www.facebook.com/netpama.101/videos/267744971472463
.
บรรยายโดย รศ.นพ.ชาญวิทย์ พรนภดล
จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล (เจ้าของเพจสมาธิสั้นแล้วไง)
ภาพประกอบโดย สุภัสสรา คล้อยอรุณ
.
ปัญหาสุขภาพที่เกิดจากการจ้องหน้าจอนานๆ คือทำให้ตาแห้งและเคืองตา ซึ่งเป็นอาการที่ลูกอาจจะเกิดขึ้นได้แบบไม่ทันได้ตั้งตัว คุณหมอชาญวิทย์แนะนำให้พักสายตาโดยการหลับตาและกรอกตาไปมาเป็นระยะๆ การทำวิธีนี้จะช่วยลดความระคายเคืองลงได้
.
ส่วนการนั่งท่าเดิมนานๆ ก็ส่งผลเสียต่อร่างกายได้เช่นกัน ควรมีการพักเบรคเป็นระยะ เพื่อมาขยับร่างกายก็จะช่วยในเรื่องการผ่อนคลายกล้ามเนื้อ ซึ่งทั้งการจ้องจอนานๆ และการนั่งท่าเดิมทั้งวัน ก็ส่งผลร้ายได้กับทั้งเด็กและผู้ใหญ่เพราะช่วงนี้นอกจากลูกจะเรียนออนไลน์แล้ว พ่อแม่หลายคนก็ต้อง Work From Home เช่นกัน วิธีที่กล่าวมาก็สามารถนำไปใช้ได้กับทั้งเด็กและผู้ใหญ่
.
คุณหมอชาญวิทย์ยังแนะนำให้กำหนดเวลาในการเรียนให้ชัดเจนว่าเรียนถึงเวลาเท่านี้แล้วเบรคเพื่อไปทำกิจกรรมอย่างอื่นบ้าง และอาจจะจำกัดอุปกรณ์ในการใช้ ซึ่งทางไอแพดก็มีฟังชั่นของ Screen Time ที่สามารถกำหนดเวลาการใช้โปรแกรมได้ ส่วนทาง Android ก็มีแอปชื่อว่า Digital Well Being ที่สามารถกำหนดเวลาการใช้โปรแกรมได้เช่นกัน หากพ่อแม่จะควบคุมการใช้หน้าจอและแอปต่างๆ ของลูกก็ควรคุยกันก่อนว่าระหว่างเรียนพ่อแม่จะจำกัดแอปไหนบ้าง เพื่อเป็นการที่จะไม่ให้ลูกว่อกแว่กและมีสมาธิกับการเรียนได้อย่างเต็มที่
.
สามารถรับชมคลิปย้อนหลังได้ที่
www.facebook.com/netpama.101/videos/267744971472463
.
บรรยายโดย รศ.นพ.ชาญวิทย์ พรนภดล
จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล (เจ้าของเพจสมาธิสั้นแล้วไง)
ภาพประกอบโดย สุภัสสรา คล้อยอรุณ
เน็ตป๊าม้า ขอแนะนำหลักสูตรออนไลน์ สอนเทคนิคเชิงบวกในการปรับพฤติกรรมเด็ก
คอร์สเร่งรัด
เหมาะสำหรับผู้ปกครองที่มีพื้นฐานการปรับพฤติกรรมเด็กเชิงบวกอยู่แล้ว
แต่ต้องการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมเด็กที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น
คอร์สจัดเต็ม
เหมาะสำหรับผู้ปกครองที่ต้องการเรียนรู้และฝึกใช้เทคนิคการปรับพฤติกรรมเด็ก
อย่างเป็นขั้นบันได เพื่อเตรียมพร้อมที่จะนำไปรับมือกับปัญหาพฤติกรรมเด็ก
อย่างมั่นใจ