หยุดลูกต่อรองด้วยการทำกติกาให้ศักดิ์สิทธิ์
เมื่อ 3 ปีที่แล้ว
"ครั้งที่แล้วก็เป็นอย่างนี้ แม่เบื่อแล้วนะ จะอีกกี่นาทีว่ามาเลย แต่คำพูดต้องเป็นคำพูดนะ"
"อีก 10 นาที แน่นะ ถึงเวลาต้องเอามือถือมาคืนแม่นะ "
"ทำไมเรียกให้ทำการบ้านมันยากเย็นจังเลย จะเอายังไงก็ว่ามา แต่ต้องทำการบ้านให้เสร็จนะ"
.
พ่อแม่หลายคนมักจะบ่นให้ฟังว่าที่บ้านมีกติกาไปก็เท่านั้น ลูกไม่เคยทำได้ เถียงกันไปเถียงกันมาสุดท้ายก็ต้องยอมลูก เพราะไม่รู้จะทำยังไง
.
บังคับไปก็ไม่ยอมทำตามอยู่ดี แถมทะเลาะกันอีก พ่อแม่ทุกคนก็อยากทำให้ลูกมีความสุข ไม่มีใครอยากจะทะเลาะกับลูกให้เหนื่อย เสียสัมพันธภาพจนลูกคิดว่าพ่อแม่ไม่รัก
.
หลายครั้งก็ยอมปล่อยเลยตามเลยเพื่อตัดปัญหา แต่ก็กลัวว่าจะทำให้ลูกเคยตัว เสียนิสัย แต่พอพูดให้ทำดีๆ ก็ไม่ยอมทำ สุดท้ายกลับมาที่เถียงกันเหมือนเดิมเป็นวงจรแบบนี้ไปเรื่อยๆ????
.
หากใครกำลังอยู่ในวงจร มีกติกา > ลูกไม่ทำตาม > เราบ่น > เถียงไปมา > เรายอมเพื่อตัดปัญหา > พยายามตั้งกติกาใหม่ > ลูกไม่ทำตาม > ...
วิธีแก้ปัญหาวงจรนี้คือ ต้องทำยันต์กันลูกต่อรองด้วยการทำกติกาให้ศักดิ์สิทธิ์ ตามเทคนิคต่อไปนี้
1. ตั้งสติให้มั่น
ถือคติว่า "รุ่นใหญ่ใจต้องนิ่ง" สูดลมหายใจลึกๆ สงบจิตสงบใจก่อนจะเดินเข้าไปหาลูก ความนิ่งจะช่วยให้ลูกรู้ว่าพ่อแม่เอาจริงมากกว่าการใส่อารมณ์ (เพราะที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าการเข้าหาลูกด้วยการใส่อารมณ์ทีไรสถานการณ์แย่ลงทุกที)
.
2. พูดทวนกติกาสั้นๆ แล้วนิ่งเงียบ งดบ่น
พูดสั้นๆ ได้ใจความด้วยน้ำเสียงมั่นคง เช่น
"หมดเวลาแล้ว ทำตามที่ตกลงกันครับ"
"ถึงเวลาไปอาบน้ำตามที่คุยกันแล้วจ้ะ"
"ตอนนี้ 2 ทุ่มแล้ว เราตกลงกันว่ายังไงนะ"
.
3. งดต่อล้อต่อเถียงกับลูก
ข้อนี้แหละถ้าสติหลุด แล้วเผลอไปต่อล้อต่อเถียงขึ้นมาใจพังทั้งเราและลูกแน่นอน คนที่เหนื่อยใจก่อนมักจะเป็นพ่อแม่ นำไปสู่การใจอ่อน
.
คำพูดที่ว่า "บ่นไปแต่ก็ทำให้" เริ่มมาจากตรงนี้ แล้วกติกาจะศักดิ์สิทธิ์ได้อย่างไร ? ถ้ารู้ตัวว่ากำลังจะบ่นขอให้เดินหันหลังไปนิ่งๆ หลังจากที่พูดทวนกติกาเสร็จ และนั่งรอทำข้อถัดไปสบายกว่ากันเยอะเลย
.
4. เอาจริงงดใจอ่อน
ข้อนี้พ่อแม่หลายคนจะบอกว่ายากที่สุด (แต่ก็มีจำนวนไม่น้อยบอกว่าข้อ 1 ยากที่สุด????) ส่วนใหญ่แล้วถ้าทำข้อ 1-3 ได้ดี ลูกก็มีแนวโน้มทำตามกติกาที่ตกลงกันไว้มากขึ้น ไม่ต้องมาถึงขั้นลงโทษก็มีให้เห็นเยอะ????
.
แต่ก็มีเด็กจำนวนหนึ่งที่ทดสอบพ่อแม่ด้วยการไม่ทำตามกติกาง่ายๆ เพราะอยากรู้ว่าพ่อแม่จะเอาจริงมั้ย ดังนั้น ขอให้พ่อแม่ทำกติกาให้ศักดิ์สิทธิ์ด้วยการเอาจริง ไม่ใจอ่อน
.
มีพ่อแม่บางส่วนที่กลัวว่าลูกจะเสียใจ กลัวว่าลูกจะไม่รัก เลยไม่เอาจริง ใจอ่อน ยอมตาม พอถึงเวลาที่ลูกไม่เชื่อฟัง ต่อรองอีกก็มานั่งทุกข์ใจหลุดจากวงจรลูกต่อรองไม่ได้????
.
5. ชื่นชมเมื่อพยายามทำตามกฎกติกา
????ขอเน้นย้ำคำว่า พยายามทำตามกติกา เพราะเป็นธรรมดาที่ลูกจะทำท่าฟึดฟัด บ่น โวยวาย กระทืบเท้าบ้าง แต่ก็ยอมทำตามกติกาจริงมั้ยคะ ? ดังนั้นขอให้ชื่นชมที่ความพยายามทำตามกติกา และมองผ่านพฤติกรรมอื่นๆ ไปก่อน เพราะถ้าไปบ่นลูก พอเดาได้มั้ยคะว่าจะเกิดอะไรขึ้น ?
.
จากเรื่องให้ไปล้างจาน อาจจะไปจบที่ถอดรองเท้าไม่เป็นที่แทน แล้วทีนี้การปะทะกันยกที่สองก็เริ่มขึ้น ทั้งๆ ที่มันควรจบตั้งแต่ที่ลูกทำตามกติกาแล้วจริงมั้ยคะ ? ????
.
สรุปสั้นๆ เทคนิคหยุดลูกต่อรอง คือการทำให้กติกาศักดิ์สิทธิ์ ใช้วิธี SOFT but FIRM หรือ มีเมตตาแต่ขณะเดียวกันก็หนักแน่นด้วย ????
.
เรียบเรียง ปันณ์นภัส ธนอริยาไพศาล (นักจิตวิทยา)
ภาพประกอบ ศิรภัสสร เย็นจิตต์
"อีก 10 นาที แน่นะ ถึงเวลาต้องเอามือถือมาคืนแม่นะ "
"ทำไมเรียกให้ทำการบ้านมันยากเย็นจังเลย จะเอายังไงก็ว่ามา แต่ต้องทำการบ้านให้เสร็จนะ"
.
พ่อแม่หลายคนมักจะบ่นให้ฟังว่าที่บ้านมีกติกาไปก็เท่านั้น ลูกไม่เคยทำได้ เถียงกันไปเถียงกันมาสุดท้ายก็ต้องยอมลูก เพราะไม่รู้จะทำยังไง
.
บังคับไปก็ไม่ยอมทำตามอยู่ดี แถมทะเลาะกันอีก พ่อแม่ทุกคนก็อยากทำให้ลูกมีความสุข ไม่มีใครอยากจะทะเลาะกับลูกให้เหนื่อย เสียสัมพันธภาพจนลูกคิดว่าพ่อแม่ไม่รัก
.
หลายครั้งก็ยอมปล่อยเลยตามเลยเพื่อตัดปัญหา แต่ก็กลัวว่าจะทำให้ลูกเคยตัว เสียนิสัย แต่พอพูดให้ทำดีๆ ก็ไม่ยอมทำ สุดท้ายกลับมาที่เถียงกันเหมือนเดิมเป็นวงจรแบบนี้ไปเรื่อยๆ????
.
หากใครกำลังอยู่ในวงจร มีกติกา > ลูกไม่ทำตาม > เราบ่น > เถียงไปมา > เรายอมเพื่อตัดปัญหา > พยายามตั้งกติกาใหม่ > ลูกไม่ทำตาม > ...
วิธีแก้ปัญหาวงจรนี้คือ ต้องทำยันต์กันลูกต่อรองด้วยการทำกติกาให้ศักดิ์สิทธิ์ ตามเทคนิคต่อไปนี้
1. ตั้งสติให้มั่น
ถือคติว่า "รุ่นใหญ่ใจต้องนิ่ง" สูดลมหายใจลึกๆ สงบจิตสงบใจก่อนจะเดินเข้าไปหาลูก ความนิ่งจะช่วยให้ลูกรู้ว่าพ่อแม่เอาจริงมากกว่าการใส่อารมณ์ (เพราะที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าการเข้าหาลูกด้วยการใส่อารมณ์ทีไรสถานการณ์แย่ลงทุกที)
.
2. พูดทวนกติกาสั้นๆ แล้วนิ่งเงียบ งดบ่น
พูดสั้นๆ ได้ใจความด้วยน้ำเสียงมั่นคง เช่น
"หมดเวลาแล้ว ทำตามที่ตกลงกันครับ"
"ถึงเวลาไปอาบน้ำตามที่คุยกันแล้วจ้ะ"
"ตอนนี้ 2 ทุ่มแล้ว เราตกลงกันว่ายังไงนะ"
.
3. งดต่อล้อต่อเถียงกับลูก
ข้อนี้แหละถ้าสติหลุด แล้วเผลอไปต่อล้อต่อเถียงขึ้นมาใจพังทั้งเราและลูกแน่นอน คนที่เหนื่อยใจก่อนมักจะเป็นพ่อแม่ นำไปสู่การใจอ่อน
.
คำพูดที่ว่า "บ่นไปแต่ก็ทำให้" เริ่มมาจากตรงนี้ แล้วกติกาจะศักดิ์สิทธิ์ได้อย่างไร ? ถ้ารู้ตัวว่ากำลังจะบ่นขอให้เดินหันหลังไปนิ่งๆ หลังจากที่พูดทวนกติกาเสร็จ และนั่งรอทำข้อถัดไปสบายกว่ากันเยอะเลย
.
4. เอาจริงงดใจอ่อน
ข้อนี้พ่อแม่หลายคนจะบอกว่ายากที่สุด (แต่ก็มีจำนวนไม่น้อยบอกว่าข้อ 1 ยากที่สุด????) ส่วนใหญ่แล้วถ้าทำข้อ 1-3 ได้ดี ลูกก็มีแนวโน้มทำตามกติกาที่ตกลงกันไว้มากขึ้น ไม่ต้องมาถึงขั้นลงโทษก็มีให้เห็นเยอะ????
.
แต่ก็มีเด็กจำนวนหนึ่งที่ทดสอบพ่อแม่ด้วยการไม่ทำตามกติกาง่ายๆ เพราะอยากรู้ว่าพ่อแม่จะเอาจริงมั้ย ดังนั้น ขอให้พ่อแม่ทำกติกาให้ศักดิ์สิทธิ์ด้วยการเอาจริง ไม่ใจอ่อน
.
มีพ่อแม่บางส่วนที่กลัวว่าลูกจะเสียใจ กลัวว่าลูกจะไม่รัก เลยไม่เอาจริง ใจอ่อน ยอมตาม พอถึงเวลาที่ลูกไม่เชื่อฟัง ต่อรองอีกก็มานั่งทุกข์ใจหลุดจากวงจรลูกต่อรองไม่ได้????
.
5. ชื่นชมเมื่อพยายามทำตามกฎกติกา
????ขอเน้นย้ำคำว่า พยายามทำตามกติกา เพราะเป็นธรรมดาที่ลูกจะทำท่าฟึดฟัด บ่น โวยวาย กระทืบเท้าบ้าง แต่ก็ยอมทำตามกติกาจริงมั้ยคะ ? ดังนั้นขอให้ชื่นชมที่ความพยายามทำตามกติกา และมองผ่านพฤติกรรมอื่นๆ ไปก่อน เพราะถ้าไปบ่นลูก พอเดาได้มั้ยคะว่าจะเกิดอะไรขึ้น ?
.
จากเรื่องให้ไปล้างจาน อาจจะไปจบที่ถอดรองเท้าไม่เป็นที่แทน แล้วทีนี้การปะทะกันยกที่สองก็เริ่มขึ้น ทั้งๆ ที่มันควรจบตั้งแต่ที่ลูกทำตามกติกาแล้วจริงมั้ยคะ ? ????
.
สรุปสั้นๆ เทคนิคหยุดลูกต่อรอง คือการทำให้กติกาศักดิ์สิทธิ์ ใช้วิธี SOFT but FIRM หรือ มีเมตตาแต่ขณะเดียวกันก็หนักแน่นด้วย ????
.
เรียบเรียง ปันณ์นภัส ธนอริยาไพศาล (นักจิตวิทยา)
ภาพประกอบ ศิรภัสสร เย็นจิตต์
เน็ตป๊าม้า ขอแนะนำหลักสูตรออนไลน์ สอนเทคนิคเชิงบวกในการปรับพฤติกรรมเด็ก
คอร์สเร่งรัด
เหมาะสำหรับผู้ปกครองที่มีพื้นฐานการปรับพฤติกรรมเด็กเชิงบวกอยู่แล้ว
แต่ต้องการแก้ไขปัญหาพฤติกรรมเด็กที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น
คอร์สจัดเต็ม
เหมาะสำหรับผู้ปกครองที่ต้องการเรียนรู้และฝึกใช้เทคนิคการปรับพฤติกรรมเด็ก
อย่างเป็นขั้นบันได เพื่อเตรียมพร้อมที่จะนำไปรับมือกับปัญหาพฤติกรรมเด็ก
อย่างมั่นใจ